สนข.เปิดแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะเมืองอุดรธานี เคาะเป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 70.40 กม. สำรวจพบ สายสีแดง จากขนส่งถึงสนามบินอุดรธานี คนใช้บริการมากสุด รองลงมา สายสีเขียว จากศาลแรงงานภาค 4 ถึงโรงแรมเจริญโฮเต็ล คาดเปิดได้ปี 65

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผอ.สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงผลการศึกษาแผนแม่บท การพัฒนา ระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานีว่า อุดรธานีเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการคมนาคม มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวอย่าง ต่อเนื่อง และสามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

แต่ปัจจุบันยังมีปัญหาการจราจรติดขัดมาก ทำให้ สนข. ต้องเร่งศึกษาระบบขนส่งสาธารณะ ที่มีศักยภาพเพื่อรองรับการเติบโตของเมือง เพื่อรอง รับการเดินทางภายในเขตเมือง เชื่อมโยงพื้นที่โดยรอบและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งทำแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีและจุดจอดแล้วจร (TOD :Transit Oriented Development) เพื่อสร้างการเดินทางเชื่อมต่อให้สมบูรณ์

การประเมินความเป็นไปของโครงการพบว่า รูปแบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมคือ รถโดยสารประจำทางไฟฟ้า เบื้องต้นมี 6 เส้นทาง ระยะทาง รวม 70.40 กิโลเมตร (กม.) 1.สายสีแดง จากสถานีขนส่งผู้โดยสารอุดรธานีแห่งที่ 1 ถึงท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ระยะ 11.1 กม. 2.สาย สีน้ำเงิน จากโกลบอลเฮ้าส์ บ้านตาด ถึงสวนสาธารณะหนองแด 13.9 กม. 3.สายสีเขียว จากบริเวณศาลแรงงานภาค 4 ถึงบริเวณโรงแรมเจริญ โฮเต็ล 13.1 กม.
4.สายสีส้มจากสถานีรถไฟอุดรธานี วนกลับมาสิ้นสุดที่สถานีรถไฟอุดรธานี 9.8 กม. 5.สายสีชมพู จากทุ่งศรีเมือง ถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุ นันทา วิทยาเขตอุดรธานี 9.6 กม. และ 6.สายสีเหลือง จากแยกบ้านเลื่อม (จุดตัดถนนโพศรีกับทางเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันตก) ถึงแยกบ้านจั่น 12.9 กม.

การวิเคราะห์สภาพการเดินทางจากปริมาณผู้โดยสารทั้ง 6 เส้นทาง สายสีแดง คาดว่าปี 2565 ที่เปิดให้บริการเป็นปีแรก จะมีปริมาณผู้โดยสาร 1,216 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เพิ่มสูงขึ้นในปี 2599 คาดผู้โดยสารสูงถึง 4,858 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ขณะที่สายสีเขียวจะมีปริมาณผู้โดยสารปี 2565 จำนวน 1,003 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง สายสีส้ม 518 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง สายสีชมพู 717 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง สายสีเหลือง 265 คน ต่อชั่วโมงต่อทิศทาง และสายสีน้ำเงิน 861 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง

นอกจากนี้ สนข.ยังศึกษาเส้นทางเชื่อมต่อในอนาคต ผ่านจุดสำคัญทั้งหมด 9 เส้นทาง ได้แก่ 1. เส้นทาง C1 เชื่อมต่อจากสายสีแดงบริเวณแยก สนามบิน ถึงตำบลนิคมสงเคราะห์ ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร (กม.) 2. เส้นทาง C2 เชื่อมต่อจากสายสีแดงบริเวณแนกวิทยาลัยพลศึกษา ถึงตำบล เชยงพิณ ระยะทาง 5 กม. 3. เส้นทาง C3 เชื่อมต่อจากสายสีแดงบริเวณแยกบ้านเลื่อม ถึงตำบลเชียงยืน ระยะทาง 5.3 กม. 4. เส้นทาง C4 เชื่อม ต่อสายสีส้มบริเวณหนองประจักษ์ฯ ถึงตำบลหมูม่น ระยะทาง 4 กม.

5. เส้นทาง C5 เชื่อมต่อจากสายสีน้ำเงินบริเวณหนองแด ถึงตลาดแม่ยุพิณ ตำบลกุดสระ ระยะทาง 3.4 กม. 6.เส้นทาง C6 เชื่อมต่อจากสายสี ชมพูบริเวณ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา ถึง ม.ราชภัฏอุดรธานี ระยะทาง 9.8 กม. 7. เส้นทาง C7 เชื่อมต่อจากสายสีเขียวบริเวณตำบลหนองขอนกว้าง ถึงตำบลหนองนาคำ ระยะทาง 8 กม. 8. เส้นทาง C8 เชื่อมต่อจากสายสีน้ำเงินบริเวณโกลบอลเฮ้าส์ บ้านตาด ถึงตำบลโนนสูง ระยะทาง 8.45 กม. และ 9.เส้นทาง C9 เชื่อมต่อจากสายสีเหลืองบริเวณแยกบ้านจั่น ถึงแยกเข้าสนามบิน ระยะทาง 10.20 กม.

นางวิไลรัตน์กล่าวอีกว่า สนข. ได้ลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) หารือและพบปะกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน แบ่ง เป็น 4 กลุ่มย่อย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่เทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลตำบลหนองบัว เทศบาลเมืองหนองสำโรง มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และได้ลงพื้นที่สำรวจแนวเส้นทางแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะ ในเขตเมืองอุดรธานี ทั้ง 6 แนวเส้นทางด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน