หากนำเอากระบวนการดูดอดีตส.ส.จากพรรคพลังชลเข้าไปเทียบ กับกระบวนการดูดอดีตส.ส.จากพรรคเพื่อไทย และล่าสุดกระบวนการดูดอดีตส.ส.จากพรรคประชาธิปัตย์

ก็จะเห็นลักษณะ “ร่วม” เด่นชัดมากยิ่งขึ้น

1 กรณีของพรรคพลังชลอยู่ที่ชลบุรี กรณีของพรรคเพื่อไทยอยู่ที่สระแก้ว กรณีของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ที่กาญจนบุรี

1 เป็นกระบวนการดูดจาก”พรรคพลังประชารัฐ”

ขณะเดียวกัน 1 ไม่ว่าชลบุรี ไม่ว่าสระแก้ว ไม่ว่ากาญจนบุรีมีมูลฐานมาจากคดีความ

เสียงจากพรรคเพื่อไทย เสียงจากพรรคประชาธิปัตย์ตรงกัน

นั่นก็คือ ฝ่ายที่ใช้”พลังดูด”อาศัยเงื่อนไขของคดีความไปกดดันและบีบบังคับ

เมื่อนำเอากรณีของชลบุรี กรณีของสระแก้ว กรณีของกาญจนบุรี ไปศึกษาร่วมกับกรณีของนครปฐม กรณีของอุทัยธานี ก็จะมองเห็นความละม้ายเหมือนกัน

เพียงแต่ 3 กรณีแรกเป้าหมายคือ พรรคพลังประชารัฐ

ขณะที่อีก 2 เป้าหมาย แม้จะมีความพยายามอันมาจากพรรคพลังประชารัฐ แต่ 2 เป้าหมายก็เบี่ยงเบนและมีข่าวว่าอาจไปอยู่พรรคภูมิใจไทยแทนที่จะเป็นพรรคพลังประชารัฐ

สภาพที่เหมือนกันเป็นอย่างมากก็คือ ไม่ว่าที่นครปฐม ไม่ว่าที่อุทัยธานีล้วนเคยถูกบุกเข้าตรวจค้นในข้อสงสัยว่ามีอิทธิพล

กระบวนการดูดจึงดำเนินไปใน 2 แนวทาง

แนวทาง 1 คือ พุ่งเป้าไปยังคนที่มีคดีความ 1 คือ พุ่งเป้าไปยังคนที่เคยถูกกวาดล้าง จับกุม ปรับทัศนคติ

ลองได้ศึกษากรณีชลบุรี กรณีสระแก้ว กรณีกาญจนบุรี ประสานเข้ากับกรณีนครปฐม และกรณีอุทัยธานี ก็แทบไม่แตกต่างกันมากนัก

จุดหมายปลายทางจึงอยู่ที่ พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย

กระบวนการสร้างพรรคพลังประชารัฐ กับ กระบวนการสร้างพรรค ภูมิใจไทย จึงมีทั้งจุดร่วมและจุดต่าง

เท่ากับ 2 พรรคนี้มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงกัน

อย่าได้แปลกใจหากพรรคภูมิใจไทยเคยสร้างปรากฏการณ์ 3 หมื่นกว่าคนที่บุรีรัมย์ ขณะที่พรรคพลังประชารัฐมีรัฐมนตรีร่วมอยู่

2 พรรคนี้สะท้อนเส้นทางของ”พลังดูด”เข้มข้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน