วันศุกร์ 25 ส.ค. กำเนิดพระพิฆเนศ วันคเณศจตุรถี พิธียิ่งใหญ่วัดไผ่ล้อม ปลุกเสกมงคลวัตถุแห่งปี2560 พิฆเนศดาวทอง ดาวแห่งความสำเร็จสมปรารถนา

ปัจจุบันกระแสการบูชาพระพิฆเนศในประเทศไทย ได้รับความนิยมเคารพบูชา จากผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นจำนวนมาก

คนส่วนใหญ่ให้ความนบนอบ กราบไหว้พระพิฆเนศ เนื่องเพราะต่างนับถือยกให้เป็นเทพแห่งความสำเร็จ ความสมหวังในชีวิต โดยเฉพาะเรื่องหน้าที่การงาน สติปัญญา โชคลาภ “รวมทั้ง ขจัดปัญหาอุปสรรค ทั้งหลายทั้งปวง” ดีนักแล

ฉะนั้นจึงทำให้มีผู้คนทุกสาขาอาชีพให้ความสำคัญต่อองค์พระพิฆเนศอย่างกว้างขวาง ไม่เฉพาะแต่เหล่าดาราศิลปิน หรือผู้ประกอบอาชีพทางศิลปกรรมเท่านั้น

นอกจากนี้ พระพิฆเนศ ยังเป็นเทพที่มีการสร้างรูปเคารพมากที่สุด มากกว่า เทพองค์อื่นๆ ที่ชาวโลกรู้จัก และมีผู้สักการบูชามากที่สุด โดยเฉพาะชาวอินเดีย และชาวเอเชียเกือบทุกประเทศ

พระพิฆเนศ มีรูปลักษณ์ที่แปลกแตกต่างไปจากเทพองค์อื่นๆ ด้วยลักษณะที่มีกายเป็นมนุษย์ เศียรเป็นช้าง เรียกขาน คชานนท์ มีงาข้างเดียว หูยาน พระวรกายสีแดง สีขาว สีเหลือง นุ่งห่มภูษาแดง มี 4 กร พระหัตถ์หน้าขวาถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายถือหอยสังข์ พระหัตถ์หลังขวาถือตรี พระหัตถ์ซ้ายถือบาศ (บ่วง) พาหนะคือ หนูมีพาหนะบริวาร คือ หนู นามว่า มุสิกะ

และการที่ทรงขี่หนู หมายถึงชัยชนะของแสงอาทิตย์ ขจัดความมืดให้หมดสิ้น ปราศจากอุปสรรค รอบรู้ปราดเปรื่อง เป็นเทพประจำเรือน ประทานความอุดมสมบูรณ์ คุ้มครองป้องกันสิ่งชั่วร้ายในจักรวาล

กำเนิดของ พระพิฆเนศ มีความเป็นมาแตกต่างกันหลายกระแส หลายแง่มุม รวมทั้ง ปาง ของพระพิฆเนศก็มีมากมาย

ตำราส่วนใหญ่บอกว่า พระพิฆเนศ มีทั้งหมด 32 ปาง แต่ในปัจจุบันมีมากกว่านั้น ตามแต่จินตนาการของศิลปินผู้ปั้นแต่ง ซึ่งมีหลายเชื้อชาติ รวมทั้งศิลปินในเมืองไทย ก็มีการออกแบบแตกต่างกันไปอีกด้วย

วันสำคัญในการบูชาพระพิฆเนศ ที่ยึดถือกันมาช้านาน คือ วันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเป็นวันกำเนิดของพระพิฆเนศ หรือที่เรียกว่า “วันจตุรถี” แต่การบูชาโดยทั่วๆ ไปนั้น บางคนจะทำกันในวันอังคาร เพราะว่า พระพิฆเนศ เป็นเทพประจำวันอังคาร เชื่อกันว่าท่านจะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ เพื่อรับทราบเรื่องราวร้องทุกข์ของผู้ศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่าน

ในห้วงวันเวลาดังกล่าวนี้ ที่ประเทศอินเดีย จัดงานบูชาองค์พระพิฆเนศอย่างครึกครื้น ซึ่งถือเป็นงานเทศกาลอันยิ่งใหญ่ประจำปีก็ว่าได้ โดยเฉพาะที่เมืองมุมไบ

กล่าวสำหรับ เทศกาลคเณศจตุรถี นับเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการบูชาพระพิฆเนศ ซึ่งถือว่าเป็นวันกำเนิดของพระพิฆเนศ เชื่อกันว่าพระองค์จะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ท่าน

เทศกาลนี้มีการจัดพิธีกรรมบูชาและการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วอินเดียและทั่วโลก มีการจัดสร้างเทวรูปพระพิฆเนศขนาดใหญ่โตมโหฬาร เพื่อเข้าพิธีบูชา

จากนั้นจะแห่องค์เทวรูปไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่างๆ ถนนหนทางทั่วทุกหนแห่งจะมีแต่ผู้คนออกมาชมการแห่องค์เทวรูปนับร้อยนับพัน

ผู้ศรัทธาทุกคนแต่งชุดส่าหรีสีสันสวยงาม ขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี ฯลฯ แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำหรือทะเล

เทศกาลคเณศจตุรถีและพิธีกรรมต่างๆ กระทำกันมาแต่โบราณ มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก และหนึ่งในพิธีกรรมที่กระทำกันก็คือ
เอกวีสติ ปัตรบูชา” หรือการบูชาด้วยใบไม้ 21 ชนิดเป็นเวลา 21 วัน

นับเป็นเหตุการณ์ที่ฮือฮากันมากที่สุด ปรากฏขึ้นมาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งตรงกับเทศกาลประกอบพิธี คเณศจตุรถี หรือพิธีอุทิศต่อพระพิฆเนศ ทำให้ปรากฏการดังกล่าวได้รับความสนใจไปทั่วโลก

ในวันที่ประกอบพิธีคเณศจตุรถีนั้น ประชาชนทั้งหลายต่างพากันมาสักการะบูชารูปเคารพของพระพิฆเนศที่ปั้นด้วยดิน(เผา ) เครื่องบูชาจะประกอบไปด้วยดอกไม้ (โดยเฉพาะดอกไม้สีสดใส เช่น สีแดง, สีเหลือง, สีแสด) ขนมต้ม,มะพร้าวอ่อน, กล้วย, อ้อย, นมเปรี้ยว(แบบแขก) ขณะทำการบูชา ผู้บูชาจะท่อง พระนาม 108 ของพระองค์ หลังจากการบูชาแล้วก็จะเชิญพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีมาเลี้ยงดูให้อิ่มหนำสำราญ และมีข้อห้ามในวันพิธีคเณศจตุรถี คือ ห้ามมองพระจันทร์อย่างเด็ดขาด และถือกันว่าถ้าผู้ใดได้มองพระจันทร์(เห็นพระจันทร์) โดยพลาดพลั้งไป พวกชาวบ้านก็จะพากันแช่งด่าผู้นั้นทันที่ และที่ชาวบ้านด่านั้น ก็เป็นความหวังดี มิได้ด่าด้วยความโกรธแค้น แต่ด่าเพราะเชื่อกันว่า การด่าการแช่งนั้นจะทำให้คนๆนั้นพ้นจากคำสาปไปได้

ซึ่งความเชื่อนี้ มีเรื่องเล่าที่มาอยู่ 2 เรื่องคือ สืบเนื่องมาจากการที่พระพิฆเนศ พลัดตกจากหลังหนูจนท้องแตก (เพราะหนูตกใจที่มีงูเห่าเลื้อยผ่านหน้า และพระคเณศเสวยขนมต้มมามาก) ขนมต้มทะลักออกมา พระคเณศก็รีบเก็บขนมต้มยัดกลับไปในพุง และจับงูเห่าตัวนั้นมารัดพุง ขณะเดียวกัน พระจันทร์ก็เผอิญมาเห็นเข้า ก็อดขำไม่ได้ หัวเราะออกมาดังสนั่น พระพิฆเนศโกรธยิ่งนัก เอางาขว้างไปติดพระจันทร์จนแน่น ทำให้โลกมืดลงทันที่ เพราะไฟดับ (เหมือนราหูอมจันทร์)

พระอินทร์และทวยเทพทั้งหลายทราบเรื่อง ก็ต้องพากันไปอ้อนวอน พระคเณศจึงยอมถอยเอางาออก แต่พระจันทร์ก็ต้องได้รับโทษอยู่ คือ จะต้องเว้าๆแหว่งๆเป็นเสี้ยวๆไม่เต็มดวงทุกคืน จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ จึงจะเต็มดวง

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า พระพิฆเนศสาปคนที่มองดูพระจันทร์ในวันที่บูชาพระองค์ คือ หากใครมองดูพระจันทร์ในวันนี้ ผู้นั้นก็จะต้องกลายเป็นคนจัณฑาล และคนจัณฑาลในสังคมอินเดียจะเป็นที่รังเกียจของคนวรรณะอื่นๆทุกๆวรรณะ (เพราะถือว่าคนจัณฑาล ไม่มีชนชั้น เป็นชนชั้นต่ำ ) ดังนั้นคำสาปให้เป็นจัณฑาลจึงเป็นโทษร้ายแรงยิ่งนัก

สำหรับวันคเณศจตุรถี ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2560 วัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม โดยพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ทายาทศิษย์เอกหลวงพ่อพูล อัตตะรักโข จะจัดให้มีพิธีปลุกเสกมงคลวัตถุประจำปี 2560 ตำรับหลวงพ่อพูล พิธีปลุกเสกโดยคณะสงฆ์วัดไผ่ล้อม สวดบทเมตตาใหญ่ วัตถุมงคลรุ่นนี้ประกอบด้วย เหรียญพระพิฆเนศดาวทอง รูปหล่อลอยองค์ บรมครูปู่ฤาษีพระพรหม และเหรียญสาริกาเมตตา กำหนดการพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิต เริ่มเวลา 18.09 น. นำโดย พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพี่น้ำฝน และคณะสงฆ์วัดไผ่ล้อม ทุกรูป สวดเจริญพระพุทธมนต์ นั่งปรกอธิษฐานปลุกเสก กำหนดจิตทำสมาธิประจุพุทธาคมลงสู่มงคลวัตถุ เพื่อความเป็นสิริมงคล

พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพี่น้ำฝน เผยว่า ที่ผ่านมาหลวงพ่อพูล ท่านได้เคยสร้างมงคลวัตถุพระพิฆเนศ มอบเป็นที่ระลึกให้กับญาติโยมที่มาร่วมทำบุญสร้างถาวรวัตถุกับทางวัดไผ่ล้อม และที่สำคัญ อาตมาในฐานะศิษย์ของท่าน จึงได้จัดให้มีพิธีสืบสานตำนานการสร้างมงคลวัตถุ พระพิฆเนศขึ้น โดยในปีนี้ได้ออกแบบเป็นเหรียญพระพิฆเนศดาวทอง ดาวแห่งความสำเร็จสมปรารถนา ลักษณะเป็นรูปดาว 5 แฉก ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศ ปางลักษณะนั่งเต็มองค์ ทุกมุมของเหรียญ จารึกยันต์ตัวนะ ทั้ง 5 มุม ส่วนด้านหลัง เป็นยันต์ครูหลวงพ่อพูล จารึกอักษรไทย “พระพิฆเนศดาวทอง” ตอกโค๊ต คำว่า พูล เป็นอักขระขอม สร้างขึ้นเป็นเนื้อโลหะชุบทอง ลงยาสีแดง เลี่ยมตลับโลหะชุบทองไมครอน ฝังเพชรรัสเซีย

และเพื่อเป็นการสืบทอดตำรับมงคลวัตถุของท่าน อาตมาจึงได้สร้างเหรียญสาริกาเมตตา พุทธศิลป์ด้านหน้า เป็นรูปพิมพ์ทรงหัวใจใบโพธิ์ ประดิษฐานเป็นรูปสาริกา ตรงกลางลงอักขระ ยันต์ครูหลวงพ่อพูล ล้อมรอบด้วยอักขระคาถาเมตตามหาเสน่ห์ สร้างขึ้นเป็นเนื้อหามวลสารศักดิ์สิทธิ์ เนื้อโลหะชุบทองลงยา สีเขียว สีแดง สีน้ำเงิน ด้านหลังลงยันต์อักขระคาถาสาริกา จารึกอักษรไทย คำว่า “หลวงพี่น้ำฝน” ตรงกลางเหรียญ ตอกโค๊ตเป็นอักขระขอม คำว่า “พูล” เลี่ยมตลับโลหะชุบทองไมครอน ฝังเพชรรัสเซีย

ส่วนวัตถุมงคลอีกรุ่นดังตำรับหลวงพ่อพูล คือ บรมครูปู่ฤาษีพระพรหม สร้างขึ้นเป็นรูปหล่อลอยองค์ บรมครูปู่ฤาษีพระพรหม เทวะลักษณะ มี 4 พระพักตร์ หมายถึงคัมภีร์พระเวททั้ง 4 ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เทียบได้กับพรหมวิหาร 4 ในพระพุทธศาสนา ประทับบนดอกบัวบาน พระหัตถ์ด้านขวายกสูงขึ้นประทานพร พระหัตถ์ด้านซ้าย ถือหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หมายถึงมีความรอบรู้ในศิลปะวิทยาการ เป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่างๆ ส่วนฐานด้านล่าง จารึกอักษรไทย คำว่า “บรมครูปู่ฤาษีพระพรหม” สร้างขึ้นเป็น เนื้อโลหะพ่นทราย 2 กษัตริย์ เลี่ยมตลับโลหะชุบทองไมครอน

มงคลวัตถุ พระพิฆเนศดาวทอง สาริกาเมตตา และบรมครูปู่ฤาษีพระพรหม ถือเป็นวัตถุมงคลในตำนานของหลวงพ่อพูล และเป็นมงคลวัตถุประจำปี 2560 ที่เป็นตำรับเก่าแก่ของหลวงพ่อพูลอย่างแท้จริง

พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพี่น้ำฝน กล่าวอีกว่า ในโอกาสเทศกาลบูชาพระพิฆเนศครั้งสำคัญ เนื่องในวันประสูติของพระพิฆเนศในปีนี้ เป็นโอกาสมงคลยิ่งที่ องค์พระพิฆเนศ เทพแห่งศิลปะวิทยาการและความสำเร็จ ถือเป็นองค์ปฐมปูชนียเทพหนึ่งในเทพที่มีเทวานุภาพมากที่สุดองค์หนึ่ง ซึ่งต้องได้รับการบูชาก่อนเทพองค์อื่นๆ จึงทำให้มีผู้คนทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะศิลปกรรม นาฏศิลป์ วรรณกรรม การค้า ให้ความเคารพนับถือและสักการะบูชาพระพิฆเนศกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งในเทศกาลบูชาพระพิฆเนศ ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลา 18.09 น. วัดไผ่ล้อม จึงได้จัดให้ทำพิธีปลุกเสกมงคลวัตถุ พระพิฆเนศดาวทอง ดาวแห่งความสำเร็จสมปรารถนา สาริกาเมตตา และบรมครูปู่ฤาษีพระพรหม เพื่อให้ญาติโยมพุทธศาสนิกชน ได้สักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล และความสำเร็จสมประสงค์แก่ผู้ทำบุญบูชาไว้ครอบครองทุกประการ

สอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม โทร.085-4156464, 061-7826264

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน