หลวงพ่อเขียน ธัมมรักขิโต วัดสำนักขุนเณร จ.พิจิตร

คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

วัดสำนักขุนเณรหลวงพ่อเขียน ธัมมรักขิโตพระเกจิดังแห่งวัดสำนักขุนเณร ต.วังงิ้ว อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วิทยาคมเข้มขลัง

แม้กระทั่ง หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ เทพเจ้าแห่งเทือกเขารัง วัดช้างเผือก อ.เมืองเพชรบูรณ์ ยังให้ความเคารพนับถือ

มีนามเดิมว่า เสถียร จันทร์สา เกิดเมื่อปี พ..2399 ที่บ้านตลิ่งชัน ต.ชอนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

เมื่อเยาว์วัย เป็นเด็กเฉลียวฉลาด อายุ 12 ปี เกิดศรัทธา จึงขออนุญาตจากบิดามารดา เข้าพิธีบรรพชา เมื่อปี พ..2411 ที่วัดทุ่งเรไร

ศึกษาอักขรสมัยกับสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียนภาษาขอม ควบคู่กับภาษาไทย เนื่องด้วยมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน สมภารจึงได้เปลี่ยนชื่อจากเสถียร มาเป็นเขียนนับแต่บัดนั้น

อยู่ในสมณเพศ จนอายุใกล้จะอุปสมบท จึงสึกออกมาระยะหนึ่ง จนอายุ 20 ปี บริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดภูเขาดิน ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก จ.เพชรบูรณ์ โดยมีพระอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สอน เป็นพระกรรม วาจาจารย์ และพระอาจารย์ทองมี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังอุปสมบท 1 พรรษา บิดามารดารบเร้าให้สึก เพื่อแต่งงานกับหญิงสาวผู้หนึ่ง ที่บิดามารดาอยากได้มาเป็นสะใภ้ แต่ปฏิเสธ

ดังนั้น เพื่อให้พ้นความยุ่งยากจึงออกเดินทางไปเยี่ยมญาติที่บ้านวังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ในเวลานั้น วัดวังตะกู ขาดพระภิกษุที่จำพรรษา ในปีนั้น กำนันตำบลวังตะกูจึงนิมนต์ให้ท่านจำพรรษา ณ ที่นั้น

ต่อมา เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี มีพระอาจารย์ทอง เป็นผู้สอน อยู่ที่วัดแห่งนี้นาน 9 ปี ต่อมาเข้ามาศึกษาต่อที่วัดรังษี กรุงเทพฯ มีท่านเจ้าคุณพระธรรมกิตติ เป็นเจ้าอาวาส ในสมัยนั้น ก่อนกลับมาที่วัดเสาธงทองอีกครั้ง กลับมาจำพรรษาที่วัดเสาธงทองได้ 9 พรรษา กำนันตำบลวังตะกูและชาวบ้านได้นิมนต์ให้มาจำพรรษาที่วัดวังตะกู และอยู่จำพรรษาตั้งแต่นั้นมา

จนกระทั่งถึงปี พ..2491 กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐบ้านสำนักขุนเณร ตอนนั้นท่านยังเป็นกำนันตำบลวังงิ้ว พร้อมด้วยญาติโยมนิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดสำนักขุนเณร ซึ่งอยู่ห่างกันกับวัดวังตะกูเพียง 5 กิโลเมตร เท่านั้น หลวงพ่อท่านเดินทางไปมาระหว่าง 2 วัดนี้มิได้ขาด

จนปี พ..2493 ตัดสินใจจำพรรษาที่วัดสำนัก ขุนเณรตั้งแต่นั้นมา สมัยหนึ่ง เจ้าอาวาสวัดวังตะกู กราบนมัสการขออนุญาตท่านหล่อรูป และสร้างเหรียญหลวงพ่อ โดยจัดพิธีพุทธาภิเษกให้ประชาชนบูชา เพื่อหารายได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดวังตะกู หลวงพ่อเขียนก็อนุญาต

ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้น ขณะประกอบพิธี ปรากฏสายฝนตกลงมาอย่างหนัก กรรมการรีบเข้าไปนิมนต์ท่าน ขึ้นกุฏิหลบฝน แต่ท่านกลับบอกว่า ถ้าท่านลุก จากที่นี้อีกองค์หนึ่ง พิธีก็เสียหมด ทั้งยังกล่าวต่อไปว่าฝนมันตกไม่นานหรอกน่อ เพียง 5 นาทีเท่านั้นก็หาย เทวดาเขาให้ฤกษ์ดีน่อ

ครั้นเวลาครบ 5 นาที ฝนก็หยุดตก ขาดเม็ดทันที!

สำหรับการเจริญกัมมัฏฐานของหลวงพ่อเขียน ท่านมักจะปฏิบัติในเวลาดึกสงัด ปราศจากเสียงรบกวน ในยามค่ำคืนจะมีแสงไฟสลัวในกุฏิของหลวงพ่อเสมอ และมักจะดับเอาตอนรุ่งสางแล้ว

ตามปกติในเวลากลางวัน หลวงพ่อต้องออกมานั่งปัดเป่าความทุกข์ให้แก่ชาวบ้านที่พากันหลั่งไหลมา นมัสการไม่ขาดสาย ตั้งแต่เช้าจรดเย็นเป็นประจำ

กล่าวสำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อเขียน ที่ท่านจัดสร้างเอง มีความเข้มขลัง เป็นที่แสวงหาของบรรดาเซียนพระอย่างมาก โดยเฉพาะเซียนจังหวัดพิจิตร ใครมีไว้ในครอบครอง มักจะหวงแหน

ปัจจุบันวัตถุมงคลแทบทุกชนิด ล้วนแต่หายาก

หลวงพ่อเขียน มีโรคประจำตัวอยู่ โรคหนึ่ง คือ โรคหืด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานท่านเป็นอย่างมาก เมื่อเวลาโรคกำเริบ แต่จะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา เพราะระงับด้วยขันติธรรม

ครั้นเมื่อท่านชราภาพมากขึ้นทุกขณะ ท่านฉันภัตตาหารไม่ค่อยจะได้ ทำให้เรี่ยวแรงหมดไปทุกที คณะกรรมการวัดและศิษยานุศิษย์ จึงได้นำหลวงพ่อไปรักษา ที่สถานพยาบาลในตลาดบางมูลนาก แต่เนื่องจากความชราและโรคกำเริบ สุดความสามารถของแพทย์จะรักษาท่านได้

มรณภาพด้วยอาการสงบ คืนวันที่ 21 ..2507 เวลา 23.50 . สิริอายุ 108 ปี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน