รำลึก 131 ปี-ชาตกาลหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม : อริยะโลกที่ 6

รำลึก 131 ปี-ชาตกาลหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม – วันจันทร์ที่ 27 ..2563 น้อมรำลึก ครบ 131 ปี ชาตกาลหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมวัดป่าสาลวัน .นครราชสีมา หนึ่งในพระป่ากัมมัฏฐาน ในฐานะแม่ทัพธรรมสาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่สาธุชนให้ความเลื่อมใสศรัทธายิ่ง

นามเดิมว่า สิงห์ บุญโท เกิดวันที่ 27 ..2432 วันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู ที่บ้านหนองขอน .อำนาจเจริญ .อุบล ราชธานี บิดาชื่อ อ้วน บุญโท เป็นข้าราชการหัวเมืองลาวกาวลาวพวน มีหน้าที่จัดการศึกษาและการพระศาสนา มารดาชื่อ นางหล้า บุญโท

รำลึก 131 ปี-ชาตกาลหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

..2446 บรรพชา ที่วัดบ้านหนองขอน .หัวทะเล .อำนาจเจริญ .อุบลราชธานี

อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดสุทัศน์ .อุบล ราชธานี เมื่อวันที่ 30 ..2452 มีสมเด็จ พระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) สมัยเมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่พระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลภาคอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ฝึกอบรมสมาธิภาวนากัมมัฏฐานอยู่กับหลวงปู่มั่น

เป็นพระที่สามารถให้อุบายธรรมแก่บรรดาลูกศิษย์ โดยไม่ว่าผู้ใดติดขัดปัญหาธรรมแล้ว จะแนะนำอุบายให้พิจารณาจนกระจ่าง บางโอกาสต้องรับภาระหน้าที่แทนหลวงปู่มั่น นับว่าหนักหนาพอสมควรทีเดียว

ต่อมา หลวงชาญนิคม ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเลื่อมใสในพระธุดงค์กัมมัฏฐานมาก มีประสงค์จะฟื้นฟูจ.นครราชสีมา ให้เป็นศูนย์รวมพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จึงได้นิมนต์หลวงปู่สิงห์ไปช่วยสร้างวัดป่าสาลวัน เพื่อเป็นวัดป่าตัวอย่างของฝ่ายวิปัสสนาธุระ

หลวงปู่สิงห์ มีโอกาสพบกับสหธรรมิก ซึ่งต่อมาเป็นพระเถระผู้ใหญ่แห่งจังหวัดสุรินทร์ คือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านเกิดชอบอัธยาศัยไมตรีของหลวงปู่ดูลย์ จึงจัดการช่วยเหลือพระสหาย ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติกนิกาย เป็นผลสำเร็จเมื่อปี ..2461

..2463 เดินธุดงค์ผ่านมาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านนาสีดา .อุดรธานี ได้พบกับ เด็กหนุ่มคนหนึ่ง มีความเคารพนับถือพระอาจารย์สิงห์มากเป็นพิเศษ เข้ามารับใช้อุปัฏฐากทุกสิ่งอย่าง เด็กหนุ่มคนนั้นคือ หนุ่มเทสก์ เรี่ยวแรง ซึ่งก็คือ พระราชนิโรธรังสี (หลวงปู่เทสก์เทสรังสี) ในขณะนั้นมีอายุ 16 ปี

มองเห็นบุญญาธิการหลวงปู่เทสก์ แต่แรกพบ เมื่อคณะธุดงค์จะออกจาก วัดบ้านนาสีดา หลวงปู่เทสก์ (ในขณะนั้น คือ หนุ่มเทสก์ เรี่ยวแรง) จึงขอติดตาม พระอาจารย์ไปด้วย

หลวงปู่สิงห์ ให้ไปขออนุญาตบิดามารดาเสียก่อน และก็ได้เป็นไปตามสภาพกุศลเกื้อกูลทุกประการ พาคณะธุดงค์เดิน ตัดตรงไปทาง .ท่าบ่อ .หนองคาย ได้พักจำพรรษาปักกลดในบริเวณป่าช้าแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน กลายเป็นแหล่งปฏิบัติสมาธิภาวนาธรรมชื่อว่าวัดป่าอรัญญวาสีท่านได้พร่ำสอนลูกศิษย์รัก ให้รู้จักเจริญพรหมวิหารธรรม ต่อมามอบหมายให้พระอาจารย์ลุย เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาขึ้นที่วัดบ้านเค็งใหม่ .อุบลราชธานี

ในการทดแทนพระคุณอันสูงล้ำของบิดามารดา หลวงปู่สิงห์ เดินทางไปโปรดบิดา มารดา จนมีจิตใจแจ่มใสเบิกบานในธรรม จึงให้บิดา มารดา เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยการแนะนำไปทีละน้อยๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของบุตรพึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง

วันที่ 5 ..2500 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนาม พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์

วันที่ 8 ..2507 เวลา 10.20 . มรณภาพด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ที่วัดป่าสาลวัน สิริอายุ 73 ปี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน