หลวงปู่นาค โชติพโล วัดดินดอน จ.นครศรีธรรมราช

คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

หลวงปู่นาค โชติพโล – พระครูสุนทรดิตถคณี หรือหลวงปู่นาค โชติพโลวัดดินดอน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เป็นพระอีกรูปที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีเมตตาธรรมสูง อยู่ในศรัทธาของชาวนครศรีธรรมราชโดยตลอด

เดิมมีชื่อว่า นาค ไม่ทราบนามสกุล เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 18 ..2420 ที่บ้านบางชัน ต.กำแพงเซา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

ปู่มีศักดิ์เป็นหมื่น ชื่อ หมื่นเดช เป็นผู้มีฝีมือทางการช่างและการก่อสร้าง ได้รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ส่วนตาก็มีบรรดาศักดิ์เป็นขุน เป็นพราหมณ์ที่มีความรอบรู้ในฤกษ์พิธีตลอดทั้งพิธีกรรมแต่โบราณ

ในช่วงวัยเยาว์ อายุ 6 ขวบ บิดาออกบวชเป็นพระ หมื่นศรีซึ่งเป็นปู่ ได้สอนหนังสือให้ ครั้นพอเห็นหลานอ่านออกเขียนได้ บ้างแล้ว จึงพาไปถวายตัวเป็นศิษย์วัด สระเรียง ต.ในเมือง อ.เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อเรียนหนังสือต่อ

..2435 บรรพชาที่วัดขัน ก่อนย้ายไปอยู่ที่วัดหน้าพระบรมธาตุ อยู่กับพระสมุห์ศรีเป็นบิดา อยู่ได้ 1 ปีก็ลาสิกขาออกมา

ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดสวนหลวงตก ได้ฉายาว่า โชติพโล

หลังจากนั้นมาอยู่จำพรรษาที่วัดพระบรมกับพระครูกาแก้ว (ศรี) บิดา ศึกษาพระธรรมวินัยกับหัดเทศน์มหาชาติจนชำนาญ และมีชื่อเสียง พอพรรษาที่สาม จึงเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เมื่อมีความรู้พอสมควรแล้ว จึงเดินทางกลับนครศรีธรรมราช มาอยู่จำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุ และได้รับแต่งตั้งเป็นพระปลัด ฐานานุกรมของพระครูกาแก้ว (ศรี)

ราวปี พ..2472 พระอุปัชฌาย์เกลี้ยง เจ้าอาวาสวัดดินดอน มรณภาพ ชาวบ้านได้ เดินทางมานิมนต์พระปลัดนาค ไปปกครองอารามวัดดินดอน

วัดดินดอน ตั้งอยู่ในเขต ต.ท่าดี อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เป็นวัดที่ตั้งขึ้นมาในสมัยรัตนโกสินทร์แผ่นดินรัชกาลที่ 3

พระปลัดนาค ได้รักษาการอยู่จนถึง พ..2475 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดินดอน พอปีถัดมาพ. 2476 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด พ.2476 ได้เป็นกรรมการศึกษาฝ่ายสงฆ์

วันที่ 1 มี..2480 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูสุนทรดิตถคณี เมื่อถึงปี พ..2481 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูสุนทรดิตถคณี หรือ หลวงปู่นาค วัดดินดอน นอกจากมีความรู้ทางด้านพระปริยัติธรรมและการบริหารการปกครอง ท่านยังรอบรู้ในวิทยาคมและเชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานรูปหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราชในยุคนั้น

ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วัตถุมงคลของท่านมีหลายชนิด เช่น รูปเหมือน พระเครื่อง เนื้อดินเผา เครื่องรางของขลังตะกรุด ผ้ายันต์ และลูกอม เป็นต้น

แต่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านมากที่สุด คือ เครื่องรางของขลังเชือกคาดเอวหลวงปู่นาค วัดดินดอน หลวงปู่นาค เรียนวิชาสร้างเชือกคาดเอวมาจากพระครูกาแก้ว (ศรี) ผู้เป็นบิดา ส่วนพระครูกาแก้ว (ศรี) ได้เรียนวิชาการสร้างเชือกคาดเอวมาจากเจ้าอาวาสวัดบางกล้วย จ.สุราษฎร์ธานี เชือกคาดเอวของหลวงพ่อปู่นาค ลักษณะจะไม่เหมือนเชือกคาดเอวของพระเกจิอาจารย์ภาคใต้ยุคหลัง

แต่เชือกคาดเอวของหลวงปู่นาค จะเอาผ้ามาฉีกเป็นริ้วยาวๆ หลายเส้น แล้วลงอักขระไปตามแนวยาวของริ้วผ้า เวลาถักจะขมวดส่วนหัวก่อน จากนั้นก็ถักเป็นเกลียวไปตลอดจนถึงสวนห่างก็ขมวดปมอีกปมหนึ่ง เวลาถักเชือกก็จะบริกรรมคาถาไปพร้อมกัน

เมื่อขมวดส่วนปมของหางเสร็จก็จะให้พร้อมกับภาวนาคาถาจบพอดี

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 ..2512 สิริอายุ 93 ปี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน