“กฤษดา”

13ตัวเลขข้างบน เป็นจำนวนสาขาที่หนังเรื่องนี้ได้เข้าชิงอคาเดมีอวอร์ดส์ หรือ รางวัลออสการ์

ทั้ง 13 สาขาที่เข้าชิงได้แก่ หนังยอดเยี่ยม ผู้กำกับฯ ผู้แสดงนำหญิง ผู้แสดงสมทบชายและหญิง บทภาพยนตร์ดั้งเดิม

กำกับภาพ ตัดต่อ ออกแบบเครื่อง แต่งกาย ออกแบบงานสร้าง ผสมเสียง ตัดต่อเสียง และดนตรีประกอบ

กล่าวได้ว่าเข้าชิงเกือบครบทุกสาขา ถ้านับเฉพาะสาขารางวัลใหญ่ ขาดไปเพียงแค่สาขาผู้แสดงนำชาย สาขาเดียวเท่านั้น

นอกจากจำนวนสาขารางวัลที่ได้เข้าชิง ยังมีประเด็นที่อยากตั้งข้อสังเกต 3 ข้อ

ข้อแรก เป็นการเข้าชิง 13 รางวัลของหนังลงทุนน้อย ต้นทุนสร้างของหนังอยู่ที่ราว 20 ล้านดอลลาร์

ข้อสอง เป็นหนังลงทุนน้อยที่ได้เข้าชิงสาขาทางด้านงานออกแบบ และงานเทคนิคด้านเสียง ซึ่งเป็นกรณีที่หายากยิ่ง

และ ข้อสาม ในจำนวน 13 สาขาที่ได้เข้าชิง มีทั้งสาขารางวัลด้านการแสดง (3) สาขาด้านการออกแบบ (2) และสาขาเทคนิคด้านเสียง (2) ซึ่งปรากฏไม่บ่อยครั้งนัก

นอกจากได้เข้าชิงรางวัลออสการ์แล้วยังได้เข้าชิง อคาเดมีอวอร์ดส์ ของอังกฤษ จำนวนใกล้เคียงกันคือ 12 สาขารางวัล

แน่นอนทีเดียว คำถามลำดับต้นๆ น่าจะเป็นคำถามทำนองว่า “ดีแค่ไหน?” “เหมาะสมกับจำนวนสาขารางวัลที่ได้เข้าชิงหรือไม่?” และ “ดีแบบที่ต้องพกพาราฯ ไปด้วยหรือเปล่า?” หรือ “ถ้าลืมเรื่องรางวัล หนังเป็นเช่นไร?”

ผมตอบทีละข้อ

หนึ่ง เป็นหนังที่ดีระดับยอดเยี่ยม ทั้งในด้านบทฯ การกำกับฯ การถ่ายภาพ และตัดต่อ

สอง ไม่สงสัยเรื่องความเหมาะสมกับจำนวนสาขาที่เข้าชิง ยกเว้นผู้แสดงสมทบหญิง ที่ผมว่าน้ำหนักของบทบาทดูน้อยไป

สาม ไม่ต้องพกไป ยกเว้นปวดศีรษะเป็นประจำอยู่แล้ว หรือมักมีอาการร่วมกับการที่เส้นศีลธรรมถูกกระทบ

สี่ เหมือนข้อหนึ่ง ตามด้วยความคิดที่ว่าลืมเรื่องรางวัลไปได้ อย่างไร

ผมว่าจุดเด่นที่สุดของหนังคือ การแสดงของผู้แสดงนำหญิง และบทภาพยนตร์

โดยผู้แสดงสามารถทำให้เชื่อในการเป็นตัวละคร ในทุกๆ การกระทำ

ในส่วนของบทฯ นี่คือเรื่องที่มีความคิดริเริ่ม และเล่าเรื่องราวที่ “มหัศจรรย์”

ถ้าหากหนังจะได้รางวัลออสการ์ ก็น่าจะได้จาก 2 สาขานี้

“กฤษดา” ให้ “สี่ดาว” WTHE SHAPE OF WATERW

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน