นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง กล่าวว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ของคณะกรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นให้ควรเว้นภาษีที่ดินเพื่ออยู่อาศัยให้ไม่เกิน 20 ล้านบาท จากที่รัฐบาลได้เสนอให้เว้นไม่เกิน 50 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สนช. เห็นให้ลดอัตราภาษีเก็บจริงสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยให้ลดลง เพื่อไม่เป็นภาระกับผู้มีบ้านมากจนเกินไป

นอกจากนี้ กรรมาธิการยังต้องพิจารณาว่า เมื่อลดการเว้นภาษีบ้านไม่เกิน 50 ล้านบาท จะต้องไปลดการเว้นภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรลงด้วยหรือไม่ เพื่อให้มีความสอดคล้องกันและเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีทุกกลุ่ม

“หลังจากนี้ จะต้องให้ สนช. เห็นชอบในวาวะ 3 ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะทำได้ภายในปีนี้ โดยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในปี 2562”นายวิสุทธิ์ กล่าว

รมช.คลัง กล่าวว่า ที่ผ่านากรรมาธิการได้ขยายเวลาการพิจารรษร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินเพิ่มอีก 60 วัน ซึ่งจะสิ้นสุดเดือน ก.ย. 2560 นี้ อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้การหยุดประชุมหลายครั้ง ทำให้อาจจะต้องขยายเวลาการพิจารณาอีกครั้งเป็นเวลา 30 หรือ 60 วัน เพื่อพิจารณารายละเอียดของกฎหมายอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีข้อเสนอจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามาให้พิจารณาจำนวนมาก

ทั้งนี้ อัตราเพดานภาษีที่รัฐบาลเสนอให้ สนช. พิจารณา แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. ที่ดินเพื่อการเกษตรมีเพดานภาษี 0.2% และให้เว้นเก็บภาษีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่ดินมูลค่า 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ให้เก็บ 0.10%

ประเภทที่ 2 เป็นที่ดินเพื่อยู่อาศัยเพดานภาษี 0.5% เว้นภาษีบ้านหลังแรกมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท บ้าน 50-100 ล้านบาท ให้เก็บบภาษี 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10% สำหรับบ้านหลังที่ 2 มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.03% บ้าน 50-100 ล้านบาท ให้เก็บบภาษี 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10%

ประเภทที่ 3 ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ และประเภทที่ 4 ที่ดินว่างเปล่า กำหนดเพดานภาษีไม่เกิน 2% โดยมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท เสียภาษี 0.3% มูลค่า 20-50 ล้านบาท เสีย 0.5% มูลค่า 50-100 ล้านบาท เสีย 0.7% มูลค่า 100-1,000 ล้านบาท เสีย 0.9% มูลค่า 1,000-3,000 ล้านบาท เสีย 1.2% และมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านบาท เสีย 1.5%

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของที่ดินว่างเปล่า หากไม่ใช้ประโยชน์จะเก็บเพิ่มขึ้น 0.5% ทุกๆ 3 ปี แต่สุดท้ายต้องไม่เกิน 5%

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน