พระนั่งวัดศรีชุม จ.สุโขทัย

คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

พระนั่งวัดศรีชุม – พระอจนะ วัด ศรีชุม เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ แกนในก่ออิฐและศิลาแลงปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 13.30 เมตร สูง 15 เมตร ประดิษฐานอยู่ในวิหาร ที่พอดีกับตัวองค์พระ เป็นคติ เดียวกับหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง .พระนครศรีอยุธยา แต่พระอจนะมีอายุเก่าแก่กว่า ที่น่าจะสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปรากฏเป็นคำกล่าวถึงอยู่ในศิลาจารึกหลัก 1 ของสุโขทัย

พระนั่งวัดศรีชุม

ข้อมูลวิกิพีเดีย ระบุว่า พระ อจนะ แปลความหมายว่า อจละ แปลว่าผู้ไม่หวั่นไหว มั่นคง ผู้ควรแก่การเคารพกราบไหว้

ปางมารวิชัยที่มีสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปที่ปลายนิ้วของพระหัตถ์ขวาชี้ลงดิน อันมีความหมายว่า พระพุทธองค์นั้นพ้นไปแล้วจากโลกหรือสังสารวัฏ การไม่หวั่นไหว มั่นคง เป็นกริยาหรือสัญลักษณ์ของความหลุดพ้น ดังในพระสูตรธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่แสดงต่อลูกพญามาร นางตัณหา ราคะ อรตี ว่าไม่มีประโยชน์ เพราะพระองค์ไม่มี ไม่ติด ไม่ข้องแวะ ซึ่งมีความหมายดังนี้ ไม่ยินดีในภาวะของอารมณ์นั้นแล้ว

คำว่า ตัณหา ราคะ อรตี มีความหมายดังนี้

ตัณหา ความทะยานอยาก ความร้อนรน อยากได้ อยากเอาเพื่อตน ในมหาสติปัฏฐานสูตร 4 คำว่า ตัณหา แปลความว่า ความอยากอันมีความเกิดอีกเป็นธรรมดา เจือด้วยกำหนัด ด้วยราคะ เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น

ราคะ ความกำหนัด ความติดใคร่ในอารมณ์

อรตี ความไม่ยินดี ไม่พอใจ (แต่ไม่ใช่หมายความว่าเป็นความวางเฉย ซึ่งปนอยู่ระหว่าง โทสะ ความขัดข้องในจิต กับโมหะ คือความไม่รู้ชัด)

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน