หลวงปู่ผาด อภินันโท วัดไร่ .วิเศษชัยชาญ

คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

หลวงปู่ผาด วันอังคารที่ 14 ..2563 น้อมรำลึกวันคล้ายวันมรณภาพ ครบ 6 ปี หลวงปู่ผาด อภินันโท หรือ พระครูมงคลสาธุวัตร อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดไร่ .วิเศษชัยชาญ .อ่างทอง

มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าภาคกลาง

เกิดในสกุลทองฟุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 ..2459 ที่ .วิเศษชัยชาญ .อ่างทอง บิดามารดาชื่อ นายเหนี่ยง และนางแจ๋ว ทองฟู มีพี่น้อง 3 คน

ชีวิตในวัยเด็กค่อนข้างลำบาก ต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัว แต่ยังมีเวลาที่จะศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดยางมณี จนจบชั้น .4 และบวชเป็นสามเณร ที่วัดยางมณี มีหลวงพ่อชวน วัดยางมณี เป็นพระอุปัชฌาย์

ครั้นเมื่อมีจิตใจใฝ่ธรรมะ อยากศึกษาพระปริยัติธรรมชั้นสูงขึ้นไป จึงได้รับความเมตตาจากเจ้าคุณพระรัตนมุนี วัดชีโพน อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับเข้าไว้เป็นศิษย์ในสำนักเรียนวัดชีโพน

ด้วยอุปนิสัยที่เป็นคนพูดน้อย ขยันทำงาน จึงเป็นสามเณรที่ว่านอนสอนง่ายทำการงานตามที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่รักใคร่เมตตาและเป็นศิษย์โปรดอย่างยิ่ง

พระรัตนมุนี นอกจากดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว ยังเป็นศิษย์ในสำนักของหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติการาม อีกด้วย

ครั้นเมื่ออายุครบบวชจึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดยางมณี เมื่อวันที่ 17 ..2481 โดยมีหลวงพ่อปลื้ม วัดช้าง เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อชวน วัดยางมณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อแทน วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดกำแพง จนเมื่อพระมงคลเทพมุนี หรือหลวงพ่อสด จันทสโร แห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ เผยแผ่หลักวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ทำให้วัดในพื้นที่เมืองกรุงเก่าได้ส่งพระภิกษุในสังกัดที่เจ้าคณะปกครองเห็นสมควร ไปรับการฝึกอบรมจากหลวงพ่อสด

หลวงปู่ผาดในขณะนั้น ได้รับการคัดเลือกส่งไปรับการอบรมด้วย โดยจำพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (หรือวัดโพธิ์ ท่าเตียน) เพื่อศึกษาวิชาด้านพระปริยัติธรรมและฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวหลวงพ่อสดด้วย

ทั้งนี้ สมเด็จพระสังฆราช (ป๋า) วัดโพธิ์ ท่าเตียน ได้ทรงอุปถัมภ์หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ อยู่ในขณะนั้น

ปรากฏว่าสามารถปฏิบัติได้ดีและเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่าพระรูปอื่นทั่วไป

ศึกษาวิชากัมมัฏฐาน ตลอดจนอักขรวิธี และพุทธาคมจากท่านเจ้าคุณพระรัตนมุนี แห่งวัดชีโพน เป็นปฐมแล้ว ยังได้เล่าเรียนสรรพตำราจากพระเกจิอาจารย์นามกระเดื่องในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสหธรรมิกกับท่านเจ้าคุณพระรัตนมุนีอีกด้วย

..2495 เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไร่ว่างลงจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และเปิดสำนักอบรมวิปัสสนาชั้นสูงขึ้นด้วย

อีกทั้งเวลามีงานสำคัญเป็นงานประจำปีของวัดไร่ หลวงปู่ผาด ประกอบพิธีปรุงยาหุงว่าน แจกจ่ายให้ประชาชนเป็นประจำทุกปี ว่ากันว่าตำราว่านยาที่ท่านปรุงนี้เป็นตำรายาของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค แต่ปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายว่าวิชาปรุงยาเหล่านี้ไม่มีใครได้รับถ่ายทอดไว้เลย รวมทั้งประเพณีปรุงยา หุงว่านก็ไม่มี ต่อไป ภายหลังจากสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานของวัดไร่ได้ปิดตัวลง เนื่องจากความชราภาพของหลวงปู่ผาด

อย่างไรก็ตาม หลวงปู่ผาดสร้างคุณูปการแก่วัดไร่เป็นอันมาก เช่น ตั้งสำนักอบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฯลฯ งานด้านการสงเคราะห์ญาติโยม และด้านงานสาธารณูปโภค การก่อสร้างถาวรวัตถุของวัด อาทิ สร้างอุโบสถขนาดกลาง 1 หลัง อุปถัมภ์โรงเรียนวัดศาลาดิน บูรณะหอสวดมนต์, ศาลาการเปรียญ สร้างศาลาบำเพ็ญกุศล เมรุ ห้องพักผู้ปฏิบัติธรรม และอีกมากมาย

ด้านเครื่องรางหรือวัตถุมงคลที่หลวงปู่ผาดท่านสร้าง ล้วนแล้วแต่ทรงคุณอันวิเศษ และเป็นที่เสาะแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องเป็นอย่างมาก อาทิ พญาครุฑ, พระนารายณ์, ตะกรุดมหาจักรพรรดิ, พระพรหมบูชา และอื่นๆ อีกมากมาย

ด้วยล่วงเข้าสู่วัยชรา สุขภาพร่างกายย่อมเสื่อมถอยไปตามวัย สุดท้าย มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 14 ..2557

สร้างความเศร้าสลดอาลัยแก่บรรดาคณะศิษย์เป็นอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ วัดไร่ .วิเศษชัยชาญ .อ่างทอง ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพภัตตาหารและร่วมโรงทาน วันที่ 14 ..2563 ถวายเพลพระภิกษุสามเณร จำนวน 110 รูป ในพิธีบำเพ็ญกุศล ครบรอบวันมรณภาพ ปีที่ 6

สอบถามโทร.09-2849-2002

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน