นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 หากคุณมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง แปลว่า คุณมีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและปลูกสร้าง!!

คำถามต่อมาก็คือ ใครต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ดินแบบไหนที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี เสียภาษีแล้วเอาไปทำอะไร? หลายคนสงสัย แต่ไม่รู้ว่าจะต้องถามใครดี

ทำความรู้จักการแบ่งประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์ เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย ที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่ไม่ใช้ประโยชน์ต้องเสียภาษีหรือไม่? กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย ได้ให้คำอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจง่ายๆ ว่า อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งตามประเภทการใช้งาน โดยแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. เกษตรกรรม สำหรับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หากคุณเป็นเจ้าของที่ดินเพื่อทำการเกษตร(สำหรับบุคคลธรรมดา) จะได้รับการยกเว้นภาษีใน 3 ปีแรกที่กฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ ทั้งนี้คำนิยามของที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต้องยึดตามเงื่อนไขตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรแต่ประเภทอีกครั้ง เช่น เกษตรกรรมเพื่อการบริโภค เพื่อจำหน่าย โดยการพิจารณาอัตราภาษีจะดูจากสภาพการใช้ประโยชน์ตามจริง
  2. ที่อยู่อาศัย คือ ที่ดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยบ้านพร้อมที่ดิน บ้าน คอนโด ถ้าเรา(สำหรับบุคคลธรรมดา) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินราคารวมมูลค่ารวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่กฎหมายกำหนด
  3. ประเภทอื่น ๆ ได้แก่ ที่ดิน ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ เพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรม โรงแรม อพาร์ทเม้นท์ บ้านเช่า หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่เพื่อการอยู่อาศัย สำหรับที่ดินประเภทนี้จะเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย
  4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า คนที่ซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรและไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินต้องศึกษาเอาไว้ เพราะที่ดินประเภทนี้ต้องเสียภาษีแพงที่สุด เนื่องจากถือว่าไม่ได้มีการพัฒนาหรือใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขการเสียภาษีอื่นๆ ที่ต้องรู้ เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น แนะนำให้ลองดูคำอธิบายสั้นๆ จากภาพสรุปที่ กระทรวงมหาดไทยสรุปไว้ด้านล่าง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน