คอลัมน์ ‘ออกจากกรอบ’ : จากบาดแผลในจิตใจ ที่คอยหลอกหลอนชีวิต สู่อนาคตที่สดใส

หากมีใครสักคนเล่าให้คุณฟังว่า เขาเคยขับรถออกไปไกลๆ เพื่อจะตามหา “ความสุข” ที่อาจจะเจอตามทางหรือที่ใดสักแห่ง คุณคงจะคิดว่าเขากำลังทำสิ่งที่แปลกหรือไร้เหตุผลใช่ไหมครับ เพราะใครๆ ก็รู้ว่าความสุขไม่อาจหามาได้ด้วยวิธีแบบนั้น แต่ผมเคยเจอกับคนที่ทำเรื่องแบบนี้ครับ เธอเป็นนักศึกษาหญิงคนหนึ่ง เธอบอกกับผมว่า เธอเริ่มมีความคิดอยากจะฆ่าตัวตายตั้งแต่อายุ 18 ปี

หญิงสาวที่ใช้ชีวิตมาโดยไม่เคยพูดความรู้สึกเศร้าหรือความกลัวในใจให้ใครฟังเป็นเวลากว่า 10 ปี ผมจึงสงสัยว่า เด็กที่ควรอยู่ในวัยสดใสร่าเริง และเพิ่งเรียนจบชั้นมัธยมปลาย มีเหตุอะไรที่ทำให้ต้องจมอยู่กับความทุกข์เช่นนี้ แต่วันนั้นเธอก็เล่าเรื่องราวความทุกข์ในใจให้ผมฟัง

เธอคือนักศึกษาหญิงที่มีปมในจิตใจ เพราะเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้นประถม ผ่านทางเรื่องนั้นจึงเริ่มใช้ชีวิตโดยปิดใจกับคนรอบข้าง แม้กระทั่งคนในครอบครัว เธอก็ไม่เคยเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟัง เพราะกลัวที่จะต้องพูดความจริงที่น่าอายออกมา เธอได้แต่เก็บความทุกข์ทรมานและความโกรธแค้นไว้ในจิตใจ

จนเข้าสู่ระดับชั้นมัธยมปลาย ปมในใจนี้ก็ผุดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเธอถูกลวนลามจากอาจารย์ที่นับถือ นี่เหมือนเป็นจุดระเบิดที่ทำให้นักศึกษาคนนี้บอกตัวเองว่า “อยากตาย!!”

เมื่อไม่สามารถหาทางออกด้วยตัวเอง เธอจึงแต่จมอยู่กับความเศร้าใจ จิตใจที่อยากจะฆ่าตัวตายก็ค่อยๆ เติบโตขึ้น เธอเล่าว่า เคยอยากรู้ว่าความสุขมันเป็นอย่างไร จะพบความสุขได้จากที่ไหน จนถึงขนาดขับรถจักรยานยนต์ไปไกลเป็นร้อยๆ กิโลเมตร แต่กลับพบเพียงความว่างเปล่า เหตุการณ์อันเลวร้ายในอดีตที่ผ่านมา ส่งผลให้เธอรู้สึกกลัว และระแวงผู้ชายทุกคน กระทั่งพ่อของตัวเองก็ยากที่จะสนิทใจด้วย

จนวันหนึ่งเธอมีโอกาสได้เข้าฟังการบรรยายเรื่องโลกของจิตใจผ่านกิจกรรมเยาวชน ซึ่งผมเป็นผู้บรรยายหลัก ในวันนั้นได้พูดถึง “การเปิดใจ..ที่จะทำให้ออกจากความเศร้าและมีความสุขได้” เธอตัดสินใจจะไปเป็นอาสาสมัครต่างประเทศ เพื่อหนีปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่

แต่ในระหว่างการเข้าอบรมอาสาสมัครก่อนส่งตัวไปต่างประเทศ เธอได้ฟังเรื่องราวจากผู้คนมากมายที่ผ่านปัญหาชีวิตที่หลากหลาย และหนักหนามากกว่าเธอ เมื่อได้กลับมามองเรื่องที่เกิดกับตัวเองอีกครั้ง จึงได้เห็นว่าเรื่องราวของเธอไม่ใช่ปัญหาที่ไม่อาจแก้ไขได้ อีกทั้งการจมอยู่กับความเศร้าก็ไม่ใช่ทางออก แต่นั่นกลับเพิ่มความทุกข์ให้กับตัวเธอเองรวมไปถึงคนรอบข้าง

ผมแนะนำให้เธอใช้ชีวิตแบบ “เปิดใจ” เพราะแม้จะพยายามหาคำตอบว่า…ความสุขของชีวิตอยู่ที่ไหน แต่ถ้าไม่เปิดใจและไม่สามารถพูดสิ่งที่เป็นปัญหาและความรู้สึกในใจออกมาได้ ปัญหาก็จะไม่ถูกแก้ไข เธอจึงเริ่มพูดออกมาได้ว่า “ฉันอยากเปลี่ยนแปลงเป็นคนใหม่ ที่ไม่ต้องเก็บซ่อนความทุกข์และความเศร้าอีกต่อไป” นั่นเป็นครั้งแรกที่เธอมีความคิดอยากปลดล็อกทุกอย่างในชีวิต

ระหว่างที่ไปเป็นอาสาสมัครต่างประเทศได้ทำกิจกรรมต่างๆ พบปะผู้คนมากมาย เธอได้ลองใช้ชีวิตในอีกรูปแบบที่ไม่เคยเป็น คือ การเปิดใจและเป็นอิสระจากความเศร้า ทำให้กลายเป็นคนพูดเยอะ ร่าเริง เข้าหาคนอื่นก่อน วันหนึ่งระหว่างที่ไปทำกิจกรรมอาสาสมัครที่ต่างเมือง เธอได้เจอกับคนท้องถิ่น ที่คอยจัดเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่พวกเขามีเพื่อดูแลเธอให้สะดวกสบายที่สุด

ทำให้เธอรู้สึกขอบคุณและนึกถึงพ่อที่คอยตรากตรำทำงานเลี้ยงดู แต่เธอกลับไม่เห็นคุณค่า เพราะมัวแต่ปิดใจและจมกับความทุกข์เพียงลำพัง เมื่อจิตใจเปลี่ยน จึงเขียนจดหมายถึงพ่อ เล่าเรื่องราวทุกอย่างให้ท่านฟัง โดยลงท้ายข้อความว่า “ขอบคุณค่ะ หนูรักพ่อนะ” ประโยคสั้นๆ ที่ทั้งชีวิตไม่เคยพูดออกไป

หลังจากที่ค้นพบตัวเองแล้ว เธอได้เรียนรู้ว่าความสุขไม่ได้มีราคาแพง หรืออยู่ไกลจนยากที่จะตามหา

แต่มันเริ่มต้นจากจุดที่ใกล้ที่สุด คือ การมีใจที่เปิดรับและออกจากกรอบของตัวเองเท่านั้น ตอนนี้เธอกลับมาเป็นนักศึกษาที่สดใส ทั้งเรียนและทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข อีกทั้งยังเป็นคนที่มอบความสุขให้กับผู้อื่นผ่านทางเรื่องราวประสบการณ์ของตัวเธอเองอีกด้วยครับ


ดร.(กิตติมศักดิ์) ฮักเชิล คิม
ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ ประจำประเทศไทย
[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน