ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร พระนักปฏิบัติแห่งวัดสูงเม่น จ.แพร่ : อริยะโลกที่ 6

ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร พระนักปฏิบัติแห่งวัดสูงเม่น จ.แพร่ : อริยะโลกที่ 6 – ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร” หรือ “ครูบามหาเถร” แห่งวัดสูงเม่น ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ เป็นพระนักปฏิบัติชื่อดังในอดีต

ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร พระนักปฏิบัติแห่งวัดสูงเม่น จ.แพร่ : อริยะโลกที่ 6 - “ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร” หรือ “ครูบามหาเถร” แห่งวัดสูงเม่น ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่

มีนามเดิมชื่อ ปอย เป็นบุตรของ นายสปินนะ และ นางจันทร์ทิพย์ ราษฎรในหมู่ที่ 2 .สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ เกิดเมื่อปีระกา พ..2332 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1

ครูบามหาเถร บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุยังน้อย และบวชเป็นพระภิกษุ เมื่อปีพ..2352 ที่วัดศรีชุม เมืองแพร่ ได้รับฉายาว่า ‘กัญจโน’

ท่านมุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและภาษาบาลีจนแตกฉาน รวมทั้งภาษา ล้านนาได้ช่วยเป็นครูสอนพระภิกษุในวัดศรีชุมต่อมาระยะหนึ่ง ก่อนย้ายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสูงเม่น

สนใจทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน มุ่งศึกษาจนแตกฉาน สามารถเป็นครูสอนได้อย่างเชี่ยวชาญ

ภายหลังไปศึกษาต่อที่วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ เข้ารับการศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระมหาราชครูแห่งวัดสวนดอก เนื่องด้วยพระมหาราชครูมีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ มีอำนาจทางคณะสงฆ์เป็นอย่างมาก แต่ท่านให้ความเลื่อมใสครูบามหาเถรที่มีความเชี่ยวชาญด้านอักษรบาลีและพระธรรมวินัย จึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

..2402 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ ได้รับสมณศักดิ์ฉายาจากเจ้าหลวงเชียงใหม่ว่า ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร

เดินธุดงค์ไปศึกษาเล่าเรียนต่อในประเทศพม่า จนสำเร็จฌานสมบัติชั้นสูง ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ นำมาทูลเกล้าต่อเจ้าหลวงอินทวิชัยราชา เจ้าเมืองแพร่

ต่อมาเจ้าหลวงเมืองแพร่ได้นำเข้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่พระองค์ท่านทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงให้นำกลับมาไว้ที่เจดีย์วัดมหาโพธิ์ ต.ป่าแมต อ.เมือง จ.แพร่ เพื่อเป็นสมบัติของชาวแพร่สืบไป

บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วภาคเหนือ สะสมสรรพวิชาไว้ในคัมภีร์ใบลาน นอกจากนี้ ชาวสูงเม่นได้ร่วมกันสร้างเจดีย์ทรงหกเหลี่ยมย่อมุมไม้ 12 ภายในบรรจุพระบรมธาตุและพระสารีริกธาตุ ซึ่งครูบามหาเถรนำมาจากประเทศพม่าเมื่อปี พ..2383 จำนวน 3 ดวง ประดิษฐานรูปจำลองของครูบามหาเถร สร้างเสร็จเมื่อปี พ..2508

ครูบามหาเถรใช้เส้นทางเดินศึกษาธรรมะจากแพร่ไปเชียงใหม่ จากแพร่ไปเมืองตาก ผ่านแม่สอด เมืองระแหง ข้ามไปประเทศพม่า ได้สร้างผลงานไว้มากมาย อาทิ

..2383 สร้างเจดีย์วัดมหาโพธิ์ ต.ป่าแมต อ.เมือง แพร่

..2403 หล่อระฆังกังสดาลใหญ่ที่วัดพระสิงห์

..2412 ร่วมกับพระเจ้ากาวิโรรส เจ้านครเชียงใหม่ บูรณปฏิสังขรณ์หอพระไตรปิฎก วัดพระสิงห์

ที่วัดสูงเม่นได้แกะสลักพระพุทธรูปไม้จำนวนมาก สร้างหอไตรวัดสูงเม่นและวัดศรีดอก ต.หัวฝ่าย อ.สูงเม่น รวมไปถึงวัดดอนแก้ว ต.น้ำชา อ.สูงเม่น

ปัจจุบันวัดสูงเม่นได้เก็บรวบรวมคัมภีร์โบราณล้านนาไว้จำนวนมาก กลายเป็นแหล่งวรรณกรรมและตำรายา รวมถึงการบันทึกเรื่องราวในอดีตไว้อย่างน่าสนใจ

จากการสำรวจและศึกษาวิจัย พร้อมทั้งรวบรวมเก็บรักษาอย่างถูกวิธี โดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ม... รุจยา อาภากร เป็นประธานคณะกรรม การ, ดร.ฮัลเลห์ เพนธ์ เป็นที่ปรึกษา เข้ามาศึกษาค้นคว้าเพื่อการอนุรักษ์และจัดแยกหมวดหมู่ ถ่ายไมโครฟิล์มไว้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดแยกคัมภีร์ออกเป็นมัด บรรลุใส่ถุงผ้าจำนวน 2,567 มัด จัดเป็นผูกได้ 8,845 ผูก

จำแนกหมวดหมู่ รหัสชื่อเรื่อง ระบุจำนวนผูกปีและรหัสไมโครฟิล์มไว้อย่างเป็นระบบ บรรจุใส่ตู้จำนวน 10 หลัง มีอยู่ทั้งหมด 21 หมวด ดังนี้ 1.พระวินัย 2.พระสุตตันตปิฎก 3.พระอภิธรรม 4. คัมภีร์ภาษาบาลี 5.บทสวดมนต์ 6.อานิสงส์ 7.ชาดก 8.โอวาทคำกลอน 9.ประเพณีพิธีกรรม 10.ธรรมทั่วไป 11.นิยายธรรม 12.นิยายนิทานพื้นบ้าน 13.ตำนานพุทธศาสนา 14.ตำนานเมืองราชวงศ์ 15.กฎหมาย 16.ตำราอักษรศาสตร์ 17.กวีนิพนธ์ ร้อยกรอง 18.ตำราโหราศาสตร์ 19.ตำรายา รวมหลายหมวด และอื่นๆ

นับเป็นพระภิกษุที่ทำคุณประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาไว้อย่างมหาศาลยิ่ง

มรณภาพอย่างสงบ พ..2421 สิริอายุ 89 ปี พรรษา 69 ที่วัดป่ามะม่วง เมืองระแหง (จังหวัดตากในปัจจุบัน)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน