ไม่เพียงแต่นายวราวุธ ศิลปอาชา แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา เท่านั้นที่แสดงจุดยืนชัดเจน ภายหลังจากที่ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการ เลือกตั้ง ส.ส. และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา

ว่า ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 ข้อ 8 ระบุให้ คสช.ต้องพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกประกาศ คสช.หรือคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของพรรคการเมือง

ฉะนั้น คสช.ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับการทำงานของพรรคการเมือง

คือ การเปิดโอกาสให้มีการจัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรค

และการหาสมาชิกพรรคการเมือง

ทั้งนี้ เพราะหากทอดเวลายาวไปจนกระทั่งถึงวันที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มีผลใช้บังคับในช่วงกลางเดือนธันวาคม อาจทำให้พรรคเตรียมงานไม่ทันและเกิดฉุกละหุกทางการเมืองได้

แต่ไม่เป็นกังวลต่อกรอบเวลาหรือระยะเวลาหาเสียงของพรรคการเมือง ตามที่มีข่าวว่าจะให้เวลา 30 วัน เพราะขั้นตอนดังกล่าวพรรคสามารถบริหารจัดการได้

พรรคการเมืองอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคอนาคตใหม่ ล้วนแสดงจุดยืนและให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน

ปลายหอกของคำถามจึงพุ่งตรงไปที่รัฐบาล คสช. และพรรคพลังประชารัฐ

ในฐานะผู้มีส่วนกำหนดกติกาการเลือกตั้งตัวจริง

ว่ารัฐบาล คสช. และพรรคพลังประชารัฐ ต้องการจะเห็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่จะมาถึงออกมาในลักษณะใด

เป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับในความชอบธรรม หรือเสมอเป็นเพียงเครื่องมือในการต่อท่ออำนาจให้ยืดยาวออกไป เหมือนที่กำกติกาอื่นๆ ที่ตนเองเขียนเอาไว้ส่อให้เห็นเจตนา

เป็นเรื่องที่รัฐบาล คสช. และพรรคพลังประชารัฐพึงร่วมกันหารือไตร่ตรองให้รอบคอบ ว่าหนทางใดจึงจะเป็นประโยชน์แก่สังคมไทยโดยรวมก่อน

เพราะหากส่วนรวมได้ประโยชน์ แต่ละหน่วยในสังคมย่อมมีส่วนในประโยชน์นั้น

แต่หากประโยชน์ส่วนตัวขึ้นนำไม่มีอะไรรับประกันว่าสังคมจะได้รับอานิสงส์ด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน