รศ.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของ เวิลด์ อีโคโนมิกส์ ฟอรั่ม หรือ ดับเบิลยูอีเอฟ ในประเทศไทย เปิดเผยว่ารายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ประจำปี 2559 ซึ่งเปรียบเทียบความสามารถการแข่งขันของ 138 ประเทศทั่วโลก โดย 10 อันดับแรก ยังคงเป็นประเทศเดิมๆ เพียงแต่อันดับเปลี่ยนไป แต่อย่างไรก็ดี 3 อันดับแรก ยังคงเป็นกลุ่มประเทศเดิม คือ สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์และ สหรัฐอเมริกา ตามลำดับ โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 34 ตกลงจากปีก่อนที่อยู่อันดับ 32 ในขณะที่คะแนนเท่าเดิม 4.6 จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน และหากเปรียบเทียบกับภูมิภาคเอเชีย พบว่าไทยมีขีดความสามารถอันดับ 10 แต่เมื่อเปรียบเทียบในภูมิภาคอาเซียนพบว่า เกือบทั้งหมดมีอันดับความสามารถในการแข่งขันลดลงจากปีที่แล้ว ยกเว้น กัมพูชาที่มีอันดับเพิ่มขึ้นเป็น 89 จาก 90 ส่วนสิงคโปร์ อันดับ 2 เท่าเดิม

หากเปรียบเทียบกับดัชนีความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในด้านที่มีอันดับที่ดีขึ้น ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งได้คะแนนเพิ่มขึ้นจาก 5.7 เป็น 6.1 และอยู่ในอันดับ 13 ถือว่าปรับดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากอันดับที่ 27 ในปีที่แล้ว โดยที่การปรับอันดับดีชึ้นจากในแง่ สมดุลในงบประมาณภาครัฐ สัดส่วนการออมของประเทศต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติที่สูงขึ้น และสัดส่วนหนี้รัฐบาลต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติที่ลดต่ำลง ที่สำคัญคือ ในด้านนวัตกรรมได้อันดับดีชึ้นจาก 57 เป็น 54 ในขณะที่ได้คะแนนยังอยู่เท่าเดิม

อย่างไรก็ดี ดับเบิ้ลยูอีเอฟ มีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ ต่อการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย และเพื่อให้ไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตต่อไปได้ ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของนวัตกรรมเป็นพิเศษ เพื่อเตรียมรองรับต่อการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 ตามที่รัฐบาลมุ่งเน้นมาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา ซี่งประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับทักษะของบุคคลากรที่จำเป็นสำหรับอนาคตในการพัฒนาของภาคธุรกิจ และความสามารถทางด้านนวัตกรรม ขณะเดียวกันหากประเทศไทยยังไม่เร่งผลักดันการพัฒนาภาคธุรกิจด้านนวัตกรรมเพิ่มขึ้น และหากประเทศไทยไม่มีการผลักดันเรื่องนวัตกรรมอย่างจริงจัง คะแนนด้านนวัตกรรมของไทยก็จะอยู่เท่าเดิม แต่อันดับจะลดลง เนื่องจากประเทศอื่นๆ ทำได้ดีกว่า

ขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่า มื่อเปรียบเทียบประเทศไทยกับภาพรวมของการจัดอันดับทั้งโลก ปรากฏว่า ดัชนีชี้วัดที่น่าสนใจของประเทศไทย ที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 30 อันดับแรกของโลกนั้น ประกอบด้วย สมดุลในงบประมาณรัฐบาล และ สัดส่วนการออมของประเทศต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้อยู่ในอันดับที่ 13 ดีขึ้นอย่างมากจากปีที่แล้วที่อยู่อันดับที่ 46 และ 26 ตามลำดับ ส่วนขนาดของตลาดทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดภายในประเทศ ได้รับการจัดอันดับที่ 13 และ 22 ตามลำดับ รวมถึง สัดส่วนของการส่งออกต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ก็ได้รับการจัดอันดับที่ 18 นับเป็นอันดับที่สูงมากเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นทางด้าน บริการทางการเงินที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจ ได้อันดับที่ 23 ปัจจัยด้านการตลาด ได้รับอันดับที่ 24 และ ระดับการมุ่งเน้นลูกค้า ได้รับอันดับที่ 26 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในระดับโลก

00

ด้านนายสมคิด กล่าวว่า การจัดอันดับขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของเวิร์ด อีโคโนมิค ฟอร์รัม อันดับของไทยตกลงมา 2 อันดับ แต่ประเทศเพื่อนบ้านตกมากกว่า โดยประเทศมาเลเซียตกลงไป 7 อันดับ ฟิลิปปินส์ตกลงไป 10 อันดับ อินโดนีเซียและเวียดนามตกลงไป 4 อันดับ และลาวตกลงไป 10 อันดับ เมื่อดูรายละเอียดของการจัดอันดับ พบว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเพิ่มขึ้น 10 อันดับ จากอันดับที่ 27 มาอยู่ที่ 13 ด้านนวัตกรรมก็อันดับดีขึ้น ด้านการศึกษายังไม่ดีขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลรู้ปัญหาและแก้ไขอยู่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า หากเปรียบกับประเทศในอาเซียน ไทยอันดับของไทยยังตกน้อย เหมือนอย่างประเทศมาเลเซีย ตกไป 7 อันดับ และเวียดนาม 4 อันดับ ซึ่งเมื่อดูประเด็นต่างๆ ในส่วนที่ทำให้อันดับตกลง คือ ในด้านสุขภาพ ตกไป 5 อันดับ และความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและสาธารณูปโภค ตกไป 5 อันดับ อาจเป็นเพราะสาเหตุการได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและยังไม่มีการอัพเดทข้อมูล ซึ่งที่ผ่านมาไทยมีการลงทุนและให้ความสำคัญต่อนวัตกรรมและการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาที่เน้นระดับอุดมศึกษา ทำให้ 3 ประเทศเจอประเด็นเดียวกัน คือ ไทย มาเลเซีย และจีน

สุวิทย์ เมษินทรีย์

สุวิทย์ เมษินทรีย์

“ขณะที่ประเด็นที่ดีขึ้น คือเศรษฐกิจมหาภาค จากการใช้จ่ายของภาครัฐ ส่งเสริมการออมให้มากขึ้น คุณภาพทางการศึกษา และการปรับปรุงในด้านนำนวัตกรรมมาใช้ ซึ่งส่วนนี้ดีขึ้นถึง 3 อันดับ ผมมองว่าไม่น่าห่วงเพราะหลายประเทศในอาเซียนอันดับตกต่ำมากกว่าไทย ซึ่งทิศทางด้านการศึกษา นวัตกรรม และการเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้ มีทิศทางดีขึ้น สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลผลักดันสู่ไทยแลนด์ 4.0”นายสุวิทย์ กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน