คอลัมน์ รายงานพิเศษ

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน จัดงานแถลงเปิดเผยร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเป็นร่างที่กรธ.พิจารณาเบื้องต้น เพื่อเผยแพร่ต่อผู้เกี่ยวข้องและประชาชน เพื่อประกอบการรับฟังความคิดเห็น

นายอุดม รัฐอมฤติ โฆษกกรธ. ระบุว่า เนื้อหาเหล่านี้ยังปรับได้ ตราบที่ยังไม่ได้ส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณา

สําหรับร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีทั้งสิ้น 37 หน้า แบ่งเป็น 10 หมวด และบทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 129 มาตรา มีสาระสำคัญดังนี้

หมวด 1 การจัดตั้งพรรคการเมือง

มาตรา 9 บุคคลซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนว ทางเดียวกัน และมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ จํานวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยคนอาจรวมกันดําเนินการเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ได้

(3) ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งหรือสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 96 หรือมาตรา 98 (5) (7) (8) (9) (10) (11) (17) หรือ (18) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย

(4) อยู่ในระหว่างถูกสั่งห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา 15 ข้อบังคับต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 และไม่เป็นอุปสรรค ต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับอย่างน้อยต้องมีรายการ (10) มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารและสมาชิกพรรคการเมือง (11) หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ (12) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลซึ่งพรรคการเมืองจะส่งรายชื่อให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรี

การกําหนดข้อบังคับในลักษณะที่เป็นการให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งมี ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 9 (3) กระทําการในลักษณะที่เป็นการควบคุม ครอบงํา ก้าวก่าย แทรกแซง หรือมีส่วนร่วมในการ ดําเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยตรงหรือ โดยอ้อมจะกระทํามิได้

หมวด 2 การดําเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง

มาตรา 22 คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่ควบคุมและกํากับดูแลมิให้สมาชิกกระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญกฎหมายระเบียบและประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

มาตรา 23 กำหนดให้การดําเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองต้องมีกิจกรรม ดังต่อไปนี้

1.เสริมสร้างให้สมาชิกและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและการใช้สิทธิและเสรีภาพอย่างมีเหตุผลและมีความรับผิดชอบ

2.เสนอแนวทางการพัฒนาประเทศและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างมีเหตุผลโดยคํานึงถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุ กับการพัฒนาด้านจิตใจ และความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชน ประกอบกัน

3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดําเนินกิจกรรมทางการเมือง รวมตลอดทั้งการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างมีเหตุผล

4.สร้างเสริมให้สมาชิกและประชาชนมีความสามัคคีปรองดอง รู้จักยอมรับความเห็นทางการเมืองโดยสุจริตที่แตกต่าง และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธี เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน

มาตรา 28 ห้ามมิให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรค การเมืองยินยอมหรือกระทําการใดอันทําให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกหรือบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้าม กระทําการในลักษณะที่เป็นการควบคุมครอบงําก้าวก่าย แทรกแซง หรือมีส่วนร่วมในการดําเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม

หมวด 3 การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง

มาตรา 45 พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใด ให้รับฟังความคิดเห็นจากสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมือง ประจําจังหวัดที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะ กรรมการกําหนด

หมวด 4 การเงินและการบัญชีของพรรคการเมือง

หมวด 5 รายได้ของพรรคการเมือง

มาตรา 57 บุคคลใดจะบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งมีมูลค่าเกินสิบล้านบาทต่อปีมิได้และในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นนิติบุคคล การบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองไม่ว่าพรรคเดียวหรือหลายพรรคเกินปีละห้าล้านบาท ต้องแจ้งให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมใหญ่คราวต่อไป หลังจากบริจาคแล้ว

หมวด 6 กองทุน

หมวด 7 การใช้จ่ายของพรรคการเมือง

มาตรา 77 เงินและทรัพย์สินของพรรคการเมืองต้องนําไปใช้จ่ายเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมือง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองและสมาชิกของพรรคการเมือง และค่าใช้จ่ายในการบริหารพรรคการเมือง พรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมืองต้องเปิดเผยค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์การดําเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองไม่ว่าในรูปแบบใดให้สมาชิกและประชาชนทราบเป็นการทั่วไป

หมวด 8 การสิ้นสุดของพรรคการเมือง

มาตรา 80 พรรคการเมืองสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง คือ

1.ไม่สามารถดําเนินการเรื่องสมาชิกและสาขาพรรคได้ตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง ได้ภายในเวลาที่กําหนด

2.ภายหลังจากที่ดําเนินการครบตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง มีจํานวนสาขาพรรคการเมืองเหลือไม่ถึงภาคละหนึ่งสาขาเป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี

3.ภายหลังจากที่ได้รับการจดทะเบียนพรรคการเมืองมีจํานวนสมาชิกเหลือไม่ถึงตามที่กําหนดในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง

4.ไม่มีการประชุมใหญ่พรรคการเมืองหรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดทางการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปีโดยมิได้มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย

5.ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งติดต่อกันหรือเป็นเวลา 8 ปีติดต่อกัน

6.มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย

มาตรา 81 เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น

(1) กระทําการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

(2) กระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย

(3) กระทําการฝ่าฝืนมาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 65 หรือมาตรา 90 ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการไต่สวนแล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองกระทําการตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น

หมวด 9 การควบรวมพรรคการเมือง

หมวด 10 บทกําหนดโทษ

มีทั้งบทกำหนดโทษทางอาญาที่รุนแรงและโทษทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและยุบพรรคการเมือง เช่น มาตรา 97 พรรคการเมืองใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 ให้คณะกรรมการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นและเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น

บทเฉพาะกาล

มาตรา 122 ให้พรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 เป็นพรรคการเมืองตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ยังคงเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพื่อดําเนินการตามวรรคสอง

พรรคการเมืองตามวรรคหนึ่งต้องดําเนินการในเรื่องและภายในระยะเวลา ดังต่อไปนี้

(1) ส่งสําเนาทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับให้นายทะเบียน ภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

(2) จัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อแก้ไขข้อบังคับและจัดทําคําประกาศอุดมการณ์และนโยบายของพรรคการเมืองให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และ เลือกหัวหน้าพรรคการเมืองเหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหาร พรรคการเมือง ตามข้อบังคับของพรรคการเมืองที่แก้ไขใหม่ ภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

การประชุมใหญ่ดังกล่าวนอกจากต้องดําเนินการตามข้อบังคับของพรรคการเมืองที่ใช้บังคับอยู่แล้ว ต้องมีหัวหน้าสาขาพรรคการเมือง ไม่น้อยกว่าสี่สาขา และมีสมาชิกของพรรคการเมืองที่มี ภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัดแต่ละจังหวัดๆ ละไม่น้อยกว่าสามคน เข้าร่วมประชุมและมีสิทธิลงคะแนนเสียงในการแก้ไขข้อบังคับและเลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคด้วย

(3) จัดตั้งสาขาพรรคการเมือง และตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัดให้ครบถ้วน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้พร้อมทั้งแจ้งรายการตามมาตรา 32 และมาตรา 34 ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ในกรณีที่ได้มีการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองไว้แล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 ให้ถือว่าเป็นการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้แต่ให้แจ้งเป็นหนังสือ ยืนยันให้นายทะเบียนทราบภายใน กําหนดเวลาดังกล่าวด้วย

(4) จัดให้สมาชิกพรรคการเมืองที่ประสงค์จะยังเป็น สมาชิกอยู่ชําระค่าบํารุงพรรค การเมืองภายในเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ผู้ซึ่งไม่ชําระค่าบํารุงพรรคการเมืองให้เป็นอันพ้นจากสมาชิก และให้พรรคการเมืองแจ้งให้คณะกรรมการทราบพร้อมด้วยหลักฐานแสดงการชําระค่าบํารุงพรรคการเมืองในปีที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับภายในสิบห้าวันนับแต่วันพ้นกําหนดเวลาชําระค่าบํารุงพรรคการเมืองข้างต้น

และให้ถือว่าพรรคการเมืองมีสมาชิกอยู่เท่าจํานวนที่มีหลักฐานการชําระค่าบํารุงพรรคการเมือง และให้นายทะเบียนมีอํานาจเปลี่ยนแปลงรายการเกี่ยวกับสมาชิกของพรรคการเมืองนั้นให้สอดคล้องกัน ถ้ามีสมาชิกพรรคการเมืองเหลือไม่ถึงห้าพันคนให้พรรคการเมืองนั้นเป็นอันสิ้นสภาพไป

(5) จัดให้มีทุนประเดิมให้ครบถ้วนตามมาตรา 9 ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ โดยในวาระเริ่มแรกให้ถือว่าพรรคการเมืองตาม วรรคหนึ่งมีผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองมีจํานวนห้าร้อยคน ในกรณีที่พรรคการเมืองมีเงินหรือทรัพย์สินอยู่แล้ว จะกันเงินและทรัพย์สินที่มีอยู่แยกไว้เป็นทุนประเดิมก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมด้วยหลักฐานการกันเงินภายในกําหนดเวลาดังกล่าว

ระยะเวลาที่กําหนดให้พรรคการเมืองต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จตามวรรคสอง พรรคการเมืองอาจทําหนังสือขอขยายเวลาออกไปตามที่จําเป็นก็ได้ แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกินสามปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ เมื่อครบสามปีแล้วพรรคการเมืองใดยังมิได้ดําเนินการให้แล้วเสร็จ ให้พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพไป

ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาที่พรรคการเมืองยังปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ไม่ครบถ้วน จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ การวินิจฉัยเรื่องใดๆ ตามมาตรานี้ที่มีผลกระทบต่อพรรคการเมือง ให้เป็นอํานาจของนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการที่จะวินิจฉัย ในกรณีที่พรรคการเมืองไม่เห็นด้วยกับคําวินิจฉัยของนายทะเบียน ให้อุทธรณ์ คําวินิจฉัยต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับทราบคําวินิจฉัย

มาตรา 128 บรรดาผู้ซึ่งถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับและยังไม่พ้นระยะเวลาที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ให้ถือว่าถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ โดยให้นับต่อเนื่องไปจนครบกําหนดตามระยะเวลาที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้น

ผู้ใดถูกต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ และยังไม่พ้นระยะเวลาที่ ถูกห้ามดํารงตําแหน่งทางการเมือง ให้ถือว่าผู้นั้นถูกห้ามมิให้ดํารง ตําแหน่งทางการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้โดยให้นับต่อเนื่องไป จนครบกําหนดตามระยะเวลาที่ถูกห้ามมิให้ดํารง ตําแหน่งทางการเมือง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน