หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน วัดป่ากลางโนนกู่ สกลนคร

คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน – หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน วัดป่ากลางโนนกู่ .พรรณานิคม .สกลนคร พระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

มีนามเดิม กู่ สุวรรณรงค์ ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร นับเป็นญาติที่ใกล้ชิดกัน บิดา คือ หลวงพรหม (เมฆ สุวรรณรงค์) มารดา ชื่อ หล้า สุวรรณรงค์

เกิดวันเสาร์ เดือน 5 ปีชวด ..2443 มีน้องชายคือ พระอาจารย์กว่า สุมโน แห่งวัดกลางโนนกู่ .พรรณานิคม ซึ่งเกิดในปี ..2447 อ่อนกว่า 3 ปี และอ่อนกว่าพระอาจารย์ฝั้นผู้เป็นญาติสนิท 8 เดือน (พระอาจารย์ฝั้นเกิด ..2442)

เมื่อเจริญวัยขึ้นมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว นิสัยใจคอเยือกเย็น สุขุม สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีกิริยาสงบเรียบร้อย พูดน้อย มีคติ จิตใจชอบทางสมณวิสัยมาแต่เด็ก ครั้นเมื่อเติบใหญ่ได้พอสมควรแล้ว บิดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือในสำนักของพระอาจารย์ต้น วุฒิสาร จนอ่านออกเขียนได้ และเคยสมัครเข้ารับราชการเป็นเสมียนช่วยกิจการบ้านเมือง

..2463 อายุ 20 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบทฝ่ายมหานิกาย ที่สำนักวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ .พรรณานิคม โดยมีพระครูสกลสมณกิจ (ท่านอาญาครูธรรม) เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาเล่าเรียนอักษรบาลีและขอมในสำนักพระอาจารย์จนชำนาญ สามารถอ่านคัมภีร์ใบลานที่วัดซึ่งมีอยู่หลายผูก เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ชอบสงัด ยินดีในเสนาสนะป่า

กระทั่งพบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบูรพาจารย์สายพระป่า ปวารณาถวายตัวขอเป็นศิษย์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

..2466 ญัตติเป็นพระภิกษุธรรมยุติกนิกาย มีพระอดิศัยคุณาธาร (คำ อรโก) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์มั่น เป็นพระกรรมวาจารย์ ที่วัดมหาชัย .หนองบัว .เมือง .หนองบัวลำภู

..2468 พระอาจารย์กว่า สุมโน ผู้เป็นน้องชาย อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต ที่วัดโพธิสมภรณ์ .อุดรธานี มีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เมื่อยังเป็นพระครูสังฆวุฒิกร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระรักและพระบุญเย็น เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ร่วมจำพรรษากับพระอาจารย์มั่น ที่วัดอรัญวาสี .ท่าบ่อ .หนองคาย พระอาจารย์ต่างๆ ที่จำพรรษาในปีเดียวกันนั้น ได้แก่ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, พระอาจารย์สาร, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กว่า สุมโน และยังมีพระภิกษุสามเณรอีกรวมถึง 16 รูป

หลวงปู่กู่ ธัมมทินโน

เมื่อใกล้จะออกพรรษา พระอาจารย์มั่นประชุมหมู่ศิษย์เพื่อเตรียมออกเที่ยวธุดงค์ หาที่วิเวก และจัดหมู่ศิษย์ออกไปเป็นพวก โดยจัดพระอาจารย์กู่ พระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์ฝั้น ให้ไปเป็นชุดเดียวกัน เพราะเห็นว่ามีนิสัยต้องกันมาก

การเดินธุดงค์แบบนี้ ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลาย และเป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้าน ประชาชนเกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานเป็นอย่างดีและต่างรู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก

ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง โดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรม พากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุสามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐาน

ในช่วงปลายชีวิต เป็นผู้ริเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์ วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า .สกลนคร ต่อจากพระอาจารย์บุตร สร้างกุฏิและหอฉัน ไว้ในถ้ำ

จนเมื่อปี ..2495 อาพาธด้วยโรคฝีฝักบัวที่ต้นคอ ซึ่งเป็นโรคประจำตัว ซึ่งเคยเป็นแล้วก็หายไป

เคยแสดงธรรมเทศนาให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายฟังว่าถ้าเราทำความดีถึงที่แล้ว เรื่องของการตายเราไม่ต้องหวาดหวั่นเลยท่านตักเตือนพระเณรอย่างนี้เสมอ สอนให้รีบร้อนเด็ดเดี่ยวในการทำความเพียร ศึกษาในสมาธิภาวนาให้มาก ตลอดพรรษา ท่านมิได้ลดละในการปฏิบัติด้วยการเดินจงกรม นั่งสมาธิ ภาวนา

เมื่อออกพรรษารับกฐินเสร็จ ท่านลาญาติโยมขึ้นไปปฏิบัติสมณกิจที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า คณะญาติโยมจึงพร้อมใจกันไปทำเสนาสนะถวาย จนกาลล่วงมาได้ 3 เดือนเศษ อาการอาพาธกลับกำเริบขึ้นอีก ญาติโยมอาราธนาให้กลับวัด เพื่อจัดแพทย์รักษาพยาบาล แต่ท่านไม่ยอมกลับ

วันที่ 23 ..2496 มรณภาพ สิริรวมอายุ 53 ปี พรรษา 33

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน