เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

เพื่อบำรุงเสนาสนะวัดโพธิ์ชัย

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้ – “สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้า มีแต่มุ่งตรงต่อการฝึกฝนอบรมจริง เพื่อมุ่งตรงต่อความปฏิบัติชอบ เพื่อกำจัดกิเลส เพื่อบรรลุมรรคผล นิพพานเท่านั้น ส่วนอื่นๆ เป็นผลพลอย ได้” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เหรียญพระพุทธชินสีห์ หรือเรียกว่า “ปู่เหรียญ” สร้างปีพ.ศ.2440 และเป็นเหรียญพระพุทธที่สร้างขึ้นเหรียญแรกของไทย จัดสร้างโดยวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นที่ระลึกในโอกาสที่เสด็จฯ กลับจากประพาสยุโรป

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

เหรียญรุ่นนี้มี 2 ลักษณะ คือ เหรียญทรงกลม หูเชื่อม มีรูปใบโพธิ์อยู่ตรงกลาง กับเหรียญรูปใบโพธิ์ ซึ่งพบเห็นกันค่อนข้างมาก และนิยมเล่นหากัน ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงใบโพธิ์ ไม่มีก้าน ไม่มีรูคล้องเหรียญ ขอบข้างเลื่อย นับเป็นเหรียญพระพุทธปฏิมากรที่เก่าแก่ที่สุด

ช่วงปลายปี พ.ศ.2562 คณะศิษย์ทีมงาน “มหามงคลพระใหม่” ขออนุญาต หลวงปู่แสง จันทวังโส วัดโพธิ์ชัย ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพญาเต่าเรือน รุ่นชนะจน ปลดหนี้ เพื่อจัดหารายได้บำรุงเสนาสนะภายในวัด ด้านหน้าเหรียญ บริเวณหัวเต่า เท้าเต่า และหางเต่ามีอักขระยันต์กำกับไว้ ถัดจากเส้นสันนูนบางวงรอบชั้นในสลักอักขระยันต์โดยรอบ วงรอบถัดมาด้านบนสลักคำว่า ชนะจนปลดหนี้

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

ด้านข้างซ้ายตามแนวตั้งสลักตัวหนังสืออ่านว่า หลวงปู่แสง จนฺทวํโส ด้านขวาสลักคำว่า วัดโพธิ์ชัย อ.นาแก จ.นครพนมตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนพระสังกัจจายน์ยิ้ม ด้านล่างสลัก ๒๕๖๒ ด้านหลังเหรียญ ที่หัวเต่าและเท้าเต่า 4 ข้างสลักอักขระกำกับไว้ ถัดจากเส้นสันนูนขอบเหรียญสลักอักขระยันต์โดยรอบ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือน ด้านข้างสลักอักขระยันต์ ด้านล่างสลักคำว่า มั่งมี ศรีสุข มียันต์ ตัวนะ ปิดหัวท้าย ที่หางเต่าสลักเลขไทย ๑๐๘ สอบถาม โทร.08-2594-4996, 08-6993-8439

“วัดบ้านประปุนราษฎร์บำรุง” ต.หัวเสือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ กำลังก่อสร้างอุโบสถผู้ที่ร่วมบริจาคทรัพย์จะได้รับวัตถุมงคล “เหรียญนาคปรก มหามงคล ทองหนึ่ง” ได้รับเมตตาจาก สมเด็จพระมหา รัชมงคลมุนี (ธงชัย ธัมมธโช) วัดไตรมิตวิทยาราม ประกอบพิธีพุทธาภิเษกมาหลายวาระ สมทบทุนสร้างอุโบสถ ประกอบด้วย เหรียญทองคำ เหรียญเงิน เหรียญนวะโลหะ และเหรียญทองแดง มอบให้เป็นที่ระลึก

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญ เป็นพระพุทธ มหานวนาคปฏิมากรตรีโลกเชษฐ์สิทธารถ (พระนาคปรก) ล้อมด้วยอักขระขอม ด้านล่างองค์พระ เขียนคำว่า มหามงคลด้านหลังเหรียญเป็นพระนารายณ์ทรงครุฑประทับ พระราหู ด้านล่างเหรียญเขียนคำว่า ทองหนึ่ง บรรทัดต่อมาเขียนคำว่า พระพรหมมังคลาจารย์ เจ้าคุณธงชัย พ.ศ.2560 สอบถามที่เจ้าอาวาสวัดประปุนราษฎร์บำรุง โทร.08-7021-3467, 08-1932-8067

หากกล่าวถึงวัตถุมงคลของ “หลวงปู่สีดา ปัญญาธโร” อดีตเจ้าอาวาสวัดโสมนัสประดิษฐ์ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ที่นักสะสมในพื้นที่กำลังให้ความสนใจ คือ เหรียญรูปเหมือนรุ่นปี 2553 จัดสร้างขึ้นเนื่องในวาระสิริอายุ 90 ปี มีเนื้อทองแดง ประมาณ 2,000 เหรียญ ลักษณะคล้ายเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สีดาครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านขวาเหรียญโค้งขึ้นไปด้านบนวนไปด้านซ้าย เขียนคำว่า “วัดโสมนัสประดิษฐ์ จ.มหาสารคาม” ด้านล่างจากขวาไปซ้าย เขียนคำ “พระมงคลสารคุณ หลวงปู่สีดา” ส่วนด้านหลังเหรียญ เป็นอักขระยันต์ นะโมพุทธายะ ใต้ยันต์เขียนเลข ไทย“๒๕๕๓” ขอบโค้งด้านล่างใต้ยันต์ เขียนคำ “ฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๐ พรรษา” เป็นอีกหนึ่งเหรียญที่มาแรงในพื้นที่

“หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม” พระสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าอรัญญวิเวก ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พ.ศ.2537 ลูกศิษย์ของหลวงปู่ตื้อ คือ พระ จันทูปมาจารย์ หรือ หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม เจ้าอาวาส วัดศรีวิชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ หลวงปู่ตื้อ ใช้เวลาก่อสร้างยาวนาน 15 ปีแล้ว เสร็จในปี พ.ศ.2552 ในการนี้จัดสร้าง “เหรียญหลวงปู่ตื้อ รุ่นฉลองพิพิธภัณฑ์” ที่ระลึกฉลองพิพิธภัณฑ์

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

เหรียญเต่าชนะจนปลดหนี้

ลักษณะเป็นเหรียญกลม ไม่มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญสีเส้นสันนูนรอบขอบเหรียญ ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่ตื้อเต็มองค์ ห้อยลูกประคำนั่งท่าขัดสมาธิบนอาสนะด้านล่างสลักตัวหนังสือนูนคำว่า “หลวงปู่ตื้ออจลธมฺโม” ด้านหลังเหรียญ มีเส้นสันขอบนูนหนา คั่นด้วยจุดไข่ปลาและวงเส้นทรงกลมอีกชั้น

ถัดไปมีลวดลายคล้ายกลีบบัว มีวงเส้นบางคู่รอบตัวหนังสือ ในวงเส้นสลักตัวหนังสือนูนจากซ้ายไปขวาช่วงบนคำว่า “รุ่นฉลองพิพิธภัณฑ์ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๒” ช่วงล่างสลักคำว่า “วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม” ในวงเส้นตรงกลางเหรียญ มีลายเส้นคล้ายตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นอีกเหรียญที่น่าเก็บ สะสมไว้

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติอนุมัติเห็นชอบให้จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 2 แห่ง คือ 1.สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 28 ตั้งอยู่ที่ วัดป่าดอยธรรมประทีป ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

โดยมีพระครูวิจารณ์ศุภวัตร เป็นเจ้าสำนัก 2.สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 29 ตั้งอยู่ที่วัดป่าแดด ต.ป่าแดด อ.เมือง จ.เชียงใหม่โดยมีพระครูปลัดพยุงศักดิ์ ธีรธัมโม เป็นเจ้าสำนัก

อริยะ เผดียงธรรม

[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน