ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย

การดำเนินนโยบายเปิดประเทศของรัฐบาลเมียนมาในปี 2553 ถือเป็น จุดเปลี่ยนสำคัญของเมียนมาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

โดยในด้านเศรษฐกิจ เมียนมาสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่เคยซบเซา ไปสู่ประเทศที่เศรษฐกิจขยายตัวสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ด้วยอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยราว 8% ต่อปี

ขณะที่ในด้านสังคม วิถีชีวิตของชาว เมียนมากำลังเปลี่ยนแปลงจากการเป็นสังคมชนบทไปสู่สังคมเมือง

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ย่อม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม การบริโภคและก่อให้เกิดเทรนด์ใหม่ๆ ของชาวเมียนมาที่น่าสนใจ ดังนี้

ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกที่มาพร้อมกับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น

มูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยและเครื่องใช้อำนวยความสะดวกต่างๆ ของเมียนมา เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ ซึ่งในปี 2559 มีมูลค่านำเข้ารวมกันราว 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระแสสุขภาพและความงามกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น องค์การอนามัยโลก (WTO) ประเมินว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของเมียนมาในปี 2558 มีมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เช่นเดียวกับธุรกิจด้านความงาม ซึ่ง เมียนมาถือเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดและกลายเป็นเป้าหมายสำคัญของแบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำของโลก โดยมูลค่านำเข้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2553 เป็น 92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2559 หรือคิดเป็นอัตราขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงเกือบ 80% ต่อปี

ธุรกิจบันเทิงและสันทนาการกลับมาบูมอีกครั้ง ค่าใช้จ่ายด้านบันเทิงและสันทนาการสูงถึงราว 11-15% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด มากเป็นอันดับ 2 รองจาก ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร

จำนวนผู้ใช้ Facebook ในเมียนมาเพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านบัญชีในปี 2556 เป็นราว 10 ล้านบัญชีในปัจจุบัน ทำให้ Facebook กลายเป็นหนึ่งในช่องทางการตลาดที่ได้รับความนิยมสูงช่องทางหนึ่งในเมียนมา

ทั้งนี้ พฤติกรรมการบริโภคของชาว เมียนมาที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลาย ทั้งในมิติด้านการค้า และการลงทุน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน