นวัตกรรมส่งข้าวยุคใหม่ ไอเดียนศ.ม.ศิลปากรคว้าแชมป์

คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า

นวัตกรรมส่งข้าวยุคใหม่ ไอเดียนศ.ม.ศิลปากรคว้าแชมป์ – เพื่อสนับสนุนแนวคิดธุรกิจ รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมของคนรุ่นใหม่ ยกระดับและต่อยอดให้อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศไทยแข็งแกร่งและก้าวหน้าสู่ระดับสากล

บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดประกวดโครงการ Panus Thailand LogTech Award 2019 โครงการที่เฟ้นหาสตาร์ตอัพด้านธุรกิจโลจิสติกส์ (LogTech) โดยประกาศผลและมอบรางวัลเมื่อไม่นานนี้ที่คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ (CDC) กรุงเทพฯ

นวัตกรรมส่งข้าวยุคใหม่ไอเดียนศ.ม.ศิลปากรคว้าแชมป์

ประเภทนิสิตนักศึกษา

นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. และรองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. กล่าวว่าในปีนี้มีแนวคิดการประกวด “The Adventures in Logistics” เพื่อมุ่งเน้นให้ทุกคนเข้าใจ ไม่ว่าจะแนวคิดหรือธุรกิจแบบใดก็ตามสามารถมาร่วมผจญภัยในโลก PANUS Logistics ได้ เพราะโลจิส ติกส์ไม่ใช่เพียงเรื่องการขนส่งเท่านั้น แต่รวมถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม หรือแนวคิดธุรกิจที่ตอบโจทย์และยกระดับโลจิสติกส์ โดยในปีนี้มีผู้ส่งผลงานเข้ามาจำนวนมาก

นวัตกรรมส่งข้าวยุคใหม่ไอเดียนศ.ม.ศิลปากรคว้าแชมป์

แพลตฟอร์มบริหารจัดการข้าว

ทีมชนะเลิศประเภทนิติบุคคลและบุคคลทั่วไป รับเงินรางวัล 100,000 บาท ได้แก่ ทีม บริษัท ชิปป๊อป จำกัด ผลงาน Online logistic booking รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม โอแซดที โรโบติกส์ จํากัด ผลงานซอฟต์แวร์นําทางตัวเองโดย อัตโนมัติสําหรับโดรนในที่ที่ไม่มี GPS เพื่อการเช็กสต๊อกแบบอัตโนมัติ และรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม บริษัท ไอเวิร์ค อินเตอร์แอ๊กทีฟ จำกัด ผลงาน Airtalk – Logistic Collaboration แพลตฟอร์มบริการในรูปแบบแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์รวบรวมระบบขนส่งและการสื่อสาร พร้อมมอบโอกาสทั้ง 3 ทีมเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศเยอรมนี

นวัตกรรมส่งข้าวยุคใหม่ไอเดียนศ.ม.ศิลปากรคว้าแชมป์

ทีม I’Rice Logis Tech คว้าแชมป์

ทีมชนะเลิศประเภทนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา รับเงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ ทีม I’Rice Logis Tech มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงานแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้าวและส่งมอบข้าว รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม LM_GetA สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ผลงาน Auto Trolley รถเข็นอัตโนมัติพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ขนกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสารในสนามบิน และรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม EnergyEN มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผลงาน BLUE BOX แอพพลิเคชั่นจัดส่งสินค้าอาหารสดผ่านตู้รับฝากสินค้าโดยเป็นกลุ่มลูกค้าที่พักอาศัยในคอนโดฯหรืออพาร์ตเมนต์ในเขตเมือง

นายศุภวิชญ์ อินทนาคม นายวชิรโชติ ชูตระกูล และ น.ส.ช่อผกา สอนทา จากทีม I’Rice Logis Tech มหาวิทยาลัยศิลปากร เล่าว่า I’rice คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้าวและส่งมอบข้าวสารคุณภาพสู่ร้านค้าทั่วไทย โดยมีถังข้าว IoT (rice storage tank IoT) ดูแลข้าวจากโรงสีจนถึงมือผู้บริโภคด้วยระบบ IoT auto-demand ทำให้รู้ว่าข้าวสารของลูกค้าจะหมดเมื่อไร และจะต้องเติมอีกเท่าไรถึงจะเต็มถัง ลูกค้าไม่ต้องไปซื้อข้าวสารเอง หรือโทร.สั่งร้านข้าวสารจัดส่งมายังร้าน คุ้มค่าในด้านราคาเพราะข้าวมาจากโรงสีโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

นวัตกรรมส่งข้าวยุคใหม่ไอเดียนศ.ม.ศิลปากรคว้าแชมป์

ประเภทนิติบุคคลและบุคคลทั่วไป

“ในอนาคตจะรับข้าวสารจากชาวนาโดยตรงผ่านระบบโรงสีข้าวชุมชน เนื่องจากระบบ auto-demand จากถังข้าว IoT ทำให้รู้ว่าต้องเติมข้าวสารให้ร้านอาหารแต่ละร้านเท่าไหร่ โดยที่เราไม่ต้องโทร.ถามร้านอาหาร จึงรวบรวมข้อมูลนี้ส่งไปยังโรงสีขนาดกลางที่เป็นคู่ค้าได้โดยตรง จุดนี้ทำให้สามารถซื้อข้าวสารจากโรงสีได้เนื่องจากมีการซื้อในปริมาณมากพอ และขนส่งไปยังร้านอาหารโดยตรง และมีการคำนวณทาง ด้านโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนด้านการขนส่งด้วย”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน