วัดอุทยาน นนทบุรี จัดงานประเพณี อุ้มบาตรเข้าวัด

วัดอุทยาน นนทบุรี จัดงานประเพณี “อุ้มบาตรเข้าวัด” ท่ามกลางมาตราการการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

“พระครูนนทมงคลวิศิษฐ์ ดร.” หรือ พระอาจารย์ศรี โอภาโส เจ้าอาวาสวัดอุทยาน ต.บางขุนกรอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เปิดเผยว่า ทางวัดได้ร่วมบุญประเพณี “อุ้มบาตร เข้าวัด” ตามโครงการ “คนละ 1 บาตร บาตรละ 1 คน สร้างความสามัคคี”

โดยญาติโยมที่จะร่วมทำบุญได้มารับบาตรพระออมสินจำลองขนาดเล็กจากทางวัด ไปตั้งแต่ช่วงปลายปี 62 และนำบาตรกลับมาเปิดที่วัดในวันอาทิตย์ที่ 14 มิ.ย.63 ในเวลา 10.09 น. “เปิดบาตร เปิดใจ ดูบาตร ดูใจ”

พระครูนนทมงคลวิศิษฐ์ ดร. กล่าวว่า ประเพณีอุ้มบาตรเข้าวัดนี้ เพื่อจ้องการให้ญาติโยม เข้าวัด ให้มีศีล สามาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าของมนุษย์ ศีลถือว่าเป็นแม่บทแม่แผน ที่ทำให้มนุษย์เข้าถึงแก่นธรรม อันแท้จริงและบรรลุถึงความสำเร็จ มีศีลรักษาทรัพย์สมบัติ รักษาหน้าที่การงานให้สำเร็จประโยชน์สุขทุกประการ “มีศีลอย่างเดียว สำเร็จหลายอย่าง”

แก่นแท้แห่งธรรมของพระพุทธศาสนา ต้องมีศีลเป็นตัวกำหนด หลวงปู่เพิ่ม อดีตเจ้าอาวาส วัดอุทยาน มักถามญาติโยม ที่มาหาอยู่เสมอว่าโยมมีศีลหรือยัง ถ้าศีลไม่มีสิ่งดีๆจะเกิดขึ้นไม่ได้ ธรรมแท้ๆเกิดขึ้นจากการมีศีล ทุกประการ

สำหรับการอุ้มบาตรเวียนโบสถ โดย คุณพิมพ์นรี โหตะไวทยากร ประธานในพิธี ซึ่งถือเป็นครั้งแรกใน พุทธศาสนา ที่ญาติโยมได้อุ้มบาตร ประกาศนำพาพุทธศาสนา ให้อยู่และเป็นปรากฏการครั้งแรกที่ญาตโยมอุ้มบาตร เวียนโบสถ เพื่อเป็นการนำพา ส่งเสริม ระบบความคิด ชาวพุทธ

ทั้งนี้ทางวัดได้มีมาตราการดูแลความปลอดภัยอย่างดี โดยจัดงานในพื้นที่โล่งแจ้ง มีการถ่ายเทอากาศได้ดี มีเจ้าหน้าที่ของวัดกว่า 10 คน ที่อำนวยความสะดวก ตามมาตราการควบคุมหลัก ของกระทรวงสาธารณะสุข อย่างเคร่งครัด 5 อย่าง คือ จัดให้มีพื้นที่เฉพาะบุคคลที่ห่างกัน ผู้ที่เข้าร่วมงานต้องใส่แมสค์ (หน้ากากอนามัย) ทุกคน มีเจลแฮลกอฮอล์ ทั่วบริเวณงาน จัดจุดล้างมือไว้ 3 จุด แนะนำให้ล้างมือบ่อยๆ และจะไม่ให้อยู่กันในพื้นที่แออัด เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

วัดอุทยาน สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2200 ในสมัยอยุธยา เดิมที่บริเวณแถวนี้เข้าใจกันว่าเป็นที่ส่วนของกษัตริย์สมัยพระเจ้าอุ่ทองที่เสด็จหนีโรคร้ายมาประทับในพื้นที่นี้ สำหรับวัดอุทยานก็น่าจะเป็นสถานที่อันเป็นอุทยานในสมัยนั้น เมื่อโรคร้ายระงับ กษัตริย์ทรงเสด็จกลับแล้ว จึงได้มีการจัดสร้างวัด และใช้นามตามลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งวัด ก็คือส่วนของอุทยาน จึงได้ชื่อว่า วัดอุทยาน ต่อมามีการบูรณะปฏิสังขรณ์ได้เริ่มมีมาอย่างจริงจังหลังจาก พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา

เจ้าอาวาสวัดอุทยานนูปแรกคือ หลวงปู่เพิ่ม เป็นพระเถระผู้ใหญ่ ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนในพื้นที่มาก ร่ำลือว่า แม่ค้าพ่อค้าที่มาตักบาตร หลวงปู่เพิ่มมอบแผ่นทอง 1 แผ่นให้ไปติดหัวเรือ ปรากฏว่า ทำมาค้าขายดีขึ้นจนร่ำรวยไปตามกัน


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน