วัดไผ่ล้อม รับ กฐินสมาคมนักเพลงลูกทุ่ง ทอดถวาย 28 ต.ค.

 

นายบริพันธ์ ชัยภูมิ นายกสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย เผยว่า ทางสมาคมฯและวัดไผ่ล้อม นครปฐม ขอเชิญพี่น้องร่วมสืบสานประเพณีทอดกฐินสามัคคี ศิลปิน ดารา และร่วมทำบุญเลี้ยงพระ ทอดผ้าบังสุกุล เพื่อเป็นการทำพิธีบวงสรวงใหญ่ให้กับบรรพชนลูกทุ่งผู้ล่วงลับ เนื่องในโอกาสครบรอบ 26 ปี สมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย พร้อมชมคอนเสิร์ตลูกทุ่งแสงสีเสียงอลังการบนเวทีใหญ่

เวลา 10.00 น. เลี้ยงพระเพล ทอดผ้าบังสกุล บวงสรวงให้กับบรรพชนลูกทุ่งผู้ล่วงลับ เวลา 12.00 น. รับสมัครประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง จากรายการชุมทางดาวทอง เวลา 16.09 น. ร่วมทอดกฐินสามัคคี ศิลปิน ดารา ประชาชนเวลา 19.00 น. คอนเสิร์ตลูกทุ่ง ครบรอบ 25 ปี สมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย

สมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย แจ้งว่า สมาคมฯผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน โดยปัจจุบันอยู่ภายใต้การนำของ “นก” บริพันธ์ ชัยภูมิ นายกสมาคมฯ ซึ่งจะจัดงานครบรอบ 25 ปี ในวันอาทิตย์ที่ 28 ต.ค.นี้ ณ วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม ภายในงานจะมีการจัดทอดกฐิน, การทำบุญให้กับบรรพชนคนลูกทุ่งที่ล่วงลับไปแล้ว, การเปิดตัวหนังสือครบรอบ 25 ปี ของสมาคม, การมอบโล่ และใบประกาศ ให้กับบุคคล ที่ให้สนับสนุนสมาคมฯ มาด้วยดี ปิดท้ายด้วย คอนเสิร์ตใหญ่ ช่วงค่ำ ในโอกาสนี้ทางสมาคมฯขอเชิญ บรรดาสมาชิกของสมาคม และคนที่รักเพลงลูกทุ่งไป ร่วมงานกันได้ ตั้งเช้าถึงค่ำโดยพร้อมเพรียงกัน และที่สำคัญวัดไผ่ล้อม เป็นวัดเก่าแก่ที่ให้การสนับสนุนวงการลูกทุ่งด้วยดีเสมอมา

สำหรับประวัติวัดไผ่ล้อม เดิม สร้างขึ้นประมาณในสมัยรัชกาลที่4 สันนิษฐานกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา ได้เกณฑ์ชาวมอญที่อยู่ใต้โพธิสมภาร มาช่วยกันบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์และชาวมอญเหล่านี้ได้มาพักอาศัยอยู่ ณ บริเวณสวนป่าไผ่ ใกล้องค์พระปฐมเจดีย์ ห่างกันประมาณ 500 เมตรในกาลต่อมา ดงไผ่ที่ขึ้นหนาทึบและที่อยู่อาศัยร้างผู้คน เป็นที่สงบร่มเย็น

พระภิกษุผู้แสวงหาธรรมมาพบ จึงได้ปลักกลดลดบริขารลง บำเพ็ญสมณธรรม และก็จากไปเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ชาวบ้านละแวกนั้นจึงได้อาราธนาพระภิกษุจากวัดพระปฐมเจดีย์ มาอยู่จำพรรษาปกครองสำนักสงฆ์แห่งนี้ ยังมีชาวไทยเชื้อสายมอญ อาศัยอยู่ในถิ่นนี้หลงเหลืออยู่ จึงสันนิฐานกันว่า วัดไผ่ล้อม ชาวรามัญน่าจะเป็นผู้สร้างขึ้น

กาลต่อมา พระภิกษุที่อยู่พรรษา ได้ก่อสร้างเสนาสนะ และมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ต้นไผ่ที่เคยขึ้นหนาทึบ ได้ถูกชาวบ้าน หักร้าง ถางฟันจนหมด เพื่อไปทำที่อยู่อาศัย จนหาต้นไผ่ที่หลงเหลืออยู่ น้อยมากจะมีอยู่บ้างก็ในบริเวณวัดเท่านั้น คงเหลือไว้แต่ชื่อวัดไผ่ล้อม จนวัดไผ่ล้อมร้างเจ้าอาวาสอยู่นาน ทางการคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้ง พระอาจารย์พูล หรือ หลวงพ่อพูล (ปัจจุบัน พระมงคลสิทธิการ) ขณะนั้นท่านจำพรรษาอยู่วัดพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม อุปสมบทได้ 10 พรรษา เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ เป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เมื่อ พ.ศ. 2490

ในขณะนั้นวัดไผ่ล้อม ยังไม่มีอุโบสถไว้ประกอบสังฆกรรม จึงปรึกษากับพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งมีพระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาโดยทั่วไป ร่วมกันสร้างอุโบสถขึ้น จนแล้วเสร็จ พระมงคลสิทธิการ หรือหลวงพ่อพูล ได้ดำเนินการสร้างเสนาสนะให้วัดไผ่ล้อม มีความเจริญทางถาวรวัตถุอย่างมากหลายประการ อาทิ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม ศาลาฌาปนสถาน ศาลาปฏิบัติธรรม หอระฆัง กุฏิสงฆ์ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม ปัจจุบันมีพระครูปลัดสิทธิวัฒน์หรือหลวงหลวงพี่น้ำฝน เป็นเจ้าอาวาส

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน