เครือข่ายนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะ หรือ คิดดีไอดอล กว่า 500 คน ในพื้นที่ภาคใต้ รวมตัวเพื่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกัน เพื่อสร้างสื่อดี ป้องกันข่าวลวง Fake News ให้เกิดการฉลาดใช้สื่อสู่การเป็น “พลเมืองนักสื่อสารสร้างสรรค์” รู้หวัน หรือที่ภาษาใต้แปลว่า รู้เรื่อง ทันโลก อย่างรอบรู้สื่อ

โดยมี ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รักษาการผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึงผู้ใหญ่ใจดีและสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอสร่วมรับฟัง พร้อมการมอบโล่รางวัลในประเภทต่างๆ จากการลงพื้นที่ปฏิบัติการสื่อสารสุขภาวะ ได้แก่ รางวัล The Best Kiddee iDOL 2019 ได้แก่ ทีม Amando มหาวิทยาลัยทักษิณ รางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาวะ ได้แก่ ทีมKaiKem Academy มรส.สุราษฎร์ธานี รางวัลพื้นที่ปฏิบัติการดีเด่น ได้แก่ ทีมก็มาดิคร๊าบบบ มหาวิทยาลัยทักษิณ รางวัลสื่อออนไลน์ยอดเยี่ยม ได้แก่ ทีมPW Studio รร.ปลายพระยาวิทยา จ.กระบี่ และ ยังได้มีการมอบรางวัล IDOL Kiddee ให้กับ นายอนุรักษ์ สรรฤทัย หรือ “บังฮาซัน”แห่งเพจอาหารทะเลตากแห้ง จ.สตูล ที่ไลฟ์สดขายสินค้าจนสร้างรายได้หลักล้าน แถมเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์

ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า จากสถานการณ์ของภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้คนทุกกลุ่มวัย ทุกพื้นที่ในสังคม อิทธิของสื่อจึงส่งผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะปัญหาข้อมูล หรือ ข่าวลวงที่เกิดขึ้น มีความจำเป็นมากกว่าการรู้เท่าทัน อย่างรอบรู้ของภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงทุกขณะ ซึ่งจากข้อค้นพบ จากประสบการณ์การดำเนินงานในพื้นที่ปฏิบัติการของ คิดดีไอดอล ในการใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่สุขภาวะด้วยการทำเรื่องเล็กๆ ในชุมชน กับกลุ่มเป้าหมายกว่า 1,600 คน ในชุมชน และกว่า 500,000 คน ในการเข้าถึงสื่อจากสังคมออนไลน์ ที่ส่งผลต่อตนเองและคนรอบข้าง ซึ่งมีข้อค้นพบในหลายปัจจัยที่เกิดขึ้น จึงมีความจำเป็นมากที่เราทุกคนจะต้องมีทักษะในการปรับตัวเพื่อรับมือกับภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ

ที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาและสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะในพื้นที่ภาคใต้ แกนนำจำนวนกว่า 190 คน 16 กลุ่มที่สนใจและอาสามาสร้างสรรค์สื่อดี กระจายใน 10 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้ร่วมกันคิดสร้างสรรค์สื่อสุขภาวะ ภายใต้สถานการณ์ประเด็นในพื้นที่ภาคใต้ คือ เด็กอ้วน ส่งเสริมการกินผักและผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน และ การเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยได้คิดสร้างสรรค์สื่อดี ผ่านการลงมือทำผลิตสื่อและจัดกิจกรรมสุขภาวะในกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็ก อายุระหว่าง 4 ขวบ ถึง 15 ปี กว่า 1,600 คน ใน 25 พื้นที่ปฏิบัติการ โดยใช้สื่อที่ผลิตเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมและกระบวนการสร้างสรรค์ สู่การสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆในพื้นที่ชุมชนปฏิบัติการ ผ่านความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่แกนนำได้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน และ นอกจากที่ใช้สื่อในการเผยแพร่ในพื้นที่ปฏิบัติการชุมชนแล้ว ยังมีการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ ซึ่งมีอยู่ชมและเข้าถึงสื่อกว่า 100,000 คน ในช่องทางสื่อสารออนไลน์

ผลจากการดำเนินกิจกรรม ในระยะเวลากว่า 8 เดือน ส่งผลให้เกิดนักสื่อสารเสร้างสรรค์สุขภาวะในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งสามารถรวมตัวเป็นเครือข่าย ที่ใช้สื่อเป็นเครื่องมือที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยีและการสื่อสาร สร้างระบบนิเวศสื่อดี สื่อสุขภาวะ ไปพร้อมกับการปรับตัวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแกนนำคิดดี ที่สามารถสะท้อนความคิดและมุมมองในการสื่อสารอย่างรู้เท่าทัน มีจิตอาสาใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม เกิดภาวการณ์เป็นผู้นำ ตลอดจนการมีทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน การจัดการความรู้ด้านสื่อสุขภาวะ และการสื่อสารสังคม ที่ฉลาดใช้สื่อ รอบรู้ เท่าทัน คิดดี คิดได้ คิดเป็น คิดทำสื่อดี ใช้สื่อเป็น รอบรู้ อย่างฉลาด เท่าทันสื่อสาร สร้างพลังสังคม สู่การเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อด้านพฤติกรรมให้เกิดสร้างแรงบันดาลใจ ให้ตนเอง ส่งต่อคนรอบข้าง ใกล้ตัว ด้านอารมณ์ คิดบวก สะท้อนมุมมองความคิด เท่าทันตน สร้างภูมิคุ้มกัน ลดปัจจัยเสี่ยงโรคซึมเศร้า ด้านสังคม การทำงานไปพร้อมกับพื้นที่เรียนรู้ ร่วมกัน กับผู้อื่น ส่งผลให้เกิดผู้นำ ที่สร้างสรรค์ และ ด้านสติปัญญา จากพลังความคิดเล็กๆ สร้างสื่อดี สื่อสารผ่านพื้นที่การเรียนรู้ ต่อกิจกรรมสร้างสรรค์

จากแนวคิดดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการร่วมประกาศเจตนารมณ์เพื่อให้เกิด “พลเมืองนักสื่อสารสร้างสรรค์” ภาคใต้ อย่าง “รู้หวัน ทันโลก ดังนี้

  1. ต่อตนเอง : เราจะบริโภคสื่ออย่างฉลาด สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญก่อนเชื่อ โพสต์และแชร์
  2. ต่อเครือข่าย : เราจะร่วมมือกับเครือข่าย ป้องกันข่าวลวง Fake News พร้อมเฝ้าระวัง และ จะสร้างสื่อ ดี เพื่อการสื่อสารกับทุกๆประเด็นผ่านการรับรู้สื่อให้เกิดสื่อเพื่อสร้างสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงชุมชน
  3. ต่อสังคม : เราจะร่วมขยายสังคมสื่อสุขภาวะ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์สื่อที่ดี โดยใช้เครื่องมือสื่อให้เป็นประโยชน์

การแสดงจุดยืนครั้งนี้ ที่เริ่มต้นจาก “ตนเอง” ด้วยการ คิดดี โชว์ แชร์ ใช้ สื่อสาร เฝ้าระวัง พร้อมสร้างสื่อดี อย่างรอบรู้ เท่าทัน เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะอย่างมีคุณภาพ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน