รับสังคมผู้สูงวัย สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ ดันพนักงานบริษัท ข้าราชการ ประชาชนอายุ 50-60 ปี พัฒนาศักยภาพเพื่อเป็นผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ส่งเสริมช่องทางตลาดอี-คอมเมิร์ซ ทั้งในและต่างประเทศ

นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (เอ็นอีเอ) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถาบันมีแผนที่ จะส่งเสริมให้พนักงานบริษัท ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 50-60 ปีขึ้นไป เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพเพื่อเป็นผู้ประกอบการและผู้ส่งออก รองรับประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย
คาดการณ์ว่าในปี 2564 ไทยจะมีประชากรอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป 20% ของประชากรทั้ง หมดของประเทศ เนื่องจากคนกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มมีศักยภาพ และหลายคนต้องการทำงานมากกว่าเกษียณอายุอยู่ที่บ้าน ดังนั้นหากได้รับ การฝึกอบรมทิศทางการทำธุรกิจ การเรียนรู้เทคโนโลยี และช่องทาง การตลาดผ่านอี-คอมเมิร์ซ จะช่วยให้ไทยมีผู้ประกอบการที่เข้มแข็งเพิ่ม ขึ้น

“ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะมีการส่งเสริมคนรุ่นใหม่ หรือคนวัยแรงงานในการเป็นผู้ประกอบการ แต่ในส่วนของผู้สูงอายุนั้นจะมีการพูดถึงน้อย ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญด้านส่งเสริมการออม ดังนั้นทางเอ็นอีเอ เห็นว่าจำเป็นต้องผลักดันผู้สูงอายุที่มีความพร้อมให้เป็นผู้ส่งออกด้วย เพราะกลุ่มนี้มีศักยภาพมากๆ และพร้อมที่จะปรับตัว เช่น หลายคนเริ่มหันมาเล่นไลน์ หรือเฟสบุ๊คเพื่อให้ตามทันกระแสโลกแล้ว หากแนะ นำให้รู้ระบบเรื่องของธุรกิจ การส่งเสริมช่องทางตลาดทั้งในและต่างประเทศ เชื่อว่าจะเกิดผลดี”

นอกจากนี้สถาบันยังมีกลยุทธ์ในการส่งเสริมเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพไทย ให้มีศักยภาพด้วยการจัดโครงการพัฒนาธุรกิจสู่การค้าระหว่าง ประเทศ (พีจีซี) ตามนโยบายเศรษฐกิจแบ่งปัน ซึ่งเป็นการช่วยให้ประชาชนทุกคนในประเทศสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างทั่วถึงทั้งใน ส่วนของกรุงเทพฯและภูมิภาค โดยโครงการพีจีซี ในปีนี้เป็นรุ่นที่ 3 ที่สถาบันจะผลักดัน ซึ่งมีผู้ประกอบการที่สนใจกว่า 1,250 รายทั่ว ประเทศเข้าร่วมโครงการเพื่อที่จะได้เรียนรู้การเขียนแผนธุรกิจ จากนั้นก็คัดเลือกให้เหลือ 200 แผนธุรกิจ และสุดท้ายก็จะคัดผู้ชนะที่เขียน แผนธุรกิจยอดเยี่ยมเหลือ 5 แผนธุรกิจต่อไป

นายนันทพงษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่า ผู้ส่งออกไทยทั้งหมดมีประมาณกว่า 30,000 ราย มีรายได้รวม 8 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่ 80% เป็น ธุรกิจเอสเอ็มอี แต่รายได้กลับมีเพียง 30% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ส่วนใหญ่ก็ตั้งบริษัทในกรุงเทพฯและปริมาณมณฑล ขณะที่ รายกลาง รายใหญ่ และบริษัทข้ามชาติที่ลงทุนในไทยมีปริมาณ 20% แต่กลับมีรายได้จากการส่งออก 70% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด
ดังนั้นจึงจำเป็น ต้องเพิ่มปริมาณธุรกิจเอสเอ็มอีให้สามารถเป็นผู้ส่งออกเพิ่มขึ้น เพราะหากมีธุรกิจเอสเอ็มอี หรือธุรกิจรายเล็กๆ ตามชุมชนต่างๆ ส่งออกได้ มากก็จะช่วยสร้างเศรษฐกิจฐานรากของไทยให้เข้มแข็งตามไปด้วย

“สถาบันยังให้ความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่มีกว่า 500,000 รายเพื่อมาพัฒนาศักยภาพ ขณะเดียว กันก็จะมีการติดตามผลผู้ที่เข้าโครงการฝึกอบกับเอ็นอีเออย่างเป็นรูปธรรมด้วย โดยในปีที่แล้วมีผู้เข้ามาอบรมความรู้และเข้ามาศึกษาข้อมูล กว่า 100,000 ราย และปีนี้ตั้งเป้าที่ฝึกอบรม 30,000 รายจาก 100 หลักสูตร”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน