นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจร้านอาหารในช่วงที่ผ่านมาได้รับผลกรทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับพืชผลทางการเกษตรไม่ได้ราคา อุตสาหกรรมประมงส่งออกชะงัก ตลอดจนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลลงไม่ถึงรากหญ้า ทำให้ผู้บริโภคในประเทศรัดเข็มขัด โดยลดการใช้จ่าย โดยเฉพาะ ลดความถี่ในการใช้บริการร้านอาหารนอกบ้านลง ยิ่งไปกว่านั้นยังลดปริมาณการสั่งอาหารลงด้วย ที่สำคัญลดเมนูที่ผู้ประกอบการสามารถทำราคาได้ อาทิ เมนูอาหารทะเลอย่างปลาและกุ้ง เป็นต้น

รวมไปถึงธุรกิจร้านอาหารเปิดใหม่ค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 1 แสนร้าน ทั้งร้านรถเข็นแผงลอย ที่มีอีกกว่า 3 แสนราย ทำให้เกิดการแข่งขันสูง ส่งผลให้ยอดขายของบรรดาร้านอาหารมีแบรนด์ลดลง 20-30% และร้านอาหารไม่มีแบรนด์ลดลงถึง 50% ในขณะที่ต้นทุนการบริหารจัดการของร้านอาหารยังคงเท่าเดิมทั้งค่าเช่าร้าน ค่าจ้างแรงงาน ส่วนต้นทุนวัตถุดิบอาหารมีแต่จะวิ่งขึ้น ทำให้กำไรของร้านอาหารลดลง ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากเดิมร้านอาหารจะให้ส่วน 15-20% แต่ปัจจุบันให้ส่วนลดเต็มที่ 10% และยังรับเฉพาะเงินสด

ยิ่งไปกว่านั่นคือ การมาของธุรกิจบริการอาหารออนไลน์ ที่ไม่มีหน้าร้านซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 รายแล้ว ทำให้ร้านอาหารปรับตัวไม่ทัน ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ ที่หันมาใช้บริการสั่งอาหารโดยเฉพาะอาหารประเภทคลีนฟู้ดทางช่องทางออนไลน์ตามเพจเฟซบุ๊กต่างๆ มากขึ้น ซึ่งบางรายไม่มีหน้าแต่มียอดขายต่อเดือนถึง 100 ล้านบาท และปัจจุบันคาดว่ามูลค่าตลาดอาหารออนไลน์ สูงถึง 4,000 ล้านบาท

ซึ่งจากการวิจัยตลาดของ อูเบอร์ อีท ระบุว่าแนวโน้มร้านอาหารในประเทศไทยจะมีขนาดเล็กลง อีกทั้งเจ้าของธุรกิจอาหารอินไลน์ไม่ต้องเสียค่าบริการให้กับผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นส่งอาหารออนไลน์ อย่างอูเบอร์อีท แต่จะไปเรียกเก็บค่าบริการส่งจากผู้บริโภคแทน

“ตอนนี้ร้านอาหารในไทยอยู่ในภาวะทำมากแต่ได้เงินนิดเดียว ดังนั้นต้องรุกขึ้นมาปรับตัวเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ เพิ่มจากช่องทางหน้าร้านที่เปิดอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะร้านอาหารท้องถื่นที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ควรมีการทำตลาดผ่านเฟซบุ๊ก เนื่องจากสามารถสื่อสารไปได้ทั่วโลก”

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน