พระพิฆเนศ “เมินโท่” ที่ระลึก ครบ 204 ปี วัดทรงธรรมวรวิหาร

พระพิฆเนศ – วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ถนนทรงธรรม เลยจากวัดโปรดเกศเชษฐาราม ประมาณ 200 เมตร อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นวัดเก่าแก่ ในพุทธศาสนานิกายรามัญ สันนิษฐานว่าเป็นวัดโบราณซึ่งมีมาตั่งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง

ปี พ.ศ.2357-2358 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัย โปรดเกล้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างวัดขึ้นพร้อมกับการสร้างเมือง นครเขื่อนขันธ์ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่บ้านเมืองตามโบราณราชประเพณี วัดทรงธรรมวรวิหาร ตั่งอยู่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณโรงเรียนอำนวยวิทย์ในปัจจุบัน

ซึ่งต่อมาเมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรค่ายคูประตูเมือง ซึ่งได้มีการสร้างป้อมเพชรหึง ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณหน้าบ้านแซ่ โรงเรียนอำนวยวิทย์ และสถานสังเคราะห์คนทุพพลภาพ เมื่อสร้างเสร็จจึงได้โปรดเกล้าให้รื้อวัดทรงธรรมที่สร้างไว้เดิม ไปปลูกสร้างไว้ภายในป้อม และได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เพิ่มเติม

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่า วัดชำรุดทรุดโทรมมากจึงโปรดให้ พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฏิทั้ง 3 คณะมาสร้างรวมเป็นหมู่เดียวกัน
ครั้นขึ้นปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงแปลชื่อ วัดทรงธรรม เมืองนครเขื่อนขันธ์ว่า “วัดดำรงค์ราชกรรม” ต่อมาภายหลังกลับมาใช้ชื่อว่า “วัดทรงธรรม” เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน

ลักษณะสถาปัตยกรรม พระอุโบสถเป็นก่ออิฐ ฉาบปูน เสาพระอุโบสถเป็นเสากลมคู่ รับส่วนปีกของชานพระอุโบสถ มีเสา 56 ต้น พระเจดีย์องค์ใหญ่เป็นแบบรามัญอยู่ตรงกลาง และมีเจดีย์องค์เล็กอยู่ที่ฐาน 4 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่กว้าง 10 วา 2 ศอก สูงถึงยอดฉัตร 11 วา 3 ศอก เจดีย์องค์เล็ก กว้าง 5 ศอกสูง 3 วา 1 ศอก บรรจุพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษไว้

สิ่งที่น่าสนใจนอกจากวัดนี้ จะเป็นวัดที่ควรค่ากับการศึกษาและเรียนรู้ ในฐานะวัดคู่บ้านคู่เมืองนครเขื่อนขันธ์แล้ว ภายในวัดยังประกอบด้วยถาวรวัตถุ ที่เป็นศิลปะของชาวรามัญหรือชาวมอญ
ซึ่งการในสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ และวัดธรรมวรวิหาร

ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดฯ ทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง และอัญเชิญองค์พระพิฆเนศมาประดิษฐานบนยอดเสาหลักเมือง มีลักษณะเป็นพระพิฆเนศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม ทรงประทับนั่งบนฐานบัวหงาย และมีความงดงามแบบเรียบง่าย

เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลาย และเครื่องประดับใดๆ และเราจะไม่เห็นเสาหลักเมือง เพราะเนื่องมาจากตัวเสาหลักเมืองนั้น จะอยู่ที่ใต้ฐานขององค์พระพิฆเนศ (เจ้าพ่อหลักเมือง) พอดี ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเสาก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสและทาด้วยสีแดง

พร้อมทั้งสร้างศาลประจำเมืองขึ้นตามโบราณราชประเพณี โดยมีลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบจีน เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พุทธศักราช 2358

ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงนั้น มีขึ้นเมื่อในอดีต ตอนยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤตต่างๆ พวกชาวบ้าน พ่อค้าแม่ค้า ก็มักจะไปกราบไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง(พระพิฆเนศ) เพื่อที่จะขอพรอยู่เสมอ

และก็ยังมีอีกความเชื่อหนึ่งว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนั้น ยังช่วยให้ชาวพระประแดงรอดพ้นจากสงครามโลกมาได้ เนื่องมาจากเมื่อญี่ปุ่นได้แพ้สงครามแล้วได้มาหลบพักในบริเวณท่าน้ำฯ ทางฝรั่งเศสจะนำระเบิดมาทิ้งบอมในบริเวณจุดที่ทหารญี่ปุ่นมาพักหลบอยู่

แต่ด้วยเนื่องจากคนในระแวกนั้นทั้งหมดได้ไปไหว้ขอพรจากองค์เจ้าพ่อในศาลหลักเมือง ให้เมืองแห่งนี้รอดพ้นจากระเบิดในครั้งนี้ และด้วยความเชื่อที่ว่าองค์เจ้าพ่อท่านได้ปัดระเบิดของทางฝรั่งเศสที่จะมาบอม ให้เลยไปตกลงในจุดที่เป็นป่าไผ่ แทน จึงทำให้คนแถวนี้เชื่อว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ขององค์เจ้าพ่อหลักเมือง

ในกาลนี้ วัดทรงธรรมวรวิหาร อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ จึงได้จัด พระพิฆเนศ “เมินโท่” เป็นที่ระลึก ครบ 204 ปี ขนาดบูชา 5×8 นิ้ว ประกอบด้วย เนื้อนวะโลหะเต็ม สูตรจำนวน2 องค์ เนื้อชนวนมวลสานนำฤกษ์ จำนวน 62 องค์ เนื้อทองแดงรมน้ำตาล จำนวน 204 องค์

ขนาดรูปหล่อลอยองค์ ประกอบด้วยเนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนจอง เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ จำนวน 62 องค์ เนื้อเงิน จำนวน 204 องค์ เนื้อนวะ จำนวน 399 องค์ เนื้อสำริด จำนวน 499 องค์ เนื้อทองแดงเถื่อน จำนวน 99 องค์

ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 2 วาระ ในเดือนพฤศจิกายน 2562 วัตถุมงคลทุกรายการมีโค๊ตและหมายเลขกำกับทุก เปิดจองตั่งแต่วันนี้-31 ตุลาคม 2562 วับวัตถุมงคล วันที่ 1 ธ.ค.62

ติดต่อสอบถามประสัมพันธ์ พระครูพัชรวีราภรณ์ (พระอาจารย์เขียว) 086-0426995,วงค์ 083-555 2691, และศูนย์พระเครื่องทั่วประเทศ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน