ในขณะที่คนในสังคมจำนวนไม่น้อย เพ่งประเด็นว่า การเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า จะเป็นการเลือกตั้งใหญ่ครั้งแรกของสังคมไทยที่เกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของโลกโซเชี่ยลมีเดีย

แต่อีกด้านหนึ่ง สังคมก็ได้เห็นร่องรอย ของการทำงานการเมืองในแบบดั้งเดิม ไม่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลก

เพราะการ “ดูด” ส.ส.ให้เข้าร่วมสังกัด ด้วยอาศัยผลประโยชน์และอำนาจเป็นเครื่องล่อนั้น มิได้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรก หากเกิดขึ้นแล้วในอดีตหลายรอบของสังคมไทย

ไม่ว่าจะเป็นกรณีของพรรคสหประชาไทยก็ดี

หรือพรรคสามัคคีธรรมในยุคต่อมาก็ดี

น่าสนใจว่า ในขณะที่พยายามประกาศตัวตนและนโยบายว่าเต็มไปด้วยความ ทันสมัย จะผลักดันสังคมไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0

ตัวแทนของพรรคพลังประชารัฐซึ่งแนบแน่นแยกกันไม่ออกกับรัฐบาลและ คสช. กลับเลือกใช้วิธี “โบราณ” อย่างยิ่งในการจัดตั้งพรรค การเมืองเพื่อจะสืบทอดอำนาจต่อ

อะไรคือแรงบันดาลใจหรือเหตุผลที่ทำให้เกิดความเชื่อว่า วิธีการดั้งเดิมเช่นนี้จะประสบความสำเร็จในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

ผู้ก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐไม่เชื่อในสิ่งที่ตนเองพูดหรือลงมือทำ ไม่เชื่อว่าสังคมได้พัฒนาหรือก้าวหน้าไปแล้ว

จึงยังเลือกใช้วิธีไขว่คว้าอำนาจที่ไม่แตกต่างจากที่เคยเป็นมาในอดีต

ความเชื่อเช่นนี้จะส่งผลอย่างไร ประชาชนจะเป็นผู้ให้คำตอบเมื่อช่วงเวลาของการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมาถึง

แต่ที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ การจัดการพรรคการเมืองด้วยทัศนคติ “ดั้งเดิม” เช่นนี้ ไม่ได้แตกต่างไปจากการร่างรัฐธรรมนูญ หรือแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่มีแนวโน้มจะดึงรั้งสังคมให้ถอยหลังกลับไป มากกว่าจะเดินหน้าไปเคียงข้างกับประเทศอื่นๆ ในโลก

ทัศนคติเช่นนี้จะส่งผลอย่างไรต่อสังคมไทย และเมื่อปะทะเข้ากับกระแส-รสนิยม-ค่านิยมของการเปลี่ยนแปลง จะก่อให้เกิดอะไรขึ้น ในสังคม

และน่าสนใจว่าทำไมพลังอนุรักษ นิยมจึงปักหลักแน่นเหนียวได้ใน สังคมนี้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน