เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2 – “ถ้าหากเราเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่เราไม่ดี เราไปตักบาตรพระ ล้านครั้ง ไม่เท่าเรายื่นอาหารให้คุณพ่อคุณแม่เรารับประทานเพียงครั้งเดียว” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด ธนบุรี

หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด (วัดพุทธบูชา) เขตบางมด กรุงเทพฯ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เหรียญหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2 จัดสร้างในปีพ.ศ.2496 มีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือ พิมพ์งูใหญ่ หรือพญานาคใหญ่ และพิมพ์งูเล็ก หรือพญานาคเล็ก ลักษณะเป็นเหรียญปั๊ม มีหูในตัว ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปเหมือน หันหน้าตรง ข้างบนเป็นรูปงู หรือพญานาคคู่ ด้านล่างใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “โอภาสี”

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ ข้างบน จารึกตัว “อ” รัศมี ย่อมาจากชื่อของหลวงพ่อโอภาสี และมีรูปงู หรือพญานาคคู่ ด้านล่างใต้ยันต์เขียนตัวเลขไทยว่า “๒๔๙๖”

ซึ่งเป็นปีที่จัดสร้าง มีด้วยกัน 4 เนื้อ ได้แก่ เหรียญเนื้อทองคำ, เหรียญเนื้อนาก, เหรียญเนื้อเงิน และเหรียญ เนื้อทองแดง เป็นเหรียญที่สร้างจำนวนน้อย และมักพบใน ย่านบางมดเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชาวสวนรุ่นเก่า

หลวงปู่ถิน สารานุโม อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดงเมืองน้อย ต.ดงเมือง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ทั้งนี้ วัตถุมงคลที่ ได้รับความนิยมคือ เหรียญที่จัดสร้างขึ้นในปีพ.ศ.2520 ที่ระลึกในงานผูกพัทธสีมาอุโบสถ จัดสร้างเป็นเหรียญกะไหล่เงิน กะไหล่ทอง และทองแดงรมดำ สร้าง 5,000 เหรียญ

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

ลักษณะเป็นเหรียญกลมยกขอบมีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญมีลายกนกที่สวยงาม ตรงกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนหลวงปู่ถิน ครึ่งองค์ บริเวณใต้รูปเหมือนเขียนว่า “หลวงพ่อพระครูนิเทศธรรมโกศล” ด้านหลังเหรียญ จากด้านขวาโค้งขึ้นไปทาง

ด้านซ้ายเขียนว่า “ที่ระลึกในงานฝังลูกนิมิต วัดดงเมืองน้อย” และจากด้านขวาโค้งลงไปทางด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านซ้าย เขียนว่า “ต.ดงเมือง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม” บริเวณกลางเหรียญเป็นยันต์อักขระพระเจ้าห้าพระองค์ ด้านบน ปิดด้วยอุณาโลมสามตัว จัดเป็นเหรียญยอดนิยมในพื้นที่ อีกเหรียญ

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

เมื่อสมัย 40-50 ปีก่อน แถบชายแดนไทย-เขมรภาคตะวันออก ไม่มีใครไม่รู้จัก “หลวงพ่อเอีย กิตติโก” วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี วัตถุมงคลสุดยอดปรารถนาคือ เหรียญรุ่นแรก จัดสร้างในปีพ.ศ.2502 ที่ระลึกฉลองตราตั้งพระอุปัชฌาย์ ปี 2502

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเอียครึ่งองค์หันหน้าตรง มีตัวหนังสือด้านบนเขียน ว่า “หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์เอีย กิตติโก” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์ “อะ” ล้อมด้วยวงกลม 3 ชั้น ด้านบนมีอุณาโลมเรียกว่า “นะ อะระหัง” เป็นยันต์ครู ซึ่งหลวงพ่อเอียศึกษามาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท นักนิยมสะสมพระเครื่องกล้าสู้กันถึงหลักแสน

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

“พระศรีอริยเมตไตรย” ประดิษฐานอยู่ที่วัดไลย์ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมาหลากหลายรุ่น นับแต่ปีพ.ศ.2460 สร้างเหรียญปั๊มพระศรีอาริย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคที่ หลวงพ่อสุ่น พุทธสโร เป็นเจ้าอาวาส (พ.ศ.2432-2471) ครั้นเมื่อ พระครูสุจิตธรรม ธัช (สาย สุจิตโต) เป็นเจ้าอาวาสวัด (พ.ศ.2483-2521) ก็ดำเนินการสร้างอีกครั้ง

ที่ได้รับความนิยมคือ เหรียญปั๊ม พระศรีอาริย์ ปีพ.ศ.2467 มีหลายแบบพิมพ์ หลากเนื้อ ทั้งทองแดงกะไหล่ทอง ทองเหลือง และเนื้ออะลูมิเนียม ส่วนเนื้อเงินก็มีบ้างเล็กน้อย ลักษณะเป็นพิมพ์รูปใบเสมา มีหูในตัว ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระศรีอาริย์ประทับนั่ง เหนืออาสนะตั่งสามขา

มีอักษรไทยเบื้องล่างเหรียญว่า “ที่ระฤก พระศรีอาริย วัดไลย์” ใต้หูเหรียญมีอักขระขอมว่า “พุท ธะ สัง มิ” ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์สี่เหลี่ยมขมวดมุม แบ่งตารางเป็น 25 ช่อง บรรจุอักขระขอมเอาไว้ ใต้ยันต์เป็น ปีที่สร้างเหรียญ คือ “พ.ศ.๒๔๖๗” เป็นอีกเหรียญเก่าที่ได้ รับความนิยม

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

“พระวชิรสารโสภณ” หรือ หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ วัดหงษ์ทอง ต.สลกบาตร อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร เหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ.2499 ลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยม มีหูห่วง เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเหรียญ

ตรงกลางเป็นรูปเหมือน หน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ที่ระฤก ในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๙” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลาง เป็นอักขระยันต์

“พระเทพวิทยาคม” หรือ “หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ” วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมาวัตถุมงคลมีมากมายหลายประเภท ซึ่งล้วนได้รับความนิยมและแสวงหาทั้งสิ้น อีกเหรียญหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันคือ “เหรียญรุ่นสร้างบารมี ปี 2519”

จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะ และเนื้อทองแดง รวมทั้งหมดกว่า 3,000 เหรียญเท่านั้น ส่งให้ค่านิยมพุ่งสูงขึ้นตามมา เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นสร้างบารมี ปี 2519

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่น 2

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อคูณนั่งเต็มองค์ มีอักขระจารรอบครอบแก้ว ด้านล่างจารึกอักษรไทยว่า “หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ” ด้านหลังเหรียญมีอักขระยันต์อยู่ตรงกลาง ด้านบนเขียนว่า “วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา”

ด้านล่างเขียนว่า “รุ่นสร้างบารมี ๒๕๑๙” มีการตอกโค้ดกำกับด้าน หน้า มี 2 แบบ ซึ่งเป็นอักษรย่อของ “คูณ ปริสุทโธ” คือ แบบที่ 1 “คปร” ใช้ตอกในเหรียญเนื้อเงินและเนื้อทองแดง แบบที่ 2 “คป” ใช้ตอกในเหรียญเนื้อนวโลหะ ปัจจุบันหายากและมีราคาแพง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน