ครม.ไฟเขียวแก้กฎหมายร่วมลงทุนปี’56 ปลดล็อกโครงการต่ำกว่า 5 พันล้าน ตีกรอบประเภทโครงการแคบลง ไม่ต้องเสียเวลาพิจารณาโครงการไม่เข้าข่าย

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) จ.หนองคาย เห็นชอบการแก้ไขพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 เนื่องจากพ.ร.บ.ฉบับนี้บัญญัติเรื่องขอบเขตของโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐกว้าง
ส่งผลให้มีโครงการร่วมลงทุนที่ไม่ได้อยู่ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นภารกิจของรัฐต้องเข้าสู่กระบวนทางตามกฎหมาย หรือบางโครงการเข้ามาแล้วไม่เข้าข่าย ทำให้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (บอร์ดพีพีพี) เสียเวลาในการพิจารณาโครงการเหล่านั้น แทนที่จะได้พิจารณาโครงการหลักอื่นๆ

นอกจากนี้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 2556 ยังไม่สะท้อนความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง รัฐและเอกชนที่ร่วมลงทุนในโครงการของรัฐที่ชัดเจน ประกอบกับขาดมาตรการในการแก้ไขปัญหาระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และมาตการส่งเสริมการร่วมลงทุน ที่ส่งผลให้การดำเนินโครงการล่าช้าเอกชนไม่ให้ความสนใจเข้าร่วมลงทุน

ทั้งนี้ สาระสำคัญของการแก้ไขกฎหมาย ได้แก่ มีการแก้ไขชื่อกฎหมายเป็น ร่างพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ…. เพื่อให้มีการกำหนนโยบายที่ชัดเจนแน่นอนในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ กำหนดเป้าประสงค์การร่วมลงทุนให้มีการจัดทำและอำเนินโครงการอยู่บนฐานของความเป็นหุ้นส่วน โดยเน้นการใช้ความเชี่ยวชาญและนวัตกรรมของเอกชนในโครงการร่วมลงทุนและการถ่ายทอดความรู้และความเชี่ยวชาญไปยังหน่วยงานภาครัฐ

“กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการร่วมลงทุนให้แก่โครงการร่วมลงทุนอย่างเหมาะสมภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลัง เช่น สิทธิประโยชน์ที่เป็นไปได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงุทน สิทธิการเช่าที่ดินหรืออสังหาฯ ในโครงการร่วมลงทุนที่มีระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 50 ปี สร้างแรงจูงใจให้เอกชนมาลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล”

นอกจากนี้ ยังกำหนดนโยบายของรัฐที่ชัดเจนและแน่นอนในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะซึ่งเป็นภารกิจของรัฐ อันส่งผลให้โครงการร่วมลงทุนที่ไม่อยู่ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ เช่นโครงการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ ไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายดังกล่าว รวมถึงโครงการที่กำหนดไว้ในร่างพ.ร.บ.ร่วมทุน ฯ ที่มีมูลค่าต่ำว่า 5 พันล้านบาท
กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กระชับ โปร่งใส เมื่อเกิดปัญหาหรืออุปสรรค หรือเกิดความล่าช้าในการจัดทำหรือดำเนินโครงการร่วมลงทุน ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถเสนอต่อคณะกรรมการและ ครม. เพื่อกำหนดกรอบระยะเวลา หรือพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ทำให้สามารถดำเนินโครงการ่วมลงทุนได้อย่างรวดเร็วและเกิดการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการแก้ไขส่วนนี้จะทำให้กระบวนการพิจารณาอนุมัติโครงการรวดเร็วยิ่งขึ้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน