นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง และร่างประกาศของคณะกรรมการปิโตรเลียม ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม พ.ศ. 2517 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560 จำนวน 4 ฉบับ เพื่อเป็นปฏิรูปกระบวนการปิโตรเลียมของประเทศไทย โดยมีการกำหนดในเรื่องสัญญาการแบ่งปันผลผลิต หรือ สัญญาจ้างบริการ มาใช้บริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม นอกเหนือจากให้สัปทาน

เพื่อเป็นการปฏิรูปกระบวนการปิโตรเลียมของประเทศไทย โดยมีการกำหนดในเรื่องสัญญาการแบ่งปันผลผลิต หรือ สัญญาจ้างบริการ มาใช้บริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม จากให้สัปทานที่เดิมปฏิบัติกันมา โดยร่างประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียม เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการขอและการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต การกำหนดแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไขและระยะเวลานำส่งค่าภาคหลวงให้รัฐ รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดพื้นที่ที่ดำเนินการสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในรูปแบบของสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิตหรือสัญญาจ้างบริการ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนต.ค.นี้เป็นต้นไป เพื่อรองรับการเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมรอบที่ 21

สาระสำคัญของกฎกระทรวงและร่างประกาศฯ โดยสรุป คือการกำหนดพื้นที่สำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมใน 3 รูปแบบ หากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ คือ มีปริมาณน้ำมันสูงถึงแหล่งละ 300 ล้านบาร์เรล หรือหลุมละ 4 ล้านบาร์เรล หรือมีปริมาณก๊าซธรรมชาติในแต่ละแหล่งสูงถึง 3 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุต หรือ 40,000 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อหลุมพื้นที่ที่คาดว่ามีแหล่งปิโตรเลียมสูงสุดได้แก่ อ่าวไทย ที่มีโอกาสถึง 50% จากการขุดสำรวจในช่วงที่ผ่านมา รองลงมาคือภาคเหนือและภาคกลาง มีโอกาส 31% ภาคอีสาน 14% ส่วนพื้นที่บนบกในภาคใต้และในทะเลอันดามัน ไม่มีโอกาส หรือ 0%

สำหรับรายละเอียดของสัญญาขุดเจาะปิโตรเลี่ยม ในพื้นที่ใดที่มีศักยภาพต่ำกว่าให้พิจารณาจากค่าเฉลี่ยของปริมาณปิโตรเลียมในระดับเฉลี่ย 39% ของค่าเฉลี่ยในการขุดเจาะปิดตรเลี่ยมทั่วประเทศ กำหนดให้ใช้รูปแบบสัญญาสัมปทาน แต่หากมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 39% ให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งกระทรวงพลังงานรายงานว่าพื้นที่ที่คาดว่ามีแหล่งปิโตรเลียมสูงสุดได้แก่ อ่าวไทย ที่มีโอกาสถึง 50% จากการขุดสำรวจในช่วงที่ผ่านมา รองลงมาคือภาคเหนือและภาคกลาง มีโอกาส 31% ภาคอีสาน 14% ส่วนพื้นที่บนบกในภาคใต้และในทะเลอันดามัน ไม่มีโอกาส หรือ 0%

“ร่างกฎกระทรวง และร่างประกาศของคณะกรรมการปิโตรเลียม ที่ครม.เห็นชอบในครั้งนี้ มีสาระสำคัญหลัก คือ การเพิ่มหลักการแบ่งปันผลผลิต การใช้สัญญาจ้างบริการ เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการปิโตรเลียมของประเทศ จากเดิมที่จะมีเพียงแต่เรื่องการให้สัมปทาน เนื่องจากมีหลายภาคส่วนเห็นว่า ในกรณีที่สำรวจพบปิโตรเลียมในปริมาณที่สูง ภาครัฐก็ควรรักษาปิโตรเลียมของไทยไว้ โดยไม่ให้ผลประโยชน์นั้นตกไปอยู่กับบริษัทเอกชนมากเกินไป จึงต้องมีระบบการแบ่งปันผลผลิตเข้ามาใช้เป็นกลไกให้แก่รัฐ”

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้ที่ได้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต ต้องส่งค่าภาคหลวงให้รัฐ โดยหักจากผลผลิตรวมของปิโตรเลียม 10% โดยให้หักจากเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายผลผลิตรวมของปิโตรเลียมและยื่นแบบแสดงรายการนำส่งค่าภาคหลวง พร้อมนำส่งค่าภาคหลวงเป็นเงินบาทให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทุกเดือน รวมทั้งกำหนดให้ผู้ยื่นขอรับสัญญาแบ่งปันผลผลิต สามารถสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรวมกันแล้วไม่เกิน 39 ปี แยกเป็นการสำรวจช่วงแรกไม่เกิน 6 ปี ต่ออายุได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 3 ปี และกำหนดเวลาการผลิตไม่เกิน 20 ปี โดยต่ออายุได้ครั้งเดียว ไม่เกิน 10 ปี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน