พระหลวงพ่อพรหม ซุ้มระฆัง

คอลัมน์ รอบด้านวงการพระ

พระหลวงพ่อพรหม ซุ้มระฆัง – ผู้ที่เห็นเด็ดขาดลงไปแล้ว ว่าไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็นนั่นแหละ กลับเป็นผู้ที่ทำอะไรได้ดีกว่าผู้ที่เอาอะไร เป็นอะไรเสียเรื่อย และกลับจะเป็นผู้ปฏิบัติถูกต่อสิ่งต่างๆ อย่างแท้จริง” สารธรรมมงคล ท่านพุทธทาสภิกขุ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี…●

 

“หลวงปู่สงฆ์ จันทสโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ต.บางลึก อ.เมือง จ.ชุมพร วัตถุมงคลมีหลายรุ่นหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่อง, เหรียญรูปเหมือน, เครื่องราง, ลูกอม, ยาฉุน ฯลฯ…●

ที่โดดเด่นเป็นที่เลื่องลือ คือ “พระกริ่งเจ้าฟ้า หลวงปู่สงฆ์ ปี 2519” ที่ระลึกสร้างฌาปนสถาน วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย พระกริ่งเจ้าฟ้าหลวงปู่สงฆ์ ปี 2519 ออกแบบและแกะพิมพ์โดยช่างฝีมือชั้นครู อ.เกษม มงคลเจริญ ซึ่งได้นำพระกริ่งชินบัญชรของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง เป็นต้นแบบ ประการสำคัญคือ นับเป็นพระกริ่งรุ่นแรกและรุ่นเดียว ทุกองค์มีการตอกโค้ดอย่างชัดเจน ปัจจุบันหาเช่ายาก…●

 

ในปีพ.ศ.2555 วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ บูรณะหลังคาอุโบสถ เปลี่ยนกระเบื้องใหม่ พระครูนิวิฐปัญญากร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน นำเอากระเบื้องหลังคาโบสถ์มาจัดสร้าง “พระหลวงพ่อพรหม ซุ้มระฆัง” โดยมี พระอาจารย์ชนินทร์ สำนักปฏิบัติธรรมรัศมีพรหมโพธิโก อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ (ศิษย์คนสุดท้ายของหลวงพ่อพรหม) ช่วยออกแบบพิมพ์พระ ลงอักขระขอม เลขยันต์ และเป็นเจ้าพิธี…●

ลักษณะ พระหลวงพ่อพรหม ซุ้มระฆัง ปี 2555 เป็นพระพิมพ์สี่เหลี่ยม เนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์ ด้านหน้ามีขอบรอบ ตรงกลางมีรูปนูนหลวงพ่อพรหมนั่งสมาธิเต็มองค์ มีระฆังครอบ ที่ขอบระฆังด้านล่างมีอักษรไทย “หลวงพ่อพรหม ถาวโร” ส่วนด้านหลังไม่มีขอบ มีอักขระขอมตัวลึก ลักษณะเป็นยันต์สิบ ด้านล่างมีอักษรไทย “ต.พรหมนิมิต อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์” ประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดยมีพระเกจิดังร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต…●

ลักษณะของพระผงสร้างด้วยมวลสาร 108 ผสมเกศาครูบาผัด เป็นพระผงผสมมวลสาร สีขาว ด้านหน้าพระผงเป็นรูปนูนต่ำครูบาผัดนั่งขัดสมาธิ มีหน้าตักกว้าง 2 เซนติเมตร ด้านล่างใต้รูปเหมือนที่ฐานเขียนคำว่า “ครูบาผัด” ด้านหลังพระผงมีอักษรคาถาล้านนา เขียนคำว่า “ก๋าทุง” และระบุชื่อ “วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ๒๕๓๔”…●

เมื่อครั้งที่ครูบาผัดเป็นเจ้าอาวาส มีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมากเดินทางเข้ากราบไหว้อย่างไม่ขาดสาย กระทั่ง ครูบาน้อย เตชปัญโญ ศิษย์เอก เล็งเห็นว่ากุฏิมีสภาพคับแคบจึงจัดสร้างกุฏิหลังใหม่ถวาย ก่อนเริ่มบอกบุญ มีประชาชนร่วมบริจาคทรัพย์สินเงินทองเป็นจำนวนมาก ครูบาผัดจึงได้สร้างพระผงวัตถุมงคลไว้มอบเป็นที่ระลึก คือ “พระผงครูบาผัด 108 ผสมเกศา” จำนวนกว่า 5,000 องค์ เป็นวัตถุมงคลยอดนิยมอีกชิ้นของเชียงใหม่…●

อริยะ เผดียงธรรม

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน