เมื่อวันที่ 28 ต.ค. เอเอฟพีรายงานว่า คณะแพทย์อินเดียในกรุงนิวเดลีผ่าตัดแยกแฝดชายวัยสองขวบที่มีสภาพศีรษะติดกันได้เป็นครั้งแรกของประเทศ เด็กทั้งสองใช้เนื้อเยื่อในสมองเดียวกัน และใช้หลอดเลือดเดียวกัน

“การผ่าตัดครั้งนี้ใช้เวลายาวนานถึง 18 ชั่วโมงและใช้บุคลากรทางการแพทย์กว่า 40 คน พยาบาล 20 คน และเจ้าหน้าที่การแพทย์อื่นๆ ถ้าไม่มีความร่วมมือของพวกเขาเหล่านี้ คงไม่มีทางสำเร็จได้” แถลงการณ์ของโรงพยาบาลการแพทย์ออล อินเดีย ระบุ

ดร.มานีศ ซิงฮัล ศัลยแพทย์ตกแต่ง กล่าวว่า งานที่ลุ้นที่สุดคือหลังจากการผ่าแยกแล้วจะต้องทำให้มีผิวหนังปกป้องสมองของเด็กทั้งสองด้าน เพราะการผ่าจัดทำให้เกิดหลุมขนาดใหญ่ที่ศีรษะของเด็ก ผิวหนังนี้จะมาจากการขยายตัวของบอลลูนสองลูกที่ใส่ไว้ในศีรษะของเด็กตั้งแต่การผ่าตัดครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม จากนั้นจึงเป็นการปรับโครงสร้างกะโหลก

เด็กชายสองคนที่มีชื่อว่าจาคะ และกาลิยะ พ่อแม่มีภูมิลำเนาอยู่ในโอริสสาตะวันออก พาลูกเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลของรัฐ เมื่อเดือนกรกฎาคมปีนี้ หลังจากที่ผ่าตัดเสร็จสิ้น แพทย์ย้ายเด็กชายทั้งสองไปแผนกรักษาดูแลเร่งด่วน ขั้นตอนต่อไปคือศัลยกรรมโครงกะโหลกของเด็กทั้งสองคนใหม่

AFP PHOTO /

ด้านคุณหมอ เอ. เค. มหาพัตรา แพทย์ด้านประสาทวิทยา กล่าวว่าเด็กสองคนนี้ยังมีปัญหาทางด้านสุขภาพอื่นๆ อย่างกาลิยะมีปัญหาที่ไต ส่วนจาคะมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ

AFP PHOTO

สำหรับโอกาสที่เด็กจะเกิดมามีศีรษะติดกันนั้นมีเพียง 1 ใน 2,500,000 และโอกาสที่จะอยู่รอดจนเกิดมีครึ่งหนึ่ง ส่วนอัตราการมีชีวิตอยู่รอดมีเพียงร้อยละ 5-25 เท่านั้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน