หลวงปู่จันดา จันทาโภ พระเกจิดังแห่งเกจิสารคาม

คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

หลวงปู่จันดา จันทาโภ – พระครูจันทสีตลคุณ หรือหลวงปู่ จันดา จันทาโภอดีตเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และเป็นอดีตเจ้าอาวาส วัดทองนพคุณ .พยัคฆภูมิพิสัย .มหาสารคาม พระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่ในศรัทธา อีกทั้งยังเป็นพระอุปัชฌาย์ของอดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป

นามเดิม จันดา อุทปา เกิดเมื่อวันที่ 11 ..2417 ที่บ้านดงบัง หมู่ที่ 4 .ภารแอ่น .พยัคฆภูมิพิสัย .มหาสารคาม เป็นบุตรของนายอุดนางง้อม อุทปา ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

จนถึงปี ..2532 ขณะอายุ 15 ปี บรรพชาที่วัดบ้านขมิ้น .เม็กดำ .พยัคฆภูมิพิสัย แล้วพำนักอยู่ที่วัดบ้าน ดงบัง บ้านเกิด

หลวงปู่จันดา จันทาโภ

อายุครบบวช เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 24 มิ..2437 ที่อุโบสถวัดบ้านดงบัง .ภารแอ่น .พยัคฆภูมิพิสัย .มหาสารคาม โดยมีพระเป่ม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระค้อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระคำมี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

จากนั้นเดินทางไปยังสำนักเรียนวัดบ้านดอนหลี่ .พยัคฆภูมิพิสัย มุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมด้วยความขยันขันแข็ง ในเวลาไม่นาน สำเร็จการศึกษามูลกัจจายน์ ซึ่งยุคสมัยนั้นการศึกษาของวงการสงฆ์ยังไม่เจริญเช่นปัจจุบัน สำนักเรียนก็มีน้อย ครูอาจารย์ที่มีภูมิความรู้จะอบรมสั่งสอนยังมีไม่มาก

พระภิกษุสามเณรที่ต้องการศึกษา เล่าเรียน ต้องใช้ความพยายามอย่างหนักในการแสวงหาที่เรียน

สำหรับหลวงปู่จันดา ที่สามารถเรียนจบมูลกัจจายน์ จึงนับได้ว่าเป็นผู้มีภูมิความรู้มากรูปหนึ่งในยุคสมัยนั้น ดังจะเห็นได้ว่าต่อมาไม่นานได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองพอก

วันที่ 16 ..2453 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และวันที่ 6 ..2472 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูจันทสีตลคุณ

หลังจากที่มีตำแหน่งทางปกครอง ปฏิบัติหน้าที่งานด้านปกครองคณะสงฆ์ ยึดหลักเมตตาธรรมเป็นที่ตั้ง ด้วยหลักพรหมวิหาร 4 และปฏิบัติศาสนกิจตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณร โดยท่านเปิดสำนักเรียนขึ้นที่วัดทองนพคุณ จนเป็นสำนักเรียนใหญ่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในแต่ละปีจะมีพระภิกษุสามเณรศึกษาเล่าเรียนจำนวนมาก โดยท่านทำหน้าที่เป็นครูสอนเอง และยังร่วมกับญาติโยมพัฒนาวัดทองนพคุณให้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์รวมใจของชุมชนดังปรากฏในปัจจุบัน

ในช่วงสมัยนั้นพระอุปัชฌาย์มีน้อยมาก ผู้ที่มีความประสงค์จะบรรพชาหรืออุปสมบทในเขตพื้นที่ใกล้เคียงต่างเดินทางมาบวชกับท่านที่อุโบสถวัดทองนพคุณ มีหลักฐานตัวเลขนับแต่ที่ท่านรับหน้าที่เป็นพระอุปัชฌาย์จนถึงวันมรณภาพ บรรพชา 3,250 รูป และอุปสมบท 4,050 รูป

นับว่าเป็นผู้มีศิษย์มากรูปหนึ่งในจำนวนอุปสัมปทาเปกขะมีหลายรูปที่ต่อมาเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ หลวงปู่มี กันตสีโล วัดป่าสันติธรรม .ยางสีสุราช .มหาสารคาม, หลวงปู่สุ่ย ถิรธัมโม วัดหนองขาม .พยัคฆภูมิพิสัย .มหาสารคาม, หลวงปู่ถิน สารานุโม วัดบ้านดงเมืองน้อย .มหาสารคาม, หลวงปู่เสือ อดีตเจ้าคณะอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังเป็นพระที่มีผลงานการเผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์สัมมา สัมพุทธเจ้าอย่างต่อเนื่อง เทศนาสั่งสอนอบรมให้พุทธศาสนิกชนยึดหลักศีล 5 ในการดำเนินชีวิต มีความกตัญญูต่อ บิดา มารดา ครู อาจารย์ และผู้มีพระคุณ จะทำให้ชีวิตพานพบแต่ความดีงาม และเจริญรุ่งเรือง

หลังจากตรากตรำรับใช้พระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน ช่วงบั้นปลายของชีวิตหลวงปู่อาพาธบ่อยครั้ง

วาระสุดท้ายถึงจะอาพาธหนักแต่ท่านยังมีสติ เรียกคณะศิษย์มาประชุม พร้อมให้โอวาทโดยใจความสั้นๆ ว่าสังขารร่างกายมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีป่วย แล้วมีความตายเป็นบั้นสุดท้าย ไม่มีสัตว์ใดล่วงพ้นความตายไปได้แม้แต่คนเดียว ดังนี้ ท่านผู้เป็นศิษย์ทั้งหลายเอ๋ย! จงประพฤติธรรมและวินัยให้เป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นจนเต็มความสามารถเทอญ

สุดท้ายมรณภาพอย่างสงบเมื่อวันที่ 25 ..2494 สิริอายุ 78 ปี พรรษา 58 จัดงานพระราชทานเพลิงศพ ที่เมรุวัดทองนพคุณ วันที่ 13 มี..2495

เชิด ขันตี พล

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน