กพท. เตรียมออกกฎ บีบสายการบินต่างชาติ จ่ายชดเชย กรณี”ดีเลย์-ยกเลิกไฟลท์” บังคับใช้ปีนี้ พร้อมขู่ ไม่ทำตามไม่ต่อไลนเซนส์บิน หลังคนไทยร้องเรียนถี่สายการบินจาก ตุรกี-รัสเซียไม่ดูแล

นายจุฬา สุขมานพ ผอ.สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้โดยสารคนไทยนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้นขณะนี้ กพท.อยู่ระหว่างเตรียมออกระเบียบการคุ้มครองสิทธิ์คนโดยสาร ที่ใช้เบริการสายการบินต่างชาติ เพื่อกำหนดมาตรการในการดูแลคุ้มครองผู้โดยสาร ซึ่งจะประกอบด้วย มาตรการดูแลด้านการกำหนดอัตราราคาค่าโดยสาร โดยอาจจะมีมาตราการการเข้าไปสุ่มตรวจราคาค่าโดยสารว่าเกินราคาเพดานสูงสุดหรือไม่,การตรวจสอบมาตรฐานการให้บริการว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่สายการบินระบุไว้หรือไม่

มาตรการดูแลและชดเชยผู้โดยสาร กรณีเที่ยวบินล่าช้า การยกเลิกเที่ยวบิน โดยขณะนี้ กพท.อยู่ระหว่างศึกษาอัตราค่าชดเชยที่เหมาะสมในแต่ละเส้นทาง ในรูปแบบของคูปองค่าอาหาร และห้องพัก รวมไปถึง มาตรการชดเชยกรณีสัมภาระผู้โดยสารได้รับความเสียหายจากการเดินทางกับเสายการบิน คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะประกาศบังคับใช้ได้ภายในปีนี้

“กฎหมายเดิมจะบังคับเฉพาะสายการบินที่จะเบียนในไทย ให้จ่ายค่าชดเชย แต่หลังจากนี้จะบังคับสายการบินต่างชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนในไทยต้องจ่ายชดเชยด้วย เนื่องจากที่ผ่านมาผู้โดยสารไทยเริ่มร้องเรียนสายการบินต่างชาติเข้ามามาก กรณีดีเลย์ หรือยกเลิกเที่ยวบิน โดยเฉพาะสายการบินจากประเทศตรุกี และรัสเซีย เราจึงต้องเพิ่มความคุ้มครองให้เท่าเทียมกัน ซึ่งหาก สายการบินต่างชาติปฏิเสธไม่ชดเชย กพท.จะใช้มาตาการตอบโต้ ไม่ต่อใบอนุญาตทำการบิน หรือไลเซนส์ ให้อีกเป็น ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยคุ้มครองผู้บริโภคจากการเอาเปรียบของผู้ประกอบการ”

นายจุฬากล่าวว่าขณะนี้มีสายการบินรายใหม่ยื่นขอใบอนุญาติประกอบกิจการการค้าขายการเดินอากาศ (AOL) จำนวน 1 รายคือ สายการบินไทยซัมเมอร์ ร่วมทุนระหว่างไทยและจีน และยื่นขอ ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (AOC)จำนวน 1 รายคือ สายการบินไทยอีสเตอร์ ร่วมทุนไทย และ เกาหลีใต้
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ที่ผ่านมา กพท. ออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศใหม่ (AOC) ให้แก่สายการบินเพิ่มอีก 2 รายคือ บริษัท บางกอกเฮลิคอปเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด ให้บริการเฮลิคอปเตอร์ขนส่งผู้ป่วยของโรงพยาบาลกรุงเทพและบริษัท แอ็ดวานซ์ เอวิเอชั่น ให้บริการเฮลิคอปเตอร์ให้เช่าแบบเหมาลำเพื่อการถ่ายภาพ และถ่ายทำข่าว

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เที่ยวบินประจำภายในประเทศ ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553 กรณีเที่ยวบินล่าช้า ผู้โดยสารจะได้รับการปฏิบัติจากสายการบิน ดังนี้
1. เที่ยวบินล่าช้าเกิน 2 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 3 ชั่วโมง อาหารและเครื่องดื่ม และโทรศัพท์ / โทรสาร / E-mail , ได้รับเงินค่าโดยสารคืน กรณีไม่ประสงค์จะเดินทางต่อ
2. เที่ยวบินล่าช้าเกิน 3 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 5 ชั่วโมงอาหารและเครื่องดื่ม และโทรศัพท์ / โทรสาร / E-mail , ได้รับเงินค่าโดยสารคืน หรือ เปลี่ยนเที่ยวบิน หรือ เดินทางโดยการขนส่งทางอื่น
3. เที่ยวบินล่าช้าเกิน 5 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 6 ชั่วโมง อาหารและเครื่องดื่ม และโทรศัพท์ / โทรสาร / E-mail , ได้รับเงินค่าโดยสารคืน หรือ เปลี่ยนเที่ยวบิน หรือ เดินทางโดยการขนส่งทางอื่น และ ค่าชดเชยเป็นเงินสดจำนวน 600 บาท เว้นแต่ สายการบินพิสูจน์ได้ว่าเที่ยวบินล่าช้าเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย
4. เที่ยวบินล่าช้าเกิน 6 ชั่วโมง ทั้งนี้ สายการบินต้องปฏิบัติต่อผู้โดยสารเช่นเดียวกับมาตรการในเรื่องการยกเลิกเที่ยวบิน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน