กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์

วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

ปารณีย์ จันทรกุล

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร – ชาวศรีลังกาสวมชุดสีขาวสะอาดตาถือธงชาติไทยที่ปากประตูทางเข้าวัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร เมืองวัสกาดูวา ส่วนนักเรียนชาย นักเรียนหญิงถือธงฉัพพรรณรังสี หรือธงพุทธศาสนาตรงทางเข้าศาลาประกอบพิธี

ขณะที่นักเต้นและนักดนตรี ตีกลอง ร้องเพลง ต้อนรับคณะเชิญผ้า พระกฐินพระราชทานจากประเทศไทยมาทอดถวายโดยมี นายชัยสิริ อนะมาน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2562

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

ทอดผ้าพระกฐินพระราชทาน

งานพระกฐินพระราชทานปีนี้ จัดขึ้นที่วัดขนาดไม่ใหญ่มาก อยู่ห่างจากกรุงโคลัมโบประมาณ 36 ก.ม. แต่มีความสำคัญและความสัมพันธ์กับราชวงศ์ไทยและประเทศไทยอย่างยิ่ง

นางจุฬามณี ชาติสุวรรณ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ กล่าวถึงสาเหตุที่เลือกวัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร ว่าปีนี้เป็นปีแรกที่จัดพระกฐินพระราชทานหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและวัดนี้มีความเกี่ยวพันกับราชวงศ์ไทยในอดีต เนื่องจาก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ทรงผนวชเป็นภิกษุ โดยมีพระราชกูรู วัสกาดูเว ศรีสุปุติ เถโร เป็นพระอุปัชฌาย์ ทำให้พระอุปัชฌาย์ได้รับตำแหน่ง “พระราชกูรู” ชาวศรีลังกาองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์ศรีลังกา

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

นางจุฬามณี ชาติสุวรรณ

พระราชกูรู วัสกาดูเว ศรีสุปุติ เถโร เป็นพระสงฆ์ที่มีความรอบรู้เรื่องภาษาโบราณและช่วยแปลคำจารึกโบราณบนผอบที่บรรจุพระธาตุที่ค้นพบทางตอนเหนือของอินเดียติดชายแดนเนปาลเมื่อปี 2441ได้ว่า นี่คือพระธาตุของสมณโคดม ซึ่งราชวงศ์ศากยะได้รับมา จึงค่อนข้างแน่ใจว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุของแท้ซึ่งรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองศรีลังกาในขณะนั้นได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุให้กับเจ้าอาวาสวัดนี้ไว้ส่วนหนึ่ง

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

ชัยสิริ อนะมาน ที่ปรึกษารมว.กต.เชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน

ส่วนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงสร้างคุณประโยชน์ทั้งด้านศาสนาและการศึกษาแก่ศรีลังกาอย่างกว้างขวาง จึงได้รับการเคารพยกย่องจากชาวศรีลังกาจนถึงทุกวันนี้

ความสัมพันธ์ทางศาสนาไทยและศรีลังกาแน่นแฟ้นเหนือกาลเวลาผ่านการให้และรับ โดยไทยรับพระพุทธศาสนาจาก ศรีลังกา เรียกว่า “ลังกาวงศ์” แต่เมื่อเวลาผ่านไป พุทธศาสนาในศรีลังกาเสื่อมโทรมลงเนื่องจากโปรตุเกสเข้ามาล่าอาณานิคม จนกระทั่งไม่มีพระสงฆ์อีกต่อไป พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะ กษัตริย์ศรีลังกาในสมัยนั้น จึงขอพระสงฆ์จากไทย

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาในสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงส่งคณะสมณทูต นำโดยพระอุบาลี เถโร จากวัดธรรมาราม อยุธยา พร้อมกับคณะสมณทูตไปอุปสมบทให้ชาวศรีลังกาจำนวน 700 รูป และบรรพชาสามเณรอีก 3,000 รูป จึงเรียกว่า “สยามวงศ์”

หลักฐานการเดินทางของสมณทูตไป ศรีลังกาปรากฏให้เห็นเป็นภาพจิตรกรรม ฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดอัมพวัน เจติยาราม หรือ วัดอัมพวัน จ.สมุทรสงคราม ซึ่งท่านทูตจุฬามณีได้ให้ศิลปินจำลองภาพมาไว้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบด้วย

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

ถนนหนทางของศรีลังกา

นอกจากจิตรกรรมฝาผนังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ถึงความสัมสัมพันธ์ทางด้านพุทธศาสนาระหว่างศรีลังกากับไทยแน่นแฟ้นแล้ว การเชิญผ้าพระกฐินพระราช ทานไปทอดถวายยังศรีลังกาถือว่าเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่กระทรวงการต่างประเทศเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2538 โดยเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายที่ศรีลังกาครั้งแรกในปี 2539

พิธีทอดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน มีชาวศรีลังกาและชาวไทยมาร่วมงานประมาณ 200 คน รวมเงินที่ได้จากเงินพระราชทานบำรุงพระอารามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เงินถวายเป็นพระราชกุศลจากกระทรวงการต่างประเทศ และเงินบริจาคจากพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและศรีลังกา ประมาณ 536,953 บาท

นายชัยสิริ อนะมาน ที่ปรึกษา รมต.ต่างประเทศกล่าวว่าพระกฐินพระราชทานเป็นสิ่งที่ประกาศให้ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทราบ ว่ากษัตริย์ของไทยทรงเป็นพุทธศาสนู ปถัมภก และเป็นเครื่องมือที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชนซึ่งศรีลังกาได้รับเลือกให้มีการเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานมาทอดถวายเสมอเนื่องจากเป็นเมืองพุทธที่แท้จริง พระสงฆ์เคร่งครัดตามหลักคำสอน ส่วนประชาชนก็เลื่อมใสในพุทธศาสนา

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

สตรีผู้ร่วมงานแต่งชุดขาวล้วน

ด้านพระวาสกาดูเว มหินทะวงศา มหานายากะ เถโร เจ้าอาวาส กล่าวว่าวัดนี้มีความสำคัญกับราชวงศ์ไทยและมีความสำคัญต่อพุทธศาสนา เนื่องจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าปฤษฎางค์ทรงผนวชที่วัดนี้ ก่อนไปเป็นเจ้าอาวาสวัด ทีปทุตตมาราม ในกรุงโคลัมโบ

และวัดนี้ยังเก็บรักษาเอกสารลายพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ที่ทรงบันทึกว่าพระพม่าที่มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในศรีลังกาได้รับการสืบทอดมาจากธรรมยุติกนิกายในสยาม

หลังจากเจ้าอาวาสเปิดวิหารให้คณะชาวไทยและศรีลังกาส่วนหนึ่งไปกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ นายลาลิธ กุมาราจี ประธานหอการค้าศรีลังกา-ไทย กล่าวว่ามาร่วมงานพระกฐิน พระราชทานทุกปีติดต่อกัน 7 ปีแล้วเพราะเป็นสมาชิกสภาหอการค้าศรีลังกา-ไทยซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับสถานเอกอัคร ราชทูตไทย และการมางานพระกฐินพระราชทานในครั้งนี้ก็รู้สึกดีมากๆ

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

ลาลิธ กุมาราจี – โรฮาน เอลกิริเยวิิธาน

ส่วน โรฮาน เอลกิริเยวิธาน สมาชิกหอการค้าศรีลังกา-ไทย กล่าวว่าศรีลังกามีพระบรมสารีริกธาตุมากกว่าที่อินเดีย ที่สำคัญ คือ พระธาตุเขี้ยวแก้วที่ประดิษฐานที่วัดในเมืองแคนดี และเห็นว่าความสัมพันธ์ทางด้านศาสนาทั้งสองประเทศมีมานานแล้ว และช่วยให้ความสัมพันธ์ในการดำเนินธุรกิจราบรื่น

สําหรับคนไทยในเมืองวัสกาดูวาเพียงคนเดียวที่มาร่วมงาน คือ วิรัตน์ จันทร์ประทัศ เชฟโรงแรมอันตรากาลูทารา กล่าวว่าเพิ่งทราบข่าวว่ามีงานพระกฐินพระราชทานจากท่านทูตที่ไปรับประทานอาหารที่โรงแรมคืนก่อนที่จะมีงานและรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้ร่วมงานบุญครั้งยิ่งใหญ่

เชฟชาวไทยมาทำงานที่ศรีลังกาได้ 1 ปีและได้สัมผัสชาวศรีลังกาอย่างใกล้ชิดกล่าวว่าประทับใจคนศรีลังกาที่มักจะทักทายทุกคนว่า “อายุ-โบ-วัน” เหมือนกับคนไทยพูด “สวัสดี” และเห็นว่าชาวศรีลังกาเคร่งศาสนามากโดยจะถอดรองเท้าในวัด ตามถนนหนทางหรือซอยเล็กซอยน้อยก็จะมีพระพุทธรูปประดิษฐานในตู้กระจกให้คนที่ผ่านไปมาได้นมัสการและไม่หันหลังถ่ายรูปกับพระพุทธรูป

เชฟประสบการณ์กว่า 18 ปีกล่าวว่าเมนูอาหารไทยที่ลูกค้าชาวศรีลังกานิยมสั่งมารับประทาน ได้แก่ ต้มยำ แกงเขียวหวานไก่ ส้มตำ ผัดไทย

ส่วนคนไทยที่ไปศรีลังกา ไม่ควรพลาดชิมปูสดๆ ตัวใหญ่ๆ ซึ่งมีอยู่หลายร้านในกรุงโคลัมโบ รวมทั้งร้านมินิสทรี ออฟ แครบ หรือกระทรวงการปู ซึ่งชูจุดขายที่ปูสดๆ จากทะเล มีตั้งแต่ขนาดครึ่ง ก.ก. ไปจนถึงแครบซิลลา (Crabzilla) หนัก 2 ก.ก. ขึ้นไป

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

วิชชา ขจิตวรพันธ์

นายวิชชา ขจิตวรพันธ์ ซูเปอร์ไวเซอร์ชาวไทยประจำร้านมินิสทรี ออฟ แครบ บอกว่าปูและกุ้งเพาะเลี้ยงเป็นตัวอ่อน ก่อนปล่อยลงสู่ป่าโกงกางโดยล้อมไม้ขังไว้ แต่ไม่ได้เลี้ยงในกระชัง โดยให้ชาวประมงในชุมชนช่วยกันเลี้ยงและจับมาขายให้กับทางร้านเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน ซึ่งในแต่ละวันกำหนดไม่ได้ว่าจะจับได้มากน้อยแค่ไหนและขนาดตัวหนักเท่าไหร่ รวมทั้ง ไม่จับปูตัวเมียตามกฎหมายของ ศรีลังกาเพื่อให้วางไข่

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

วิรัตน์ จันทร์ประทัศ

ขณะที่ทางร้านจะจำกัดจำนวนลูกค้าในแต่ละวันเพื่อจะได้ไม่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมมากเกินไปซึ่งลูกค้าชาวเอเชียหรือชาวจีนมักจะสั่งปูตัวใหญ่มาถ่ายรูปลงสื่อสังคมออนไลน์ ขณะที่ลูกค้าชาวยุโรปจะสั่งปูขนาด 1 ก.ก. เพื่อชิมรสชาติความสดและความหวานของเนื้อปูแน่นๆ เพราะปูที่จับมาได้จะไม่แช่แข็งเพราะจะทำให้รสชาติด้อยลง

ส่วนคนไทยที่อยากลิ้มชิมรสชาติปูสดๆ เดือนธันวาคมนี้จะเปิดสาขาที่กรุงเทพฯ โดยจะนำเข้าปูเป็นขนส่งทางเครื่องบินจากศรีลังกาทุกวันเพราะปูมีชีวิตได้ 4 วัน ส่วนกุ้งก็จะใช้เทคนิคพิเศษโดยไม่แช่แข็งเช่นกัน

นี่เป็นธุรกิจหนึ่งที่ทำชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับศรีลังกา

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

 

ขณะที่นักธุรกิจ นักลงทุนชาวไทยที่มองหาตลาดใหม่ในเอเชียใต้ ศรีลังกาเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ไม่น่ามองข้ามเพราะกำลังบูรณะประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังจากบอบช้ำจากสงครามกลางเมืองที่ยาวนาน 30 ปี และเพิ่งยุติสงคราม 10 ปี

กฐินพระราชทานสานประวัติศาสตร์ วัดราชกูรู ศรีสุปุติ มหาวิหาร

ท่านทูตจุฬามณีกล่าวว่าศรีลังกาเป็น “เสือตัวใหม่ของเอเชียใต้” เนื่องจากเป็นจุดยุทธศาสตร์การเดินเรือในเอเชียใต้ อีกทั้ง จีนจัดให้ศรีลังกาอยู่ในข้อริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง

ส่วนมูลค่าการค้าระหว่างไทยและศรีลังกา ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 15,000 ล้านบาท ถือว่าเติบโตอย่างช้าๆ เนื่องจากสินค้าทั้ง 2 ประเทศไม่ได้ต่างกันมาก แต่อุปสรรคสำคัญเกิดจากการที่ศรีลังกาตั้งกำแพงภาษีนำเข้าค่อนข้างสูงเพื่อนำเงินมาบูรณะฟื้นฟูประเทศ

ไทยจึงเริ่มเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับศรีลังกาเพื่อลดกำแพงภาษี ซึ่งมีการเจรจากัน 2 รอบแล้วตั้งแต่ปี 2561 ส่วนการเจรจารอบใหม่คาดว่าจะเริ่มได้หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในศรีลังกาภายในครึ่งปีแรกของปี 2563

นอกจากนี้ ยังไม่ใช่ประเทศที่ง่ายต่อการลงทุน โดยระดับความง่ายในการทำธุรกิจอยู่ที่ 99 จึงแนะนำว่าหากนักธุรกิจไทยขนาดกลางและขนาดย่อมจะมาทำการค้าการลงทุนควรมีพันธมิตรที่ดี

ผู้ที่เลื่อมใส ใฝ่ธรรมะ หรือจะช็อปปิ้งชา ชิมปู หรือดูลู่ทางการค้า ศรีลังกาอาจตอบโจทย์ได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน