พระพุทธไตรรัตนายก หลวงพ่อโต (ซำปอกง)

คอลัมน์ คติสัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

พระพุทธไตรรัตนายก – พระพุทธรูปปูนปั้นลงรัก ปิดทอง ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพ มหานคร (เขตธนบุรี) หน้าตักกว้าง 5 วา 3 ศอกหนึ่งคืบ หรือประมาณเท่ากับเกือบ 12 เมตร สูง 7 วา 2 ศอก คืบ 10 นิ้ว หรือประมาณ 15 เมตร สถิตอยู่ วิหารหลวงวัดกัลยาณมิตร ถนนอรุณอัมรินทร์ตัดใหม่ เขตธนบุรี

เดิมพระพุทธรูปองค์นี้และวิหารหลวงเป็นอาคารที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้สร้างพระราชทานให้กับพระยาราชสุภาวดี ผู้เป็นกัลยาณมิตร หมายถึง ผู้เป็นมิตรดีอันประเสริฐ ที่ได้ร่วมทำกิจกรรมค้าขายสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยนั้นได้อุทิศบ้าน ที่ดิน ที่อยู่อาศัยของท่านสร้างเป็นวัด พระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร

พระพุทธไตรรัตนายก

ที่ยกเรื่องพระพุทธไตรรัตนายก พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ได้เคยอธิบาย คติและสัญลักษณ์กันไปหลายครั้ง ทั้งที่ ผู้อ่านจะหาอ่านศึกษาประวัติวัดได้จากข้อมูลในวิกิพีเดีย ก็เพราะมีผู้ถามมาว่า ทำไมพุทธศาสนิกชนทั้งอดีตและปัจจุบันจึง นิยมสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่โต สิ้นเปลืองทรัพย์สิน เงินทอง ทั้งที่มีพระพุทธรูปบูชาชนิดธรรมดากันอยู่มากมาย

เรื่องนี้มีมิติของความปรารถนาอยู่ในจิตใจหลายประการ ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มว่าคติสร้างพระใหญ่โตนั้นมาจากลำดับดังนี้

ผู้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นผู้มีจิตศรัทธา หวังจะสร้างเป็นศาสนสถานสำคัญเพื่อ

1. เป็นบุญกุศลที่จะส่งให้ผู้สร้างได้ไปอุบัติชนในดินแดนที่มีพระพุทธศาสนาอีก

2. ผู้สร้างเป็นผู้มีบุญ มีพลัง ทั้งทางอำนาจ ทางเศรษฐกิจ และฐานะทางสังคม จะทำอะไรจะสร้างอะไรก็ต้องแสดงความยิ่งใหญ่ ความสำคัญของผู้สร้าง

3. การสร้างศาสนสถานหรือสิ่งก่อสร้างที่สำคัญใหญ่โต ก็คือการสะท้อนความ ยิ่งใหญ่ของผู้สร้าง

4. การสร้างศาสนสถานหรือสิ่งก่อสร้างใหญ่โตเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ก็คือ การยืนยันถึงความมีอยู่ เป็นอยู่ความรู้สึก มั่งคง ความเป็นตัวตนที่จะปรากฏในประวัติศาสตร์ ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าศาสนสถานหรือสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตนั้น ก็ได้เป็นประโยชน์ทางจิตใจและความคิดในทางที่เป็นกุศลจิตแก่ผู้พบเห็น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการดำรงอยู่ของผู้คนในสังคมเสมอ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน