นายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่ขนส่งทางบกได้ประกาศกำหนดให้รถโดยสารและรถบรรทุกทุกคัน ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS จีพีเอส) เพื่อให้รถที่ติดตั้งจีพีเอส ส่งข้อมูลจากการใช้รถขณะปฎิบัติหน้าที่ มายังศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ของขนส่งทางบกได้แบบเรียลไทม์ เพื่อมีการตรวจสอบและติดตามได้นั้น

ล่าสุดพบว่า มีผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้ขับรถบางราย ได้หลบเลี่ยงการส่งข้อมูลการใช้รถ โดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องรบกวนสัญญาณหรือตัดสัญญาณ GPS ทำให้ข้อมูล พิกัด ตำแหน่งเคลื่อนที่ของรถ ทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลมายังศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPSได้ นั้น

“การกระทำดังกล่าว ถือมีความผิดตามกฎหมาย ทั้งผู้ขายระบบตัดสัญญาณ GPS และผู้ประกอบการเจ้าของรถ รวมถึง คนขับ โดยมีโทษสูงสุดคือ พักใช้ใบอนุญาตคนขับรถ และเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบการ”

นายกมล กล่าวว่าถึงสาเหตุการใช้เครื่องรบกวนสัญญาณ ตัดสัญญาณจีพีเอสว่า เนื่องจากมีการตรวจสอบพบรายงานข้อมูลการเดินที่ผิดปกติ เช่น รถมีการเคลื่อนที่ แต่มีการแสดงอัตราความเร็วเป็นศูนย์ รวมถึงแสดงพิกัดตำแหน่งของรถที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนั้น ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้ขับรถบางราย ยังหลบเลี่ยงการส่งข้อมูลการใช้รถ โดยใช้อุปกรณ์หรือเครื่องรบกวนสัญญาณหรือตัดสัญญาณ ทำให้ข้อมูล พิกัด ตำแหน่งเคลื่อนที่ของรถไม่สามารถส่งข้อมูลมายังศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามกฎหมาย ทั้งผู้ขายและผู้ใช้

นายกมล กล่าวต่อว่า สำหรับความผิดผู้ขับรถมีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง ไม่ใช้เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 102 (4) ประกอบมาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และนำอุปกรณ์หรือเครื่องรบกวนสัญญาณหรือตัดสัญญาณ GPS ที่ยึดไว้ พร้อมผู้ขับรถที่กระทำความผิด เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีในข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2558 มาตรา 6 และมาตรา 23

ส่วนผู้ประกอบการขนส่ง มีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง ไม่จัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขนส่งและไม่ควบคุมกำกับดูแลให้ผู้ขับรถใช้เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ ตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 36 ประกอบกับมาตรา 131 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และอาจพิจารณาพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งอีกด้วย นอกจากนี้ หากพบความเกี่ยวข้องกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งหรือผู้ให้บริการระบบติดตามรถ (Vendor) ให้ดำเนินการตามกฎหมายทุกกรณี

นอกจากนี้ จากการประสานข้อมูลกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พบว่า อุปกรณ์หรือเครื่องตัดสัญญาณดังกล่าว จัดเป็นอุปกรณ์ที่ต้องห้าม มิให้ผู้ใดทำมีไว้นำเข้านำออกหรือค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2558 โดยขนส่งทางบกจะเร่งรวบรวมหลักฐาน ที่มีผู้ขายผู้โฆษณาอุปกรณ์ดังกล่าวในทุกช่องทาง รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลของรถในระบบเพื่อดำเนินการตามกฎหมายทันที

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน