คอลัมน์ มงคลข่าวสด : พระครูวิมลญาณอุดม พระเกจิวัดมณีชลขัณฑ์

พระครูวิมลญาณอุดม หรือพระอาจารย์ธรรมนูญ ฐิตวัฑฒโนและพระอาจารย์ติ๋วเป็นพระเกจิชื่อดังอีกรูปแห่งลพบุรี มีวัตรปฏิบัติดีงาม เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เป็นที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชน

ปัจจุบันสิริอายุ 59 ปี พรรษา 39 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดมณีชลขัณฑ์ พระอารามหลวง ต.พรหมมาสตร์ อ.เมือง จ.ลพบุรี

มีนามเดิมว่า ธรรมนูญ เกิดภู่ เกิดเมื่อวันที่ 2 ..2502 เป็นชาวลพบุรี บิดามารดา ชื่อ นายบุญนาค และนางประไพ เกิดภู่ มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน

จบการศึกษาในระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ค่ายนารายณ์ศึกษา

ต่อมา เข้าพิธีบรรพชาขณะอายุ 17 ปี เมื่อปี พ..2518 ที่วัดเทพกุญชรวราราม ต.พรหมมาสตร์ อ.เมือง จ.ลพบุรี มีพระครูมงคลภาณี (หลวงพ่อมัง) วัดเทพกุญชรวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์

กระทั่งอายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดมณีชลขัณฑ์ ต.พรหมมาสตร์ อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมีพระครูมงคลภาณี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวินิยาภิรัต (หลวงพ่อถมยา) วัดมณีชลขัณฑ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูพรหมจริยาทร วัดมณีชลขัณฑ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่าฐิตวัฑฒโน

หลังอุปสมบทย้ายมาจำพรรษาที่วัดมณีชลขัณฑ์ แต่ยังไปอุปัฏฐากรับใช้หลวงพ่อมัง ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดเทพกุญชรฯ อยู่เสมอ จวบจนมรณภาพ ในช่วงที่จำพรรษาอยู่ที่วัดมณีชลขัณฑ์ ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสำเร็จนักธรรมชั้นเอกเมื่อปี พ..2525 ขณะเดียวกัน ได้มีส่วนช่วยเหลือพัฒนางานวัดมณีชลขัณฑ์ตลอดมา

ได้รับมอบหมายหน้าที่จากเจ้าอาวาส ให้เป็นพระภัตตุทเทสก์ มีหน้าที่ดูแลด้านภัตตาหารของพระภิกษุสามเณรในวัด รวมทั้งงานบริหารและงานปกครอง

..2540 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พ..2543 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมณีชลขัณฑ์

ลำดับสมณศักดิ์ พ..2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวินัยธร ฐานานุกรมของสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตโต) เมื่อครั้งดำรงสมศณศักดิ์พระพรหมมุนี วัดบวรนิเวศวิหาร จากนั้นได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวิมลญาณอุดม

..2553 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

..2560 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามเดิม

ด้านการศึกษาพุทธาคม มีความสนใจในเรื่องของ พุทธาคมมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ในสมัยที่ยังเป็นเด็กเรียนอยู่ชั้น ป.7 เกิดความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้ทางด้านนี้อย่างจริงจัง หันไปศึกษาทางด้านพุทธาคมกับอาจารย์กำนันยอด เหมือนพันธุ์ บ้านข้างวัดยาง ณ รังษี ในตัวเมืองลพบุรี อาจารย์ฆราวาสผู้มีความรู้ความสามารถทางพุทธาคมสูงท่านหนึ่งในเมืองลพบุรี โดยเป็นศิษย์ของหลวงพ่อช้างกับหลวงพ่อนก

วิชาที่ได้เรียนจากกำนันยอด คือ มูลกัจจายน์ ศึกษาอักขระขอม ลงตะกรุด วิชาลบผงอิทธิเจ ผงไตรสรณคมน์ ผงนะกอดกัน ผงนะรำพึง

ต่อมา ได้ไปกราบหลวงพ่อดำ สุคโต วัดเสาธงทอง ศิษย์เอกของหลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี ช่วยท่านลงจารอักขระขอมลงตะกรุด

หลวงพ่อดำแนะนำว่า ถ้าเรียนวิทยาคมแต่เพียงอย่างเดียว จะไม่ก่อเกิดอำนาจความเข้มขลังได้ ต้องไปฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วย จึงได้แนะนำให้ไปหาหลวงปู่ดู่ วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา

จากนั้นจึงไปหาหลวงปู่ดู่ ขอรับการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานโดยหลวงปู่ดู่ได้ให้เข้าไปฝึกในห้องเล็กๆ แคบๆ ภายในกุฏิของท่าน

อีกทั้งยังได้ไปกราบเรียนวิชาจากหลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ ซึ่งเป็นหลานหลวงพ่อยัง วัดหนองน้อย อีกด้วย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีส่วนในการบูรณะพัฒนาวัดอยู่เป็นประจำ เท่าที่กำลังและความสามารถจะเอื้ออำนวยให้ได้ จนเป็นที่ชื่นชมของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ และศรัทธาสาธุชนที่เข้ามากราบสักการะ ตลอดจนในปฏิปทาอันน่าศรัทธาเลื่อมใส ความเมตตาที่ได้อนุเคราะห์และสงเคราะห์แก่ทุกผู้คนที่มาหา

จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังคงมุ่งมั่นปฏิบัติศาสนกิจอย่างเต็มกำลังความสามารถ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน