สิ้นพระเถระ-พระเกจิมรณภาพปีหมู

สิ้นพระเถระ – ส่งท้ายปีกุน พ..2562 วงการสงฆ์ไทย สูญเสียพระภิกษุเรืองนาม ผู้คร่ำหวอดหลากหลายด้าน ทั้งพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ พระสายปฏิบัติ พระเกจิคณาจารย์ดัง พระนักปกครองผู้มากด้วยประสบการณ์ พระนักเทศน์เผย แผ่ธรรม ฯลฯ

อาลัยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง มรณภาพ ที่ ..กรุงเทพ สิริอายุ 78 ปี พรรษา 58

ภายหลังเข้ารับการรักษาที่ ..กรุงเทพ ด้วยภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจโต ให้การรักษาด้วยยา ต่อมามีภาวะโรคไต จึงได้รักษาโดยการฟอกเลือดล้างไต ด้วยเครื่องไตเทียมตั้งแต่ปี ..2555 เป็นระยะเวลา 7 ปี

เมื่อปี ..2560 พบว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงได้รับการรักษาด้วยการทำบอลลูน สวนหัวใจ 1 เส้น และได้รับการฟอกไต มาตลอด

สิ้นพระเถระ

กระทั่ง เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิ.. 2562 เข้ารับการฟอกเลือดล้างไตตามปกติ เป็นที่เรียบร้อยดี ท่านเตรียมตัวกำลังจะกลับ เกิดอาการ สะอึก ไอ และเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ทีมแพทย์และพยาบาลเข้าให้การช่วยเหลือฟื้นคืนชีพปั๊มหัวใจ (CPR) เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที แต่ไม่สามารถยื้อไว้ได้

ทั้งนี้ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองจาก สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) วัดปากน้ำ, สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พรหมคุตโต) วัดบวรนิเวศวิหาร และสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส ตามลำดับ

ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านและได้ตีพิมพ์แล้ว อาทิ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎกา, ปริวรรตแปลปทานุกรมพระไตรปิฎกฉบับบาลีไทย เป็นต้น ล้วนได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์ทั้งสิ้น

นอกจากดำรงตำแหน่งสำคัญในทางคณะสงฆ์ ท่านยังมีตำแหน่งอีกมากมาย อาทิ หัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ 1, คณะกรรมการพิจารณางบประมาณศาสนสมบัติกลางประจำ (พศป.), กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์, รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส .นครปฐม เป็นต้น

งานวิชาการทุกชิ้นที่ออกสู่สายตา ล้วนแต่ได้รับการยอมรับ แม้กระทั่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินธโร) ครั้งยังมีชีวิตอยู่ ยังกล่าวชื่นชมผลงานของท่าน

หลวงปู่เพิ่ม อัตตทีโปมรณภาพสงบ

หลวงปู่เพิ่ม อัตตทีโปหรือพระครูประโชติธรรมวิจิตรที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบางไทร และ เจ้าอาวาสวัดป้อมแก้ว .บ้านกลึง .บางไทร .พระนครศรีอยุธยา พระเกจิอาจารย์ที่มากด้วยพุทธาคมอีกรูปหนึ่ง

สิ้นพระเถระ

งานด้านสาธารณูปการ ชาวเมือง กรุงเก่า ตั้งฉายาให้หลวงปู่เพิ่ม เป็นหลวงปู่นักพัฒนา แม้ว่าท่านไม่เคยได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาช่างหรือก่อสร้าง แต่ด้วยประสบการณ์ความรู้ที่ได้ติดตัวมาแต่ช่วงสมัยรับราชการทหาร เคยร่วมก่อสร้างบ้านเรือนมาก่อน จึงได้นำเอารูปแบบต่างๆ มาสร้างถาวรวัตถุภายในวัดป้อมแก้ว

กล่าวได้ว่านามหลวงปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้ว เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ งาน พุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นดังไทยทุกรุ่น ต้องมีชื่อของท่านเข้าร่วมพิธีด้วยแทบทุกงาน ทั้งนี้ เนื่องมาจากแรงศรัทธาของประชาชนที่เชื่อกันว่า ชื่อของหลวงปู่เพิ่ม เป็นมงคลนาม ใครที่บูชาวัตถุมงคลที่หลวงพ่อเพิ่มเข้าร่วมปลุกเสก ชีวิตมีแต่เพิ่มขึ้นในทางที่ดีเสมอ

ด้วยอายุขัยที่ล่วงเลยเข้าสู่วัยชราภาพ ท่านจึงเริ่มมีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลียตามธรรมดา

กระทั่งเมื่อเวลา 01.30 . วันจันทร์ที่ 1 .. 2562 ละสังขารอย่างสงบ ด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลธนบุรี

สิริอายุ 93 ปี พรรษา 69

คารวาลัยหลวงพ่อพร้า อัตตสันโต

เป็นข่าวเศร้าในวงการสงฆ์หลวงพ่อพร้า อัตตสันโตหรือพระมงคลวิจิตรเจ้าอาวาสวัดโคกดอกไม้ .ดงคอน .สรรคบุรี .ชัยนาท และที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลดงคอน มรณภาพเมื่อเวลา 17.04 . วันที่ 1 .. 2562 สิริอายุ 96 ปี 7 เดือน พรรษา 76

สร้างความเศร้าสลดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง

เป็นพระเกจิชื่อดัง ได้รับการขนานนามจากผู้ที่เคารพศรัทธาว่าเจ้าตำรับน้ำมนต์บาทเดียว

สิ้นพระเถระ

ด้วยปณิธานที่ตั้งใจเอาไว้แต่ต้นว่า เมื่อได้บวชและเป็นเจ้าอาวาสจะสนับสนุนการศึกษาเด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจน ซึ่งท่านจัดตั้งกองทุนเอาไว้ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้มีโอกาสได้รับการศึกษา รวมทั้งพระภิกษุสามเณร ที่ขาดแคลน ส่งพระภิกษุสามเณรที่สนใจใฝ่การศึกษาเหล่านั้น ไปรับการศึกษาในกรุงเทพฯ บางรายประสบความสำเร็จทางด้านการศึกษาทางโลกและทางธรรมมากมาย โดยอาศัยปัจจัยจากกองทุนการศึกษาที่ท่านจัดตั้งขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีความสนใจด้านวิทยาคม กราบฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ซึ่งเป็นหลวงลุงของท่าน และได้รับความเมตตาถ่ายทอดวิชาให้จนหมดสิ้น หลวงพ่อโต ยังให้ความเมตตาอุปถัมภ์ในการบูรณะวัดโคกดอกไม้ เป็นการช่วยเหลือพระหลานชายของท่านอีกทางหนึ่งด้วย

อีกท่านหนึ่ง ที่ได้ชื่อว่าเป็นพระอาจารย์ ที่ได้มอบสรรพวิชาให้กันมากมายหลายด้าน คือ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม .สรรคบุรี .ชัยนาท

สิ้นพระพรหมเมธาจารย์

พระพรหมเมธาจารย์ (คณิศร์ เขมวังโส) ละสังขารอย่างสงบ ด้วยวัยวุฒิ 90 ปี พรรษา 69 ภายหลังจากเข้ารักษาอาการอาพาธ ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่สุดความสามารถเยียวยาของคณะแพทย์ เนื่องจากชราภาพมาก ทำให้มรณภาพในที่สุด สร้างความเศร้าสลดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง

พระพรหมเมธาจารย์ เป็นพระนักเผยแผ่ธรรม ที่ธำรงวัตรปฏิบัติตามแบบพระสงฆ์สายคณะธรรมยุตแท้ๆ อีกรูปหนึ่ง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุรณศิริมาตยาราม, ที่ปรึกษาแม่กองธรรมสนามหลวง และกรรมการมหาเถรสมาคม

สิ้นพระเถระ

สร้างคุณูปการแด่คณะสงฆ์มากมาย อาทิ งานด้านการเรียนการสอน เป็นกรรมการตรวจประโยคบาลีสนามหลวง และเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำโรงเรียนวชิรมกุฏ มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกทั้งยังเป็นกรรมการกองตำรามูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย

สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม จัดให้มีการสอนนักธรรมชั้นตรีโทเอก และประโยคบาลีชั้นต่างๆ ส่งเสริมพระภิกษุสามเณร ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงฆ์

ด้วยอายุขัยที่สู่วัยชราภาพ สุขภาพไม่แข็งแรงดังเดิม กระทั่งเกิดล้มป่วยอาพาธเป็นประจำ

ท้ายที่สุด มรณภาพ เมื่อเวลา 02.50 . วันที่ 19 .. 2562

ชาวพุทธล้านนาร่ำไห้ อาลัยพระพรหมมงคล

ส่งท้ายปี ด้วยข่าวเศร้า ช่วงกลางดึก เวลา 00.25 . วันศุกร์ที่ 13 .. 2562 พระพรหมมงคล วิ. (หลวงปู่ทอง สิริมังคโล) ถึงแก่มรณภาพอย่างสงบ ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ที่กุฏิวัดพระธาตุศรีจอมทอง สิริอายุ 96 ปี พรรษา 76

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนชั้นเกียรติยศประกอบศพจากโกศแปดเหลี่ยม พระราชทานโกศไม้สิบสอง ฉัตรเครื่องตั้งประดับเป็นเกียรติยศ พระราชทาน พวงมาลาพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และพระราชทานพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 คืน

สิ้นพระเถระ

พระเถระชั้นผู้ใหญ่ของเชียงใหม่ ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระที่เคร่งครัดระเบียบวินัย ใส่ใจการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าแห่งดินแดนล้านนา

ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่, เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร .จอมทอง .เชียงใหม่ และหัวหน้าพระวิปัสสนาจารย์ หนเหนือ กองการวิปัสสนาธุระ

มีความสามารถพิเศษ อันเป็นเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาแห่งล้านนา ในการอ่านเขียนภาษาล้านนา นอกจากนี้ ท่านปฏิบัติหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณร ให้ทุนการศึกษา และอื่นๆ อีกมากมาย ปรากฏผลงานนับไม่ถ้วน

ล้วนแต่สร้างประโยชน์อันทรงค่ามหาศาลแก่ชาวล้านนา

สิ้นหลวงพ่อใหญ่พะเยาพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธัมมปัญโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ .เวียง .เมือง .พะเยา สาธุชนต่างประจักษ์ในผลงานต่างๆ เป็นที่ยกย่องเชิดชูมากมาย และเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนสำหรับพระภิกษุสามเณรรุ่นหลัง รวมทั้งชาวเมืองพะเยาเจริญรอยตาม

สิ้นพระเถระ

เป็นพระเถระที่มีความสามารถพิเศษ เป็นเอกลักษณ์ภูมิปัญญาแห่งล้านนาตะวันออก ในการอ่านเขียนภาษาล้านนา การออกแบบแปลนพระอุโบสถ กุฏิ วิหารแบบล้านนา และศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีล้านนาอย่างแตกฉาน สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นข้อมูลใช้สร้างคุณประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนได้อย่างแพร่หลาย

ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมของตนเอง อันเป็นมรดกล้ำค่า โดยเก็บสะสมวัตถุโบราณต่างๆ มาตั้งแต่ ..2508 เป็นจำนวนมาก ตลอดจนโบราณวัตถุอีกมากมาย อาทิวัตถุโบราณ ประมาณ 1,000 ชิ้น หลักศิลาจารึกหินทราย 30 ชิ้น ตำราคัมภีร์โบราณ สมุดข่อย

อีกทั้ง ได้ปริวรรตแต่งหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความรู้ทั่วไปหลายเรื่อง ประมาณ 25 เรื่อง เช่น ประวัติเมืองพะเยา, ประวัติพญางำเมือง ผู้ครองนครภูกามยาวในอดีต ตำนาน ความเป็นมาต่างๆ

เมื่อวันที่ 12 .. 2562 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เข้ารับการรักษาอาการปอดอักเสบ รวมทั้งมีการติดเชื้อในกระแสเลือด ก่อนละสังขาร เมื่อวันที่ 29 มิ.. 2562 เวลา 20.11 . ที่โรงพยาบาลพะเยา สิริอายุ 102 ปี พรรษา 82

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน