วันที่ 12 ต.ค. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.อีสาน) ,เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคอีสาน และองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนในภาคอีสาน ออกแถลงการณ์ “คัดค้าน พ.ร.บ.น้ำ หยุดเหยียบย่ำเกษตรกรคนลุ่มน้ำ ยิ่งปรับปรุงยิ่งให้อำนาจรัฐ” ความว่า นับตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำมีความพยายามที่จะผลักดันให้มี การออกพระราชบัญญัติน้ำอย่างต่อเนื่องแต่กลับถูกประชาชนคัดค้านและไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติน้ำที่ถูกนำเสนอมาตลอด เนื่องจากกระบวนการร่างกฎหมายน้ำนั้นขาดการมีส่วนร่วมและการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างของภาคประชาชน

ขณะที่ปัจจุบันกฎหมายบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ… ได้เอาเข้าพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) วาระที่ 1 ไปแล้วนั้น จากทั้งหมด 9 หมวด 100 มาตรา โดยได้ตั้งกรรมาธิการขึ้นมาเพื่อพิจารณา ซึ่งยังเหลืออีก 2 วาระ สภานิบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ถึงจะลงวาระว่าจะเห็นควรประกาศหรือไม่เห็นควรประกาศ จากการติดตามกระบวนการร่าง พ.ร.บ.น้ำ ของเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน มีความเห็นว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ต้องถอนร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. … เนื่องจากปัจจุบันกระแสการคัดค้าน พ.ร.บ.น้ำ ฉบับ พ.ศ… จากเกษตรกรไม่เห็นด้วยมากขึ้นกับร่าง พ.ร.บ.น้ำ ที่จะมีการเก็บภาษีน้ำจากเกษตรกรเพราะจะทำให้เกษตรกรมีค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดิม ประกอบกับ

1.) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นกับร่างพระราบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. … ไม่ครอบคลุมพื้นที่ของชาวบ้านลุ่มน้ำผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามหลักการมีส่วนร่วมร่วมของประชาชน นั้นย่อมหมายถึงความไม่โปร่งใสในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับพื้นที่อย่างแท้จริงตั้งแต่เริ่มกระบวนการ 2.)การปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.น้ำ ยิ่งปรับปรุงยิ่งให้อำนาจรัฐในการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะตามร่าง พ.ร.บ.น้ำ มาตรา 6 อำนาจของรัฐในการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ “ให้รัฐมีอำนาจบริหารทรัพยากรน้ำสาธารณะบนพื้นฐานความยั่งยืนและความสมดุลของระบบนิเวศ โดยเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแหล่งน้ำหรือขยายแหล่งน้ำได้นั้น” โดยรัฐยังมีอำนาจในการรวมศูนย์การจัดการน้ำ หรือสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแหล่งน้ำ ทั้งยังเป็นการเพิ่มอำนาจให้รัฐผูกขาดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยที่รัฐสามารถที่จะกำหนดการพัฒนาแหล่งน้ำไปในทิศทางที่คนลุ่มน้ำไม่มีส่วนร่วม ซึ่งอาจนำมาสู่ความขัดแย้งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างรัฐกับชุมชน

3.) ร่าง พ.ร.บ.น้ำ ในมาตรา 17 “คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ” หรือ (กนช.) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยทั่วไป รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไป พิจารณาและให้ความเห็นชอบผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำ ซึ่งถ้ามองดูแล้ว ร่าง พ.ร.บ.น้ำ ในมาตราดังกล่าวนี้ยิ่งจะเพิ่มความขัดแย้งระหว่างลุ่มน้ำ เพราะการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำเป็นเรื่องละเอียดอ่อนของอีกกลุ่มที่มีความผูกพันกับการใช้ชีวิตกับลุ่มน้ำ ประกอบกับลุ่มน้ำแต่ลุ่มมีระบบนิเวศที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศลุ่มนั้นๆได้ อีกอย่างชาวบ้านวิตกกับอำนาจหน้าที่ของการบริหารจัดการน้ำของรัฐที่จะฟื้นนโยบายโครงการบริหารจัดการน้ำขนาดใหญ่ เช่น โครงการผันน้ำโขง ชี มูล ซึ่งปัจจุบันหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดการน้ำขนาดใหญ่ และยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำชี เป็นต้น ถึงแม้จะระบุไว้ว่าจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อน ซึ่งทางเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน ก็มองว่าเป็นเพียงการจัดทำพิธีกรรมเพื่อให้ครบถ้วน เพราะหน่วยงานรัฐมีธงเอาไว้แล้ว

4.) ร่าง พ.ร.บ.น้ำ มาตรา 9 กำหนดให้มี “คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ” หรือ (กนช.) และในร่างมาตรา 26 “คณะกรรมการลุ่มน้ำ” ในสองมาตรานี้มีลักษณะโครงสร้างที่ยังยึดโยงให้อำนาจกับภาครัฐมาก ถ้ามองถึงสัดส่วนแล้วภาคประชาชนไม่มีที่ยืนในการที่จะร่วมกำหนดนโยบายเลย เพราะเป็นการกำหนดตำแหน่งไว้เสร็จสรรพเรียบร้อยแล้วส่วนใหญ่มีแต่หน่วยงานราชการ ทำให้เห็นว่าไม่มีหลักประกันใดๆ ที่จะแสดงให้ว่าภาคประชาชนจะเข้าไปถ่วงดุลอำนาจกรรมการได้ และ 5.) ประเด็นสุดท้ายที่มีข้อวิตกกังวลจากเกษตรกรลุ่มน้ำ และเกษตรกรทั่วไป คือ ในหมวดการจัดสรรน้ำ ที่กำหนดการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะแบ่งเป็น 3 ประเภท ตามร่าง พ.ร.บ.น้ำ มาตรา 39 ในมาตรานี้มีการเชื่อมโยงไปอีกหลายมาตราเนื่องจากเกี่ยวข้องกับกับการเก็บภาษีน้ำของผู้ใช้น้ำ แม้ว่าในร่าง พ.ร.บ.น้ำ ฉบับนี้จะกำหนดเก็บภาษีเฉพาะการใช้น้ำประเภทที่สอง และการใช้น้ำประเภทที่สาม แต่เกษตรกรลุ่มน้ำ และเกษตรกรทั่วไปยังไม่มีความมั่นใจกับร่าง พ.ร.บ.น้ำตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งความไม่โปร่งใสของกระบวนการรับฟังความคิด และความไม่สอดคล้องของวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำและเกษตรกร

มีประเด็นอยู่ว่า 1.ถ้ามีการเก็บภาษี พ.ร.บ.น้ำจริง ตามวิธีคิดเบื้องต้นของอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำยังพูดชัดถึงการเก็บภาษีน้ำกับเกษตรกร ไม่เกิน 50 สตางค์ต่อลูกบาศก์เมตรในประเภทที่สองนั้นใครได้ประโยชน์ใครเสียประโยชน์ ถ้ามองดูเบื้องต้นเห็นชัดว่า กลุ่มผู้ใช้น้ำประเภทที่หนึ่ง และกลุ่มผู้ใช้น้ำประเภทที่สองยังคลุมเครือและยังแบ่งประเภทกันไม่ชัด เหมือนร่าง พ.ร.บ.น้ำ พ.ศ… ที่ไม่มีความชัดเจน แต่ถึงอย่างไรผู้ที่จะได้ประโยชน์จาก ร่าง พ.ร.บ.น้ำ ฉบับนี้ คือ อุสาหกรรมขนาดใหญ่ ตามระบุกลุ่มใช้น้ำประเภทที่สาม เพราะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีกำลังในการซื้อน้ำเพราะเป็นธุรกิจ เช่น โรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล ที่กำลังขยายเพิ่มมากขึ้นในภาคอีสานเป็นต้น ส่วนเกษตรกรในกลุ่มผู้ใช้น้ำประเภทที่หนึ่งและสองจะต้องแบกภาระกับต้นทุนการผลิต ราคาไม่แน่นอน ไหนจะมาเสียค่าน้ำเพิ่มอีกซึ่งขัดกับวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำและเกษตรกรอย่างมาก

ภายใต้เหตุผลของทางเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน มองว่า พ.ร.บ.น้ำ ฉบับนี้จะเป็นการลิดรอนสิทธิของชุมชนและเกษตร เพื่อที่จะให้รัฐสามารถจัดการน้ำได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เนื่องจากสถานะของน้ำในแม่น้ำ แหล่งน้ำทุกประเภทกลายเป็นของรัฐโดยสมบูรณ์ ทั้งหมดเหล่านี้รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแล ฉะนั้นจึงมีข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ…. ข้างต้นดังนี้

1.ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ถอดถอนร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ…ออกจากการพิจารณาตามเหตุผลข้างต้น เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.น้ำ ฉบับปัจจุบันยังสร้างความวิตกกังวลต่อเกษตรกรลุ่มน้ำและเกษตรกรทั่วไปในประเด็นความไม่ชัดเจนของร่าง พรบ.น้ำ ฉบับปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเก็บภาษีน้ำด้วย
2.ให้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นทุกจังหวัด เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมครอบคลุมกลุ่มคนผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งภาคประชาชน เอกชน อย่างแท้จริง เนื่องจากมีประชาชนหลายภาคส่วนโดยเฉพาะเกษตรกรไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการร่าง พ.ร.บ.น้ำ พ.ศ…..

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.อีสาน)
เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน
เครือข่ายทรัพยากรและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ภาคอีสาน
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
สมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น
สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์
สมาคมเครือข่ายชาวนาชาวไร่อีสาน
สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ
ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน (ศสส.)
ศูนย์พัฒนาเด็กเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแม่น้ำโขง
ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง
ศูนย์ศึกษาชุมชนท้องถิ่นอีศาน
โครงการทามมูล
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
คณะกรรการชาบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวส่งสายไฟฟ้าแรงสูง 500 Kv จ.อุดรธานี
เครือข่ายคนรุ่นใหม่กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา
กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลำพะเนียง
กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำโขง อ.ปากชม จ.เลย
เครือข่ายชุมชนฮักน้ำโขง
ขบวนการอีสานใหม่ (New E-saan Movement)
กลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์แก่งละว้า จ.ขอนแก่น
โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ จ.สุรินทร์
กลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำชีตอนล่าง จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร
สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนราศีไศล เขื่อนหัวนา จ.ศรีษะเกษ
กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซบาย จ.ยโสธร
เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซบาย จ.อำนาจเจริญ
สมัชชาคนจน
กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาสภาคีเครือข่ายฯ จ.สกลนคร
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมห้วยเสือเต้นและโคกหินขาว จ.ขอนแก่น
กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
ชมรมชาวบ้านอนุรักษ์ลำน้ำพอง จ.ขอนแก่น
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านนามูล-ดูนสาด จ.ขอนแก่น
ขบวนองค์กรชุมชน จ.สุรินทร์
กลุ่มสมุนไพรเพื่อสันติภาพ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน