วันที่ 20 มิ.ย. บีบีซีรายงานว่า เจ้าของห้องในอพาร์ตเมนต์แจ้งทางการจีนค้นพบบ้านแอบซุกอยู่ใต้ดิน ภายในมีคนงานอพยพจากต่างจังหวัดอาศัยอยู่ราว 400 คน อยู่ใต้อพาร์ตเมนต์ระดับบน “จูล่ง การ์เดนส์” ที่กรุงปักกิ่ง เผยถึงวิกฤตที่อยู่อาศัยในเมืองหลวง ประเทศจีน

เจ้าของห้องในตึกจูล่ง การ์เดนส์ เริ่มผิดสังเกตที่มีคนหน้าตาไม่คุ้นอยู่ในอพาร์ตเมนต์ กระทั่งไปพบว่ามีห้องที่ซ่อนไว้แออัดอยู่ด้านหลังประตูของชั้นใต้ดินในตึกหนึ่งของอพาร์ตเมนต์

BBC

ไชน่าเนชั่นแนลเรดิโอ สถานีวิทยุของทางการจีน รายงานว่า อพาร์ตเมนต์จูล่งการ์เด้นส์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง มีชื่อเสียง เป็นที่อยู่อาศัยของผู้อพยพชาวต่างชาติที่มั่งคั่ง

ภาพอาคารหรูด้านบนในย่านจูล่ง การ์เดนส์ จากเว็บ beijing.joannarealestate.com.cn

ห้องใต้ดินในอาคารดังกล่าวอยู่กันอย่างแออัด เป็นหอพักของแรงงานต่างถิ่น มีครัว ห้องสูบบุหรี่ และห้องเดี่ยวๆที่อัดแน่นกันอยู่ ไม่มีหน้าต่าง มีทางออกฉุกเฉินเพียงทางเดียว

ผู้เช่าอยู่ในชั้นใต้ดินดังกล่าวเป็นคนงานอพยพรายได้น้อยหรือเรียกว่าเผ่าหนู ที่อาศัยอยู่ในที่หลบภัยระเบิดในช่วงทศวรรษ 1970-1980 ซึ่งมีสภาพการใช้ชีวิตตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับผู้อยู่อาศัยบนตึก

ทางการอยู่ระหว่างสอบสวนว่าห้องที่ซุกใต้ดินถูกกฎหมายหรือไม่ โดยพื้นที่ใต้ดินดังกล่าวเป็นของรัฐบาลท้องถิ่น แต่เป็นไปได้ว่า พื้นที่ถูกแบ่งให้เช่า

china.cnr.cn

ทางการเคยส่งเสริมให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวสำหรับอยู่อาศัยและเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ แต่ช่วง 2-3 ปีมานี้ทางการได้ปราบปรามและหยุดอนุญาตไปเพราะห้องใต้ดินแพร่กระจายและปัญหาด้านความปลอดภัย ยกตัวอย่างในปี 2558 ทางการเริ่มไล่ที่”เผ่าหนู”กว่า 120,000 คน เหตุผลด้านความมั่นคงปลอดภัย

สำหรับสาเหตุผลักให้แรงงานอพยพต้องอาศัยเช่าบ้านแออัดใต้ดินอยู่มาจากค่าเช่าที่ไต่สูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งในกรุงปักกิ่งส่งผลให้แรงงานอพยพรวมถึงนักเรียนจำนวนมากหันไปอยู่บ้านใต้ดิน เพราะราคาต่ำได้ถึง 20 ดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่ถึว 700 บาทต่อเดือนสำหรับหอพัก

china.cnr.cn

ทั้งนี้ ปักกิ่งติดอันดับมีที่อยู่อาศัยให้เช่าในราคาเข้าถึงได้จำนวนน้อยที่สุดในโลกเมื่อปีที่แล้ว ค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนเมื่อปีที่แล้วไต่สู่ 4,550 หยวนหรือราว 22,600 บาทหรือมากว่าตัวเลขปี 2553 ราวร้อยละ 60

นอกจากนี้ ระบบการลงทะเบียนครัวเรือนของจีนที่เรียกว่า หู้โข้ว ผูกสวัสดิการรัฐบาลของแต่ละบุคคลไว้กับการเข้าถึงที่อยู่อาศัยในราคาที่เอื้อมถึงกับบ้านเกิดของคนนั้น จึงกระทบต่อแรงงานอพยพจำนวนมากทั้งด้านความยากลำยาก รวมถึงต้นทุนที่จะย้าย”หู้โข้ว” ของพวกตนไปยังเมืองอื่น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน