“กฤษฎา” วอน 6 ผู้ผลิตยางรถยนต์โลก ซื้อยางจากไทยโดยตรง แทนซื้อตลาดล่วงหน้า’ไซคอม-โตคอม’

นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือกับ 6 บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่โลกว่า ขณะนี้ 6 บริษัทผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก มีการซื้อยางจากประเทศไทย เพื่อผลิตยางล้อรถยนต์ปริมาณ 8 แสนตัน/ปี โดยซื้อผ่านตลาดล่วงหน้า คือ ตลาดโตคอม(TOCOM) โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และซื้อที่ตลาดยางไซคอม (SICOM)ประเทศสิงค์โปร์
โดยมี 5 เสื่อผู้ส่งออกยางของไทยเป็นเจ้าของสัญญาซื้อขายยางพาราและส่งมอบ ทางกระทรวงเกษตรจึงขอความร่วมมือจาก 6 ผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ ของโลกให้เพิ่มปริมาณการซื้อยางพารา ให้ซื้อตรงจากเกษตรกรไทย

ทั้งนี้ ทาง 6 ผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ของโลก ได้ชี้แจงเหตุที่ต้องซื้อจากตลาด ตลาดล่วงหน้า โตคอม ไซคอม เนื่องจาก ได้รับยางพาราที่ได้มาตรฐาน และ มีการส่งมอบตรงเวลา ที่ผ่านมา เคยเข้ามารับซื้อจากเอกชนรายอื่นแล้ว แต่ไม่สามารถรวบรวมยางพาราและส่งมอบได้ทัน ทำให้กระทบกับการผลิต กระทรวงเกษตรฯ จึงมอบให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) หาผู้ที่สามารถรวบรวมผลผลิต ส่งออกและส่งมอบให้ได้มาตรฐานแบบเดียวกับ 5 เสือ หรืออีกแนวทาง กยท.จะทำเองได้หรือไม่ ยังเป็นแนวคิดอยู่ เพื่อเพิ่มปริมาณการขายยางออกต่างประเทศ

“เมื่อต้นเดือนธ.ค.นี้ คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติมาตรการระยะสั้น เพื่อช่วยชาวสวนยางไปแล้ว แต่การหาตลาดใหม่เพื่อส่งออกยางเพิ่มขึ้นขคือมาตรการระยะกลางและระยะยาว ที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกาตรและสหกรณ์จะเร่งดำเนินการ เพื่อให้ลดผลผลอิตยางพาราในประเทศลง ช่วยให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน แต่จะต้องหาสหกรณ์ สถาบันเกษตรกรที่มีความสามารถ ในการรวบรวม คัดสรรยางพาราให้ได้มาตรฐาน และส่งมอบให้ตรงเวลา ให้สามารถเทียบเคียงกับ 5 เสือส่งออกได้ มาเพื่อช่วยผลักดันยอดส่งออกยางพาราของไทย”

นายกฤษฎา กล่าวว่า ทั้ง 6 บริษัทผู้ผลิตล้อยางรถยนต์ของโลก ได้เสนอกระทรวงเกาตรฯมาว่า หากอยากจะให้เข้ากลับมาซื้อยางพาราในไทย รัฐบาลหรือกระทรวงเกษตรฯ ต้องหาบริษัทที่เข้มแข้งไม่น้อยกว่า 5 บริษัทให้ได้ หากจะให้กยท.ดำเนินการ อาจจะต้องมีการนำเสนอ ครม. เพื่อพิจารณา ส่วนในเรื่องของการขยายฐานการผลิต อยากให้รวบใบอนุญาติมาอยู่ในใบเดียว ซึ่งมาตราการนี้เป็นมาตรการระยะกลางและระยะยาว เพื่อเป็นการพัฒนาอุสหกรรมยางพาราให้ดีขึ้น

ส่วนในเรื่องของกฎเกณฑ์ อยากขอให้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการออกใบอนุญาติตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ใบอนุญาติศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และใบอนุญาติก่อสร้าง อยากขอให้มีการรวมใบอนุญาติทั้ง 3 ใบนี้ มาอยู่ในใบเดียวกัน ถ้าทำตามที่เสนอขอได้จะทำให้ทางบริษัทสามารถขนายกำลังการผลิตได้มากขึ้น ส่วนเรื่องภาษีที่จะขอลดอย่างจะชะลอการเสนอเรื่องไว้ก่อนเพราะกลัวว่าอาจจะกระทบต่อความรู้สึกของคนไทย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน