นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวในงานสัมมนา “ค่าเงินบาทแข็ง เอสเอ็มอี แก้ได้อย่างไร” จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ว่า ขณะนี้ค่าเงินบาท 33.93 บาทต่อเหรียญ ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับค่าเงินบาทในช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา แต่ยอมรับว่าแข็งค่าขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 3-4% แต่ก็ไม่ได้แข็งเป็นที่หนึ่งในภูมิภาค เพราะมีบางประเทศที่ค่าเงินแข็งค่ามากว่าไทย

แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องหาแนวทางในการช่วยเหลือเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) และประกันความเสี่ยงให้หลังเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเชิญธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ ตลอดจนภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ มาให้ความรู้และเทคนิคบริหารจัดการความเสี่ยงด้านค่าเงินบาท ซึ่งทางธนาคารรายใหญ่พร้อมให้การสนับสนุนและในกรณีที่เอสเอ็มเอต้องการทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการแข่งขันทางการส่งออกเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง โดยมั่นใจว่าตัวเลขการส่งออกของไทยเฉลี่ยทั้งปีจะขยายตัวได้ 5% ตามเป้าหมาย

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทางสอรอทอมีการประเมินผลกระทบจากค่าเงินบาทจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกในช่วงไตรมาส 3 และ 4 เนื่องจากในช่วงไตรมาส 3 การส่งออกของไทยจะอยู่ในช่วง ที่การส่งออกมีปริมาณน้อยกว่าในทุกไตรมาส และจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 4 แต่หากในไตรมาส 4 คำสั่งซื้อยังนิ่งก็แสดงว่าค่าเงินที่แข็งขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยแล้ว ซึ่งหลังจากนี้หน่วยงานที่กำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยน ต้องกำกับดูแลไม่ให้ค่าเงินมีความผันผวนมากเกินไป

ขณะเดียวกันภาคเอกชน จะต้องมีการทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะภาคธุรกิจเอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม สรท. ยังไม่มีการรับประมาณการณ์ตัวเลขการส่งออก ยังคาดว่าจะขยายตัว 3.5% แต่ยังต้องมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ น.ส.กัณญภัค ยังกล่าวถึงผลกระทบจากการเลือกตั้งสหราชอาณาจักร ว่า นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อการเดินหน้านโยบายการผลักดันให้สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป หรือ BREXIT ยังส่งผลให้ค่าเงินปอนด์สเตอริงอ่อนค่าลงในทันที ทำให้ในระยะสั้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกสินค้าสำหรับการอุปโภคบริโภคโดยตรงในระดับปานกลางถึงมาก เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินปอนด์สเตอริง ในขณะที่สถานการณ์ค่าเงินเฟ้อรุนแรงมากขึ้นจากระดับ 2.7% ในเดือนเม.ย. เป็น 2.9% ในเดือนพ.ค. จะเป็นแรงฉุดให้การบริโภคของผู้บริโภคลดต่ำลง

ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มไก่แปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และเครื่องนุ่งห่ม ตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป เนื่องจากผู้นำเข้าจะหันไปสั่งซื้อสินค้าจากแหล่งผลิตที่มีต้นทุนต่ำกว่าเข้ามาทดแทนสินค้าไทย และประเทศอังกฤษเองก็หันไปใช้นโยบายเน้นการผลิตภายในประเทศให้มากขึ้นเนื่องจากสหราชอาณาจักรมีสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศกับภาคพื้นยุโรปมากถึงประมาณ 40% และสินค้าหลายรายการมีการนำเข้าจากทั่วโลก เพื่อประกอบและผลิตเป็นสินค้าเพื่อส่งขายให้กับผู้บริโภคในสหภาพยุโรป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน