คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเราได้เข้าสู่การเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกสู่ดิจิทัลอย่างเต็มตัวแล้ว การ ดิสรัปชันด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นทุกวัน คงไม่มีใครไม่ใช้สมาร์ทโฟน ไม่มีอินเตอร์เน็ต หรือไม่เคยสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ทุกอย่างเกิดจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ดังนั้นการ ปรับตัว จึงเป็นสิ่งสำคัญ

เช่นเดียวกับ กลุ่ม ปตท. ที่เชื่อมั่นว่าการปรับตัวเป็นข้อสำคัญที่สุด โดยที่ผ่านมาได้กำกับดูแลองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล มุ่งมั่นทุ่มเทปลูกจิตสำนึกให้บุคลากรเป็น คนเก่ง และ คนดี ซึ่งวันนี้พร้อมแล้วที่จะลงสนามในการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล เพื่อนำพาองค์กรเติบโตอย่างมั่นคง

ล่าสุด 11 กันยายน ที่ผ่านมา กลุ่ม ปตท. นำโดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม PTT Group CG Day ประจำปี 2019 ณ ห้อง Synergy Hall ชั้น 6 ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ภายใต้แนวคิด “Digitalization : Challenge for the Governance” ที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่นของการขับเคลื่อนองค์กรตามหลักการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance : CG) ที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย โดยนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยมาเสริมกระบวนการทำงานเชิงปฏิบัติการ (CG in Practice) เพื่อการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ พร้อมเติบโตอย่างมั่นคง ควบคู่ไปกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน

นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่รณรงค์และเน้นย้ำให้บุคลากรทุกระดับในกลุ่ม ปตท. นำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้ในการปฏิบัติงานและตอกย้ำการสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างโปร่งใสแล้ว ภายในงานยังจัดเสวนา ภายใต้หัวข้อ กำกับองค์กรอย่างไรในยุคดิจิทัล โดยผู้บริหารระดับสูงจาก 7 บริษัทในกลุ่ม ปตท. ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และแนวทางการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของกลุ่มบริษัท ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมถึงยังมุ่งเสริมสร้างแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้ขยายไปยังผู้มีส่วนได้เสีย เช่น คู่ค้า ผู้ร่วมทุน ผู้รับเหมา เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ดีซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงพัฒนาการในการกำกับดูแลกิจการกลุ่ม ปตท. ใจความตอนหนึ่งว่า เริ่มฉายภาพชัดในปี 2544 ที่ทำเรื่อง CG อย่างจริงจัง และยกระดับจาก CG เป็น “PTA” ที่นำเอาการบริหารจัดการเข้ามาบูรณาการ ควบคู่ไปกับการมองเรื่องการลงทุนที่กว้างขึ้น รวมถึงยังได้มีการปรับโครงสร้าง ส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ด้วยมีเป้าหมาย 3P ซึ่งได้แก่ Prosperity, People และ Planet ขณะเดียวกันก็ได้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพการทำงาน และการปลูกฝังค่านิยมความเป็นคนดีและคนเก่ง ประกอบกับนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มสมรรถนะการดำเนินธุรกิจ ล่าสุด 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็ได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์ม “GRC (Governance, Risk and Compliance)” ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการในกลุ่มปตท. มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สอดคล้องกับ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ GC ที่มองว่า การจะปรับตัวรับเทคโนโลยีที่ก้าวเร็ว พื้นฐานทุกอย่างต้องมั่นคง การยกระดับความรู้ความเข้าใจพื้นฐานต้องถูกต้องและรวดเร็ว และสามารถปฏิบัติได้โดยไม่มีข้ออ้าง และที่สำคัญต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย ซึ่งมองไปในทิศทางเดียวกับ พงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ที่กล่าวว่า เราไม่สามารถทำดิจิทัลได้อย่างเดียวถ้าพื้นฐานองค์กรไม่สามารถรองรับได้ ที่ผ่านมาเราปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีความกระชับและคล่องตัวมากขึ้น โดยใส่ “Mindset” วัฒนธรรมองค์กร ทำให้คนในองค์กรเข้าใจและมองเทคโนโลยีเป็นโอกาส

ขณะที่ด้าน วิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ก็ได้แนะการอุดช่องโหว่ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีในโลกแห่งยุคที่ไร้พรมแดนทางด้านการติดต่อ ว่า หากทรานสฟอร์มองค์กรสู่ดิจิทัลแล้ว ก็ต้องทรานสฟอร์มเอนเนอร์จีให้มากขึ้นด้วย โดยทำให้เป็น Digitalization ในทุกขบวนการทำงาน ซึ่งจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นและกว้างขึ้น เช่นเดียวกับ นพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ที่ชี้ให้นำเอา บิ๊กดาต้าและ “AI” มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเจรจาต่อรองกับขนาดลูกค้าในปัจจุบัน รวมถึงดึง บล็อกเชนมาใช้ จะช่วยให้รูปแบบการเก็บข้อมูลเป็นมาตรฐานและตรวจสอบได้

โดยด้าน จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลึก จำกัด (มหาชน) ก็ได้เน้นย้ำว่า CG คือหัวใจสำคัญที่ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ซึ่งจะต้องปรับให้อยู่ใน Mindset ของทุกคนในองค์กรไปควบคู่กัน ประกอบนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการ จะสามารถสร้างบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม และจะทำให้องค์กรอยู่ได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ขณะที่ด้าน ชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด ( มหาชน) น้องใหม่ในกลุ่มปตท. ก็ได้เน้นนำเอาเรื่องCG มาใช้ปรับใช้ พร้อมยึดหลักบรรษัทภิบาลเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินงาน ทั้งในการขยายการลงทุนด้านนวัตกรรมเพื่อสร้างความยั่งยืนของธุรกิจและการปรับแผนการดำเนินงานในการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่จะมา Disrupt รูปแบบการดำเนินธุรกิจในอนาคต

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ CEO ของกลุ่ม ปตท. ได้สะท้อนให้เห็นว่า แต่ละองค์กรต่างมีการทรานสฟอร์ม เพื่อสร้างโอกาสในธุรกิจดิจิทัล ขณะเดียวกันก็ต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่ ผู้ถือหุ้น คู่ค้า ไปจนถึงระดับชุมชน เพราะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีประชาชนเป็นผู้ ถือหุ้น


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน