ปวดไหล่ ไหล่ติด เอ็นข้อไหล่ฉีกขาด ใช้เทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว

ข้อไหล่ติดมีอาการอย่างไร ?

ข้อไหล่ติดจะทำให้เกิดอาการปวด ปวดเวลากลางคืน ปวดไหล่ทางด้านหน้า หรือว่านอนตะแคงแล้วปวด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ

ระยะแรก จะปวดไหล่ตอนกลางคืนซึ่งหากมีอาการ 6-9 เดือน แสดงว่ามีข้อไหล่ติดแล้ว

ระยะที่ 2 ข้อไหล่ติดจะส่งผลให้แขน ข้อไหล่ เริ่มขยับได้น้อยลงเรื่อยๆ จนอาจติดได้ทุกทาง ระยะนี้มีเวลาเป็นได้ถึง 1 ปี

ระยะที่ 3 ระยะที่ข้อไหล่เริ่มคลายตัวเรื่อยๆ ผู้ป่วยจะขยับข้อไหล่ได้ดีขึ้น บางคนอาจใช้เวลานานถึง 2 ปี

จะทราบได้อย่างไร ..? ว่าอาการปวดไหล่เกิดจากโรคไหล่ติด

สิ่งสำคัญคือก่อนจะหาสาเหตุของโรคต้องดูด้วยว่ามีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งหากมีเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด มีหินปูนในข้อไหล่ หรือมีกระดูกยื่นในข้อไหล่ จะต้องมาพบแพทย์เพราะอาจต้องตรวจด้วยการเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI)เพื่อดูสภาวะเอ็นข้อไหล่ร่วมด้วยข้อไหล่ติด รักษาอย่างไร ..?

  • ทานยา อาจจะเป็นยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ
  • ทำกายภาพบำบัด
  • ฉีดยาเสตียรอยด์เข้าข้อไหล่ ซึ่งการฉีดยานี้คนไข้หลายคนมักจะกังวล แต่จริงๆ แล้วค่อนข้างปลอดภัยและมีผลยอมรับชัดเจนว่าลดอาการปวด อาการข้อไหล่ติดชัดเจน
  • ผ่าตัด โดยเป็นการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งจะมีแผลเล็กหายค่อนข้างไว หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถกลับมาขยับข้อไหล่ได้ดี

ข้อไหล่ติด ต้องส่องกล้องผ่าตัดทุกรายหรือไม่ ?

ส่วนใหญ่แล้วโรคข้อไหล่ติดสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องใช้วิธีผ่าตัด เพียงแต่ทานยา ทำกายภาพบำบัด ฉีดยา มีคนไข้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้นที่ต้องผ่าตัด กลุ่มแรกคือ มีโรคอื่นร่วมด้วยอย่างเช่น มีเอ็นข้อไหล่ฉีก กลุ่มนี้ต้องผ่าตัดแน่นอน เพราะว่าจะต้องผ่าตัดส่องกล้องเข้าไปดูเอ็นข้อไหล่ หรือว่าผู้ป่วยที่มีหินปูนในข้อไหล่ก้อนใหญ่ ก็ต้องส่องกล้องไปเอาหินปูนออกมา คนที่มีกระดูกยื่นหรือกระดูกงอกในข้อไหล่ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องส่องกล้องเข้าไปกรอกระดูกในเอ็นข้อไหล่ แต่หากเป็นโรคข้อไหล่ติดอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วจะไม่รักษาด้วยการผ่าตัดก่อน แต่ถ้า 6 เดือนแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็อาจจะต้องเข้ารับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดส่องกล้อง

ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่

เทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ แพทย์จะนำกล้องเข้าทางด้านหลังข้อไหล่ 1 รู และผ่าตัดเจาะอีก 1 รูทางด้านหน้า เพื่อใส่อุปกรณ์เข้าไปตัดเนื้อเยื่อหุ้มที่มันห่อตัวออก ซึ่งการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีนี้มีข้อดีคือ ลดโอกาสที่กระดูกจะหัก เอ็นข้อไหล่ฉีกขาด หรือตัวกระดูกอ่อนแตกหัก นอกจากนี้ยังเป็นลักษณะของการส่องเข้าไปดูว่ามีโรคร่วม หรือมีเยื่อหุ้มข้อฉีก ข้อไหล่ฉีกขาด หรือมีเอ็นลูกหนูฉีกขาดด้วยหรือไม่ หลังจากการผ่าตัดส่องกล้องแล้วต้องทำกายภาพบำบัดเสริมร่วมอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ดีเหมือนเดิม

“ เทคโนโลยีการรักษาข้อไหล่ด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ”http://bit.ly/2Ikf3Dx

สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999
นพ.สิริศักดิ์ บูรณวัฒนาโชค
แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อโรงพยาบาลรามคำแหง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน