เกษตรกรอุทัยฯแฮปปี้ รัฐเปิดตลาดหนุนขายตรง

คอลัมน์ – รายงานพิเศษ

รายงานพิเศษ – วันก่อนน..มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.กระทรวงเกษตรฯ พร้อมด้วยนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่ต.ระบำ .ลานสัก .อุทัยธานี เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล (คทช.) อันเป็นการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนหวงห้ามของรัฐ พื้นที่ต้นน้ำ โดยทางคทช.อุทัยธานีได้รับมอบพื้นที่ป่าห้วยระบำ .ระบำ และต.ลานสัก .ลานสัก เนื้อที่ 3,239 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา ซึ่งเดิมเป็นที่ดินแปลงว่างที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) เคยใช้ประโยชน์และหมดสัญญาเช่าจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตร กรรม (...) มาจัดสรรให้กับเกษตรกร 486 ราย เข้าอยู่อาศัยในลักษณะแปลงรวม แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ และบริหารจัดการที่ดินในรูปแบบสหกรณ์ ในนามสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินระบำ จำกัด

รมช.เกษตรฯ ถ่ายภาพร่วมกับสมาชิกสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินระบำ

ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ทางสหกรณ์ได้เชิญเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการปลูกพืชผักมาให้สื่อมวลชนได้พูดคุย 2 ราย คนแรกคือนางอมรรัตน์ ปัญญาสิทธิ์ เกษตรกรปลูกบวบ และนายวีรชาติ ช้างชุ่ม เกษตรกรปลูกมะระ ซึ่งทั้งสองมีรายได้จากปลูกมะระและบวบรอบละหลายหมื่นบาท

นางอมรรัตน์เล่าว่า ก่อนเข้ามาร่วมโครงการนี้เคยทำงานในทีมงานวิจัยพันธุ์พืชและสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง .อุทัยธานี ต่อมาพ่อให้มาทำไร่ทำนาในพื้นที่ ซึ่งอยู่ในเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยพืชที่ปลูกมักได้รับผลผลิตไม่เต็มที่เพราะมีช้างป่าและสัตว์ป่าลงมากิน บางครั้งมีฝูงลิง 50-60 ตัวลงมากินผลผลิต เกษตรกรหลายรายต่างเจอปัญหาเช่นเดียวกัน กระทั่งทางการให้ออกจากพื้นที่อนุรักษ์และจัดสรรที่ใหม่ให้ โดยทางโครงการช่วยเหลือในเรื่องของการสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยให้ในราคาหลังละ 40,000 บาท บนพื้นที่ 1 งาน 20 ตารางวา และจัดพื้นที่ทำกินให้ 4 ไร่ 2 งาน

ก่อนหน้านี้ตั้งใจจะไปหางานทำที่กทม.เพราะพื้นที่ที่นี่แห้งแล้งมาก มีแต่หินและกรวด ส่วนพื้นที่จะให้คนอื่นเช่า แต่เงินหมดเลยไปรับจ้างเป็นคนงานในไร่บวบได้วันละ 250 บาท เพื่อเก็บเงินไปกทม. แต่ก็อยากลองปลูกบวบเองดู ซึ่งมีที่ส...ว่างอยู่และให้เกษตรกรทำกินได้ จึงนำเงินที่รับจ้างดูแลแปลงผัก 5,000 บาท และกู้มาอีก 10,000 บาท ลงทุนทำโครงสร้างปลูกบวบในพื้นที่ 1 ไร่ ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จ เก็บผลผลิตรอบเดียวขายได้ 82,746 บาท โดยส่งขายที่ตลาดสี่มุมเมือง

ในการปลูกบวบใช้เวลาประมาณ 3 เดือน คือปลูกแล้ว 45 วันจะได้ตัดมีดแรก จากนั้นเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้ง 3 เดือน พอปลูกบวบเสร็จแล้วจะปลูกมะระต่อ เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องโรคและแมลง

อมรรัตน์ ปัญญาสิทธิ์ กับแปลงบวบ

นางอมรรัตน์บอกว่า การปลูกผักได้กำไรดี เลยจะขยายด้วยการทำผักกางมุ้ง และปลูกพืชผักรอบๆ บ้าน ตัดสินใจแล้วว่าจะไม่ไปหางานทำที่กทม.แล้ว เพราะมีรายได้ที่ดีกว่าที่สำคัญได้อยู่กับครอบครัว ตอนนี้ได้ชวนเพื่อนบ้านให้ปลูกพืชผักสวนครัว ที่ผ่านมาเริ่มมีชาวบ้านมาปลูกกันมากขึ้น ทางหน่วยงานราชการก็เข้ามาให้คำแนะนำส่งเสริม อย่างดินที่ใช้เพาะปลูกไม่ดีก็มีหน่วยงานนำปุ๋ยและแนะนำให้ผลิตเองเพื่อใช้ในแปลงปลูก

ด้านนายวีรชาติเล่าว่า เรียนจบชั้น .6 เดิมอาศัยอยู่ที่บ้านห้วยคตเป็นพื้นที่ป่า ไม่มีเอกสารสิทธิ ทำเกษตรโดยปลูกมันสำปะหลังกับข้าวโพด ใช้เวลา 10 เดือน ได้เงินไม่ถึง 10,000 บาท ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อได้ที่ดินในโครงการคทช. ตั้งแต่เดือนเม..ที่ผ่านมา เป็นโฉนดรวมของส... แม้จะขายสิทธิ์ไม่ได้ แต่สามารถทำกินไปจนชั่วลูกชั่วหลาน จึงหันมาปลูกผัก ทดลองปลูกมะระจีนผสมผสานกับพืชผักชนิดอื่นๆ ในพื้นที่ 2 ไร่ ขุดสระ ใช้น้ำสปริงเกลอร์ ลงทุนเพียง 15,000 บาท ใช้เวลา 45 วันเก็บขายได้ 90,000 บาท ทำให้มีรายได้ที่มั่นคง แม้บางครั้งราคาพืชผลของพืชบางชนิดจะตกแต่ก็ยังมีพืชชนิดอื่นมาทดแทนทำให้มีรายต่อเนื่องตลอดทั้งปี

ทั้งนี้ทางสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินระบำ จำกัด ได้เชื่อมโยงเครือข่ายกับสหกรณ์นิคมลานสัก จำกัด สนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่คทช.ระบำปลูกผัก ตั้งแต่ต้นปี 2562 มีเกษตรกรเข้าร่วม 25 ราย โดยหันมาทำแปลงผัก ปลูกบวบ แตงร้าน ถั่วฝักยาว แฟง ฟักทอง และกวางตุ้ง

สำหรับการลงพื้นที่ของน..มนัญญาครั้งนี้ ยังได้เป็นประธานเปิดตลาดสินค้าเกษตรของสหกรณ์นิคมลานสัก จำกัด เพื่อให้เกษตรกรมีตลาดเป็นของตัวเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง อีกทั้งในอนาคตทางสหกรณ์จะส่งเสริมให้สมาชิกปลูกผักให้ได้มาตรฐาน GAP ทุกแปลง และจะพัฒนาแพ็กเกจจิ้งตามความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงเชื่อมโยงกับห้างโมเดิร์นเทรด เพื่อส่งผักของสมาชิกสหกรณ์ไปจำหน่าย พร้อมวางระบบการผลิตที่ให้ผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง

ตลาดแห่งนี้เปิดขายทุกวันตั้งแต่ 08.00 – 16.00 . ช่วงแรกมีเกษตรกรรายย่อย 15 รายนำผักจากแปลงมาวางขาย และยังมีเกษตรกรอีกกว่า 60 ราย รวบรวมผักบรรจุใส่ถุงขนาดใหญ่มาขายส่งให้กับพ่อค้าและผู้บริโภค เบื้องต้นคาดว่าปริมาณผักที่จะจำหน่ายในตลาดแห่งนี้ประมาณ 5 ตัน/วัน

..มนัญญาให้สัมภาษณ์ว่า เน้นให้เกษตรกรลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของเกษตรกรเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จะจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ในการปลูกพืชแบบอินทรีย์ตามนโยบายของรัฐบาล และให้ปลูกพืชในระบบหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรของแมลงศัตรูพืช และมีผลผลิตออกมาอย่างหลากหลายควบคู่กับส่งเสริมให้จัดทำระบบบัญชีครัวเรือนและบัญชีฟาร์มอีกด้วย

เท่าที่ดูเกษตรกรมีความพร้อมในเรื่องการผลิตที่ได้คุณภาพ และการเปิดตลาดครั้งนี้ถือเป็นแห่งแรกที่จะรวบรวมสินค้าเพื่อส่งต่อไปยังตลาดในกรุงเทพฯ และคนในพื้นที่ก็จะได้บริโภคของดีด้วย เพราะเน้นการเพาะปลูกแบบปลอดภัย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย โดยคนที่มาท่องเที่ยวสามารถซื้อสินค้าเกษตรที่ดีมีคุณภาพในตลาดแห่งนี้ได้

สำหรับการขยายโมเดลอุทัยธานีดังกล่าวไปยังจังหวัดอื่นๆ นั้น รมช.เกษตรฯผู้นี้ระบุว่า คิดว่าทุกจังหวัดคงพร้อมแล้ว และจากสังเกตพบว่าเกษตรกรในพื้นที่มีสภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น หน้าชื่นตาบานไม่ได้อยู่ในสภาพยากลำบาก ต่อไปจะมีการจัดทำสติ๊กเกอร์บอกถึงที่มาของพืชผักว่ามาจากอุทัยธานีที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปลอดสารพิษ

นับเป็นโครงการที่ดีที่ทำให้เกษตรกรมีพื้นที่ทำกินและปลูกพืชผักปลอดภัย อีกทั้งมีแหล่งขายแน่นอน แต่คงต้องติดตามกันต่อไปว่าโครงการดีๆ แบบนี้จะมีความยั่งยืนและต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน

โดย – ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน