ปรับตัวเล่นเรียนรู้-วิถีใหม่เด็กไทย

ปรับตัวเล่นเรียนรู้-วิถีใหม่เด็กไทย – เพราะเด็กๆ เยาวชนได้รับผล กระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อสถาบันการศึกษาปิดยาว และเด็กต้องใช้ชีวิตแบบ ‘New Normal’ ร่วมกับผู้ใหญ่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงพยายามศึกษาระดมความคิดความเห็นหาทางแก้ปัญหาให้กับเด็กๆ และผู้ปกครอง

ปรับตัวเล่นเรียนรู้-วิถีใหม่เด็กไทย : รายงาน สสส.

งานแถลงข่าว “ชีวิตวิถีใหม่ ของเด็กไทย New Normal for Thai Children” ของสสส. เชิญ นายวราวิช กำภู ณ อยุธยา ที่ปรึกษารมว.ศธ. ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรคระบาด ร่วมพูดคุย

นายวราวิช กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทุกมิติ กระทบต่อระบบการศึกษาที่ต้องเลื่อนการเปิดภาคเรียน “กลุ่มเด็ก” จึงใช้เวลาหน้าจอมากขึ้นทั้งการเรียน และเล่นเกมออนไลน์ ส่งผลให้มีกิจกรรมทางกายมีอัตราที่ลดลง กระทรวงศึกษาธิการเอง ด้วยความห่วงใยในสุขภาพของเด็กนักเรียน

 ปรับตัวเล่นเรียนรู้-วิถีใหม่เด็กไทย : รายงาน สสส. 

และเป็นการสร้างความอุ่นใจให้กับผู้ปกครองจึงออกมาตรการให้โรงเรียนนำไปใช้ปฏิบัติ เพื่อลดความเสี่ยงเพิ่มปัจจัยเสริมให้เด็กมีสุขภาวะที่ดี เพื่อรองรับการปรับตัวของเด็กๆ ในการเปิดภาคเรียนที่จะถึงนี้ ซึ่งสอดรับกับบทบาทของสสส.ในการกระตุ้นให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เล่นกีฬาออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพในชีวิตวิถีใหม่

ปรับตัวเล่นเรียนรู้-วิถีใหม่เด็กไทย : รายงาน สสส.

นายวราวิช กำภู ณ อยุธยา

“หลังจากที่โรงเรียนต้องปิดไป เราจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนในรูปแบบของการเรียนออนแอร์ผ่านช่องโทรทัศน์ 17 ช่อง ทั้งยังมีช่องทางออนไลน์ด้วย เป็นช่องทางที่เราได้เตรียมการไว้ และยังจะใช้ต่อไป แต่อย่างไรโรงเรียนก็ต้องเปิด เราจึงเตรียมการเรียนการสอนแบบวิถีชีวิตใหม่อย่างดีที่สุด ต้องมีมาตรการ วัดไข้ เว้นระยะห่างที่โรงเรียน

และอาจจะต้องสลับกันเรียน เรียนเหลื่อมเวลากันในโรงเรียนใหญ่ๆ อาจจะมีการเรียน 5 วัน หยุด 9 วันสลับกันเพื่อให้ในโรงเรียนไม่แออัดจนเกินไป แต่ระยะเวลาที่เด็กๆ หยุดอยู่บ้านก็จะไม่ได้หยุดเลย แต่มีการเรียนผ่านออนไลน์หรือออนแอร์อยู่ที่บ้าน มาตรการเหล่านี้ต้องดูความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียนด้วย ไม่ใช้มาตรการเหมือนกันทุกโรงเรียน

ปรับตัวเล่นเรียนรู้-วิถีใหม่เด็กไทย : รายงาน สสส.

ส่วนในเด็กเล็กที่ผู้ปกครองมีความเป็นห่วงมากที่สุด โรงเรียนต้องมีมาตรการรักษาความสะอาด เวลาแปรงฟันก่อนนอนต้องสลับกันเข้าไปแปรงฟัน นอนกลางวันแบบมีระยะห่าง แต่จะห้ามไม่ให้เด็กๆ เล่นกันคงเป็นไปไม่ได้ เพราะเขาเป็นเด็ก หากเด็กคนไหนมีอาการป่วยเราจะแยกอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวล จะพยายามเตรียมการทุกอย่างอย่างเต็มที่” ที่ปรึกษารมว.ศธ.กล่าว

ด้าน นพ.คำนวณ กล่าวว่า การเปิดเรียนเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าเพราะเยาวชนคืออนาคตของชาติ เราก็เชียร์ให้เปิดเรียนก่อน แต่การเปิดเรียนนั้นนอกจากโควิดที่ต้องกังวลแล้วยังมีโรคระบาดต่างๆ ที่จะกลับมาพร้อมกับการเปิดเรียน

 ปรับตัวเล่นเรียนรู้-วิถีใหม่เด็กไทย : รายงาน สสส. 

เช่น ไข้หวัดใหญ่ มือ เท้า ปาก อาหารเป็นพิษ เป็นโรคที่เราต้องให้ความสำคัญเช่นกัน ส่วนที่กังวลว่าจะระบาดของโควิดระลอกสองอีกหรือไม่ เป็นไปได้แน่ๆ ยิ่งหากต่อไปเราเปิดประเทศแล้ว แต่การเปิดประเทศเป็นความจำเป็น ต้องมีมาตรการมารองรับตรงนี้ ต้องเปิดประเทศด้วยความระมัดระวัง ด้านการเรียนเราก็สามารถวางมาตรการการดูแลเด็กๆ ได้ แต่ในเด็กไม่น่าเป็นห่วงมาก เพราะตัวโรคไม่ค่อยส่งผลอันตรายกับเด็ก

ปรับตัวเล่นเรียนรู้-วิถีใหม่เด็กไทย : รายงาน สสส.

น.พ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์

“ที่ยังไม่ควรเปิดคือสถานบันเทิง เพราะเป็นสถานที่ที่ระบาดได้แน่ เนื่องจากเบียดเสียด เว้นระยะห่างไม่ได้แน่นอน บางสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท จึงยังไม่ควรเปิด แต่รัฐบาลต้องให้ความเป็นธรรมกับเขา ต้องบอกเขาตรงๆ ว่ายังเปิดไม่ได้ และต้องให้การช่วยเหลือเขาด้วยเพราะเขาได้รับผลกระทบหนัก สิ่งที่ควรเปิดก่อนตอนนี้คือสถานศึกษา” นพ.คำนวณกล่าว

ดร.สุปรีดา กล่าวว่า สสส.และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล การเกิดสถานการณ์โควิด-19 จากการสำรวจพบว่าเด็กจำนวนมากรับรู้ถึงผลกระทบที่ครอบครัวต้องเจอ เช่น รับรู้ว่าพ่อแม่ตกงาน 3 ใน 4 เกิดความเครียดวิตก กังวล สถานการณ์ดังกล่าวนำมา ซึ่งการปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ของเด็กไทยใน 2 มิติ คือมิติเชิงบวก

พบว่ามีเด็กร้อยละ 11.6 ที่มีโอกาสในการเล่นออกแรงเคลื่อนไหว และมีกิจกรรมทางกายมากขึ้นกว่าในช่วงปกติ ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากการที่ผู้ปกครองได้ทำงานจากที่บ้าน ทำให้มีเวลาที่จะร่วมเล่นกีฬา ออกกำลังกายกับบุตรหลานมากขึ้น

ปรับตัวเล่นเรียนรู้-วิถีใหม่เด็กไทย : รายงาน สสส.

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์

ผจก.สสส.กล่าวต่อว่า มิติเชิงลบพบว่า มีเด็กร้อยละ 61.6 มีกิจกรรมทางกายที่ลดลง ขณะที่มีช่วงเวลาของการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หน้าจอเพื่อความบันเทิงเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4 ชั่วโมงกว่าต่อวัน จากสถานการณ์ในมิตินี้มีความน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

เพราะจากเดิมเฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าข้อแนะนำมาตรฐานกว่า 1 ชั่วโมงอยู่แล้ว สสส.จึงมุ่งหวังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมกันส่งเสริมให้ชีวิตวิถีใหม่ของเด็กและเยาวชนไทยมีสุขภาวะที่ดี ผ่านการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสูงขึ้นอีกร้อยละ 10

“สสส.ยังจัดทำคู่มือ “คู่มือ การเรียนรู้ 3 มิติ เล่น-เรียน-รู้” ที่จะช่วยให้ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กจัดกิจกรรมให้เด็กในช่วงอยู่ที่บ้านโดยมี “ตารางการเรียนรู้ 3 มิติ” เป็นเครื่องมือเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ในช่วงเวลาทองของแต่ละวัน โดยประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะไม่ได้จำกัดอยู่ในแง่ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เท่านั้น แต่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และการรู้คิดของเด็กอย่างเหมาะสมตามช่วงวัยด้วย” ดร.สุปรีดากล่าว ธีรดา ศิริมงคล

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน