พระมงคลราชมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม

คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

พระมงคลราชมุนี(สนธิ์ ยติธโร) หรือท่านเจ้าคุณศรี” (สนธิ์) ท่านเป็นศิษย์ในสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงประสาทศิลปวิทยาการอันล้ำค่า คือ ตำรับและพิธีกรรมการสร้างพระพุทธรูปและพระกริ่ง ให้จนหมดสิ้น

สร้างวัตถุมงคลพระเครื่อง และพระกริ่ง รุ่นต่างๆ ไว้หลายรุ่น ล้วนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นามเดิม สนธิ์ พงศ์กระวี เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 17 ..2446 ที่ .สระบุรี บิดามารดา ชื่อ นายสุขและนาง ทองดี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 11 คน

พระมงคลราชมุนีวัดสุทัศนเทพวราราม

อายุ 11 ขวบ บิดาถึงแก่กรรม มารดาจึงนำมาฝากไว้กับพระภิกษุบุญ (หลวงตาบุญ) ซึ่งเกี่ยวเป็นญาติที่วัดสุทัศนเทพวราราม คณะ 15 เพื่อให้ศึกษาอักขระสมัยฝ่ายบาลี ตามคตินิยมที่เล่าเรียนกันในยุคนั้น คือ เริ่มเรียนคัมภีร์สนธิ คัมภีร์นาม คือไปตามลำดับ

อายุ 13 ปี บรรพชา โดยมี พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูปลัดสุวัฒนพรหม จริยคุณ ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์

ศึกษาเล่าเรียนต่อไปตามปกติ จนถึงเดือนเมษายน 2459 ย้ายไปอยู่ที่วัดกลางบางแก้ว .นครชัยศรี .นครปฐม ในความปกครองของพระพุทธิวิถีนายก เจ้าคณะจังหวัดนครปฐมในยุคนั้น

ตราบจนถึง ..2460 จึงย้ายกลับมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ ตามเดิม ศึกษาธรรมวินัย ..2464 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี ..2465 สอบได้นักธรรมชั้นโท

..2466 เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระครูปลัด สุวัฒนพรหมจริยคุณ เป็นพระกรรมวาจา จารย์ และพระพิมลธรรม (นาค สุมมนาโค) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพเวที และยังอยู่ที่วัดสุทัศน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า ยติธโร

..2468 สอบเปรียญธรรมได้ 4 ประโยค ทั้งได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูธรรมรักขิต ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์

เมื่อวันที่ 8 ..2469 เวลาประมาณ 04.00 . ประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ถูกคนวิกลจริตฟันด้วยมีดตอก ได้รับบาดเจ็บตามร่างกายหลายแห่ง

ผลจากการถูกทำร้ายอย่างสาหัสในคราวนั้น ทำให้อาพาธหนักไปพักหนึ่ง ประมาณ 3 เดือน เมื่อหายจากการอาพาธ กลับคืนอยู่ที่วัดสุทัศน์ตามเดิม และเมื่อมาถึงได้ขึ้นไปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว) ทรงรับสั่งว่าอ๋อ! มหาสนธิ์ เธอหายดีแล้วหรือแล้วท่านก็รับสั่งเรียกให้เข้าไปใกล้ ทรงจับศีรษะท่านไว้แล้วทรงเป่าให้ 3 ครั้ง พร้อมกับทรงรับสั่งต่อไปอีกว่าตั้งแต่นี้ต่อไปจะไม่มีอะไรอีกแล้ว

..2474 สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 7 ประโยค

รับตำแหน่งฐานานุกรมต่างๆ ตามลำดับ พร้อมกับได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา ฯลฯ เมื่อวันที่ 1 มี..2481 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีสัจจญาณมุนี

วันที่ 8 ..2493 ได้เลื่อนจากตำแหน่งพระราชาคณะสามัญ ขึ้นเป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชที่ พระมงคลราชมุนี

เป็นผู้เรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ หลายแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) พระอุปัชฌาย์ ทรงประสาทศิลปวิทยาการ คือ ตำรับและพิธีกรรมการสร้างพระพุทธรูปและพระกริ่ง ให้แก่ท่านจนหมดสิ้น ซึ่งท่านสืบสานพิธีกรรมต่างๆ เหล่านี้ในเวลาต่อมา สมัยที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) สิ้นพระชนม์แล้ว อย่างถูกต้องตามตำราทุกประการ

เมื่อว่างในด้านศึกษา กลับเพิ่มภารกิจในหน้าที่ของพระมหาเถราจารย์ ได้รับนิมนต์ให้ไปประกอบพิธีกรรมต่างๆ เสมอเป็นเนืองนิตย์ รวมทั้งต้องนั่งปรกเข้าพิธีสวดพุทธา ภิเษก นั่งปรกไปจนกว่าจะได้ฤกษ์เททอง การประกอบพิธีเช่นนี้แต่ละครั้งทำให้สุขภาพของท่านค่อยๆ เสื่อมทรุดลงทุกที

ท้ายที่สุด เมื่ออาการอาพาธกำเริบทรุดหนัก จนสุดที่คณะแพทย์จะเยียวยา คืนวันที่ 16 ..2495 เวลา 21.20 . ท่านมรณภาพด้วยอาการอันสงบ ท่ามกลางความเศร้าสลดของบรรดาศิษยานุศิษย์

เชิด ขันตี พล

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน