รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า เมื่อช่วงกลางปี 2564 สถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นสถาบันระดับโลกที่จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ทำการประกาศผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ปี 2564 (ค.ศ. 2021) โดยพบว่าประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมอยู่ในอันดับที่ 28 จาก 64 เขตเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวน 1 อันดับ โดยเมื่อปี 2563 อยู่ในอันดับที่ 29

เมื่อพิจารณาเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานพบว่าไทย มีอันดับดีขึ้น 1 อันดับ คือ ปรับจาก อันดับที่ 44 ปีก่อน มาเป็น 43 ในปีนี้ และเมื่อพิจารณาถึงเกณฑ์ชี้วัดสำคัญ 4 ด้าน คือโครงข่ายถนน, โครงข่ายทางราง, การขนส่งทางอากาศ และคุณภาพของการขนส่งทางอากาศ พบว่า โครงข่ายทางถนน (Roads) ของมีอันดับดีขึ้น 12 อันดับ คือปรับจากอันดับ 28 เป็น 16, โครงข่ายทางราง (Railroads) มีอันดับลดลง 3 อันดับ คือปรับจากอันดับ 42 เป็น 45, การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation) อันดับคงที่ อยู่ในอันดับที่ 16 ปี เท่ากับปีก่อน และคุณภาพของการขนส่งทางอากาศ (Quality of Air Transportation) มีอันดับคงที่ ในอันดับ ที่ 31 เท่ากับปีก่อน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า IMD ได้ประเมินคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานและจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยพิจารณาจากข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลระบบขนส่งและจราจร และข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็น โดยเสนอแนะให้ภาครัฐบาลไทยจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มอันดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ใช้โครงสร้างพื้นฐาน

โดยจะต้องเร่งรัดพัฒนาโครงข่ายทางถนน และโครงข่ายทางรางให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อเชื่อมโยงการเดินทาง และการขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขผลกระทบจากโรค COVID-19เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรที่จะต้องส่งเสริมการพัฒนาด้วยการร่วมลงทุนกับภาคเอกขน ,ด้านการขนส่งทางอากาศต้อง บริหารจัดการจำนวนคนต่อเที่ยวบินให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในการเดินทาง, ปรับปรุงระยะทางถนนและระยะทางรางให้เป็นปัจจุบันทุกปี และจัดทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน, การปรับปรุงเพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจในภาพรวมพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีบุคลากรในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเช่นอุตสาหกรรมรางอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงเป็นต้น โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้มีประสบการณ์จริง นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน