‘จาด-จง-คง-อี๋’ยอดพระเกจิในอดีต

‘จาด-จง-คง-อี๋’ยอดพระเกจิในอดีต – ย้อนกลับไปในยุคสงครามอินโดจีน มีพระเกจิอาจารย์ ชื่อดังอยู่ 4 รูป ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเลื่อมใสศรัทธา มากมาย

วัตถุมงคลของท่านเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะโดดเด่นทางด้านแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เล่าลือกันปากต่อปากเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

พระเกจิอาจารย์นามพยางค์เดียว นิยมเรียกผูกติดกันจาดจงคงอี๋ประกอบด้วย

หลวงพ่อจาด คังคสโร วัดบางกระเบา .ปราจีนบุรี

หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก .พระนครศรีอยุธยา,

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม .อัมพวา .สมุทรสงคราม

หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร วัดสัตหีบ .ชลบุรี

 

หลวงพ่อจาด คังคสโรหรือพระครูสิทธิสารคุณ

พระเกจิเรืองวิทยาคมแห่งวัดบางกระเบา .บ้านสร้าง .ปราจีนบุรี

มีนามเดิมว่า จาด วงษ์กำพุช เกิดเมื่อวันที่ 17 มี.. 2415 ตรงกับวันอังคาร เดือนสี่ ปีวอก แรม 6 ค่ำ ที่บ้านดงน้อย .พนมสารคาม .ฉะเชิงเทรา

อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบ้านสร้าง .ปราจีนบุรี โดยมี พระครูปราจีนบุรี วัดหลวงปรีชากุล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์อ้วน วัดบ้านสร้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์หลี วัดบางคาง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

‘จาด-จง-คง-อี๋’ยอดพระเกจิในอดีต

มีโอกาสศึกษาวิชาจากพระเถระที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น

ในช่วงที่หลวงพ่อจาดออกธุดงค์อยู่ในป่าเป็นเวลาหลายปี ได้พบพระเถระมากมาย อาทิ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ .ชลบุรี, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก .พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง .นครปฐม เป็นต้น

อายุประมาณ 40 ปี เดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดบางกระเบา .บ้านสร้าง .ปราจีนบุรี

ยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา วัตถุมงคลหลวงพ่อจาดได้มีการจัดสร้างกันหลายครั้ง แต่ครั้งที่ยิ่งใหญ่และสร้างกันเป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นในปีพ..2483 ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิทยาคมทั่วประเทศ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลแจกเหล่าทหารหาญ

ได้รับอาราธนาจาก จอมพล .พิบูลสงคราม ให้ร่วมประกอบปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หลวงพ่อจาด สร้างเป็นเหรียญนั่งเต็มองค์ ด้านหลังเป็นพระมหาอุตม์ นั่งอยู่กลางดอกบัว มีทั้งเนื้อเงินลงยาและทองแดง

เกียรติคุณแห่งเหรียญหลวงพ่อจาดประจักษ์ เมื่อเครื่องบินฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิด แต่ไม่มีผู้ใดบาดเจ็บ ซึ่งเกิดปาฏิหาริย์เลื่องลือ จนได้รับสมญานามว่าเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออก

ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุทั่วไป และเป็นที่เคารพนับถือของพระเถระผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ)

มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 .. 2499 สิริอายุ 85 ปี

 

หลวงพ่อจง พุทธสโร แห่งวัดหน้าต่างนอก .พระนครศรีอยุธยา

พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีตช่วงสงครามอินโดจีน

มีนามเดิมว่า จง สำหรับวันเดือนปีเกิดนั้นเนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ล่วงเลยผ่านพ้นมานาน อีกทั้งการบันทึกก็มิได้มีหลักฐานที่เด่นชัด แต่ระบุไว้พอรู้ความว่าเกิดในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี วันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก ตรงกับวันที่ 6 มี..2415

อย่างไรก็ตาม ด้วยเวลานั้นยังไม่มีการใช้ชื่อสกุล จึงไม่มีการระบุชื่อนามสกุลเดิมของท่านไว้

‘จาด-จง-คง-อี๋’ยอดพระเกจิในอดีต

 

ถือกำเนิดในท้องที่ .หน้าไม้ .บางไทร .พระนครศรีอยุธยา ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา

อายุครบอุปสมบทในปีพ..2435 จึงบวชที่พัทธสีมา วัดหน้าต่างใน มี หลวงพ่อสุ่น เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์อินทร์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โพธิ์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ด้วยภูมิธรรมความรู้ อันเกิดจากความวิริยะพากเพียร ทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาของญาติโยมทั้งหลาย ต่อมาเมื่อหลวงพ่ออินทร์สิ้นบุญลง ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกว่างลง

ชาวบ้านต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หลวงพ่อจงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ที่จะเข้ามารับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก ด้วยเป็นพระเถราจารย์ที่มีวิทยาคมแก่กล้า ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ และหลวงพ่อปั้น วัดพิกุล .พระนครศรีอยุธยา

นอกจากนี้ ยังเป็นสหายธรรมกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เพราะมีพระอุปัชฌาย์รูปเดียวกัน

กิตติศัพท์แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง งานปลุกเสกเครื่องมงคลในกรุงเทพฯ ที่จัดพิธีใหญ่ทุกงาน หลวงพ่อจง จะต้องได้รับนิมนต์มาร่วมพิธีด้วยทุกครั้งไป ถือว่าเป็นพระ เถราจารย์ที่ขาดเสียมิได้

ด้วยคุณธรรมอันสูงส่ง ครั้นสมเด็จพระสังฆราช (แพ) จะสร้างเครื่องมงคลครั้งใดต้องมีบัญชาให้นิมนต์มาร่วมปลุกเสกด้วย ทุกครั้งไปมิเคยขาด

วันที่ 19 .. 2508 เวลา 01.55 . มรณภาพด้วยอาการสงบ

 

พระครูวรเวทมุนี หรือ หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร

มีนามเดิมว่า อี๋ ทองขำ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ..2408 ที่ .สัตหีบ กิ่ง .สัตหีบ .ชลบุรี

อายุ 25 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดอ่างศิลานอก โดยมี พระอาจารย์จั่น จันทโส เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า พุทธสโร

ศึกษาพระธรรมวินัย และศาสนพิธีในสำนักพระอุปัชฌาย์ รวม 6 พรรษา ต่อมาศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักของพระครู นิโรธาจารย์ (หลวงพ่อปาน) วัดบางเหี้ย .สมุทรปราการ จนมีความชำนาญในสมถวิปัสสนา จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดอ่างศิลาอีก

‘จาด-จง-คง-อี๋’ยอดพระเกจิในอดีต

พรรษาที่ 11 กลับมาเยี่ยมญาติที่วัดสัตหีบ และในพรรษานั้นเองร่วมมือกับญาติโยมจัดการย้ายสำนักสงฆ์เดิมที่มีอยู่ที่หัวตลาด มาสร้างที่วัดสัตหีบในปัจจุบัน และญาติโยมอาราธนาให้ท่านปกครองวัดสัตหีบ สืบจนสิ้นอายุขัยของท่าน

เป็นพระเถระที่มีศีลาจารวัตรงดงาม มีเมตตาธรรม ปฏิบัติดี เคร่งครัดในพระธรรมวินัย

มีตำนานเล่าขานว่าเมื่อครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพพันธมิตรได้โจมตีฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งอยู่ในน่านน้ำ .สัตหีบ แต่ปรากฏว่าลูกระเบิดที่ทิ้งลงมาจากเครื่องบินไม่ลงมาในพื้นที่สัตหีบแม้แต่ลูกเดียว

มีผู้เห็นว่าในขณะที่เกิดสงครามมีการทิ้งระเบิดจาก เครื่องบินอยู่นั้น หลวงพ่ออี๋นั่งบำเพ็ญจิตตภาวนาอยู่กลางแจ้ง อธิษฐานจิต ทำให้ลูกระเบิดจากเครื่องบินกองทัพพันธมิตร ที่โจมตีฐานทัพเรือสัตหีบ เที่ยวแล้วเที่ยวเล่าไม่ลงมาในพื้นที่สัตหีบเลยแม้แต่ลูกเดียว

ประชาชนชาวสัตหีบจึงเลื่อมใสศรัทธา

ด้านวัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อมากที่สุดในบรรดาเครื่องราง ได้แก่ ปลัดขิก ที่มีชื่อเสียงในด้านมงคล ทำมาค้าขึ้น

วันที่ 20 ..2489 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ เวลา 21.05 . ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 82 ปี

 

หลวงพ่อคง ธัมมโชโต

วัดบางกะพ้อม .อัมพวา .สมุทรสงคราม พระเกจิคณาจารย์แห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

เกิดในสกุล จันทร์ประเสริฐ เมื่อวันที่ 3 เม..2407 ที่ .บางสำโรง .บางคณฑี .สมุทรสงคราม

อายุครบ 20 ปีเข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดเหมืองใหม่ เมื่อ วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนสิงหาคม 2427 โดยมี พระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการจุ้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธัมมโชโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองในธรรม

‘จาด-จง-คง-อี๋’ยอดพระเกจิในอดีต

ศึกษากับพระเถระชื่อดัง อาทิ พระอาจารย์ด้วง ซึ่งเชี่ยวชาญการลบผงวิเศษ, ได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง พระเถระผู้มีวิทยาคมแก่กล้า โดยเฉพาะวิชานะปัดตลอด และศึกษากับหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือก ผู้เชี่ยวชาญพระกัมมัฏฐาน

พรรษาที่ 21 ในปีพ..2448 ชาวบ้านใน .บางกะพ้อม อาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ด้วยตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง ซึ่งในขณะนั้นวัดบางกะพ้อมไม่มีสมภารปกครองวัดและวัดก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม

ฟื้นฟูบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยท่านมีฝีมือในการพัฒนาเป็นทุนเดิม จึงทำให้การสร้างความเจริญให้แก่วัดสำเร็จลุล่วงในเวลาอันสั้น

..2464 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม และแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อวันที่ 6 .. 2486 ขณะที่หลวงพ่อคงอยู่บนนั่งร้านเพื่อตกแต่งพระขนงพระพุทธรูปประธานองค์ใหม่ เมื่อท่านสวมพระเกตุพระประธานแล้วเสร็จท่านเกิดอาการหน้ามืด คล้ายจะเป็นลม แต่มีสติดี เอามือประสานในอิริยาบถนั่งสมาธิจนหมดลมถึงแก่มรณภาพ

คณะศิษย์เห็นนั่งอยู่นานจึงประคองร่างลงมาจากนั่งร้าน จึงรู้ว่าท่านมรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 78 ปี พรรษา 58

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน